ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด

นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด ตอบโจทย์การปลูกผักสลัดในระบบไฮโดรโปนิกส์

กรุงเทพฯ--11 ก.พ.--สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมโรคใบจุด หน้าฝน โรคใบจุดผักสลัด เชื้อจุลินทรีย์


นักวิจัย สกสว. พบเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีความจำเพาะในการป้องกันโรคใบจุดผักสลัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมพัฒนาสูตรสำเร็จที่สะดวกต่อการใช้งานของเกษตรกร ตอบโจทย์การปลูกผักสลัดในระบบไฮโดรโปนิกส์

โรคใบจุดของผักสลัดในระบบไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Curvularia areia และ Corynespora cassiicola เป็นปัญหาสำคัญในการปลูกผักสลัด เนื่องจากส่งผลให้ผลผลิต และคุณภาพของผักสลัดลดลง โดยเฉพาะในฤดูฝนซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกษตรกรส่วนจะปลูกผักสลัดเพื่อการค้าในรูปแบบนี้

นางสาวบุรฮานะฮ์ ใบยี นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า จากการสำรวจโรงเรือน หากเกิดการระบาดของโรคใบจุดในต้นกล้าผักสลัด จะมีอัตราตายถึง 100% แต่ถ้าโตกว่านั้นจะก่อให้เกิดความเสียหาย 40-50% โดยที่ผ่านมาเกษตรกรจะใช้เชื้อรา Trichoderma sp. ในรูปแบบเชื้อสด ซึ่งกรมวิชาการเกษตรส่งเสริมให้ใช้เป็นเชื้อปฏิปักษ์ในการควบคุมโรค แต่เนื่องจากการใช้เชื้อสดมีข้อจำกัดหลายอย่าง ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมที่ยุ่งยาก การปนเปื้อนซึ่งจะทำให้เชื้อเกิดการด้อยประสิทธิภาพ และมีอายุการเก็บรักษาที่สั้น

เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขข้อจำกัดเหล่านี้ รวมถึงพัฒนาประสิทธิภาพของเชื้อปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคใบจุดของผักสลัด นางสาวบุรฮานะฮ์ ใบยี ได้ศึกษาวิจัย 'สูตรสำเร็จของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคของผักสลัดไฮโดรโปนิกส์สำหรับการค้า' โดยมี รศ.ดร.อนุรักษ์ สันป่าเป้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ภายใต้ทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

นางสาวบุรฮานะฮ์ กล่าวว่า ในงานวิจัยมีการศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) 6 isolate ก่อนคัดเลือกมา 2 สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้กลไกการเป็นปฏิปักษ์ในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคใบจุดในผักสลัดได้ดีที่สุด คือ Trichoderma asperellum T1 และ Trichoderma spirale T76-1

"เชื้อราไตรโคเดอร์มาทั้ง 2 สายพันธุ์ มีความจำเพาะในการป้องกันโรคใบจุดได้มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฎิปักษ์ชนิดอื่น ๆ ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์ สามารถใช้กลไกการแก่งแย่งแข่งขัน โดยเจริญได้เร็วกว่าเชื้อก่อโรคและเข้าครอบครองพื้นที่บนหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อได้เร็วกว่า ทำให้เชื้อก่อโรคถูกจำกัดพื้นที่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้กลไกการทำลายชีวิต โดยการสร้างเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อก่อโรค และสร้างสารระเหยที่มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อรามายับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคใบจุดทั้ง 2 ชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นกลไกการป้องกันตนเองให้พืชโดยกระตุ้นกิจกรรมของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันตัวเองในต้นผักสลัดทำให้มีความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรค ดังนั้นเราจึงเห็นศักยภาพของเชื้อราทั้ง 2 สายพันธุ์ ที่เหมาะสมในการใช้ควบคุมโรคทางใบสำหรับพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์" นางสาวบุรฮานะฮ์ กล่าวเสริม

แต่ปัญหาที่เห็นจากการลงพื้นที่ทำวิจัย คือ เกษตรกรมีความยุ่งยากในการเตรียมเชื้อสดเพื่อใช้งาน นักวิจัยจึงมีการพัฒนาสูตรสำเร็จของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เพื่อสะดวกแก่การใช้งานของเกษตรกร

ใช้เทคโนโลยีการทำสูตรสำเร็จจากเชื้อสดในรูปแบบต่างๆ โดยใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติเป็นหลัก เช่นแป้ง และน้ำมันพืช และนำไปผ่านกระบวนการต่างๆ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะทำในสภาวะปลอดเชื้อ

นางสาวบุรฮานะฮ์ กล่าวว่า "ทีมวิจัยมีการพัฒนาสูตรสำเร็จของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาทั้ง 2 ชนิด ทั้งแบบผง แกรนูล แกรนูลแคปซูล และสูตรของเหลวอิมัลชั่น ซึ่งเป็นสูตรที่เหมาะสมที่สุดและมีประสิทธิภาพดีที่สุดในการนำไปใช้ เนื่องจากสปอร์ของเชื้อถูกเก็บอยู่ในรูปแบบของน้ำมัน เมื่อนำไปผสมน้ำใช้เชื้อจะ Active ทำงานได้เลย นอกจากนี้ยังพบว่าสูตรสำเร็จชนิดนี้เมื่อนำไปพ่นในโรงเรือนไฮโดรโปนิกส์ จะไม่ก่อเกิดปัญหาหัวฉีดตัน"

โรคใบจุด หน้าฝน โรคใบจุดผักสลัด เชื้อจุลินทรีย์

จากการทดลองใช้จริงในโรงเรือนเปรียบเทียบกับเชื้อสดแล้ว พบว่าการลดดัชนีความรุนแรงของโรคมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน แต่จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในรูปแบบสูตรสำเร็จจะลดความยุ่งยากในการเตรียมของเกษตรกร รวมถึงระยะเวลาในการเก็บเชื้อให้มีประสิทธิภาพได้ยาวนานถึง 4-6 เดือน เมื่อเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิที่ 10 องศาเซลเซียส ซึ่งการใช้เชื้อสดจะเก็บไว้ได้ไม่เกิน 14 วันหลังจากเตรียมเชื้อ นอกจากนี้ยังใช้งานง่าย เพียงใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์สูตรสำเร็จ 30 กรัม หรือ 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร พ่นในโรงเรือนหรือแปลงปลูกเพียงเดือนละ 1 ครั้ง แต่หากโรงเรือนมีการติดเชื้อก็ทำการพ่น 2 ครั้งต่อเดือน ซึ่งถ้าเป็นการใช้เชื้อสดเกษตรกรต้องมีการเตรียมเชื้อในปริมาณที่เยอะมาก จึงเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรได้อีกด้วย

โรคใบจุด หน้าฝน โรคใบจุดผักสลัด เชื้อจุลินทรีย์

นางสาวบุรฮานะฮ์ กล่าวว่า "หากเทียบกับเชื้อปฏิปักษ์สูตรสำเร็จตามท้องตลาด สูตรสำเร็จต้นแบบตัวนี้จะให้ประสิทธิภาพดีกว่า เนื่องจากมีความจำเพาะต่อโรคใบจุดสำหรับการปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งสูตรสำเร็จนี้ก็สามารถนำไปปรับใช้เพื่อนำไปควบคุมโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยปัจจุบันมีการพัฒนาสูตรต้นแบบร่วมกับ บริษัท ไทย แอดวานซ์ อะกรี เทค จำกัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ให้แก่สูตรสำเร็จของเชื้อปฏิปักษ์ เพื่อให้สามารถตอบสนองการใช้งานของเกษตรกรได้อย่างสูงสุด"

งานวิจัยครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างองค์ความรู้ใหม่ และโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากการทำเชื้อสูตรสำเร็จของไตรโคเดอร์มายังไม่แพร่หลาย และยังเป็นการค้นพบเชื้อราไตรโคเดอร์ที่มีความจำเพาะในการป้องกันโรคใบจุดของผักสลัดได้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สามารถลดความเสียหายของผักสลัด เป็นการควบคุมเชื้อโรคแบบชีววิถี

ไม่มีผลกระทบต่อร่างกายของผู้บริโภค


Cr: ThaiPR.net




ข่าวสารต่างๆของคนปลูกไฮโดร

หนุ่มวัย 29 หันหลังจากงานประจำ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สร้างรายได้เดือนละ 5 หมื่น
จริงหรือไม่? กินผัก "ไฮโดรโปนิกส์" อาจเสี่ยง "มะเร็ง"?
ผักไฮโดรโปนิกส์ สกลนคร รายได้ดี
เก็บ"ผักบุ้งไฮโดรโปนิกส์" ขายวันจ่ายตรุษจีน กำไรงาม
หนุ่มพะเยาหัวใส ปลูกขึ้นฉ่ายไฮโดร รายได้งาม
นักเรียน โรงเรียนบ้านป่าไม้แดง ปลูกผักไฮโดร
ปลูกผักไฮโดร ปลูกผักทานเอง ปลูกผักไร้ดินช่วงCOVID
ไฮโดรอินทรีย์ ใครว่าทำไม่ได้
เล่าประสบการณ์มนุษย์เงินเดือน ปลูกผักข้างบ้าน มีพื้นที่จำกัด ขายดีจนปลูกไม่ทัน
ผักสลัดอันตรายจริงหรือ ปุ๋ยเอบีอันตราจริงไหม?
คำแนะนำ 10 ข้อ สำหรับคนที่คิดริเริ่มจะทำสวนครั้งแรก
ง่าย ลงทุนน้อย แปลงผักซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ลูกค้าเข้ามาเก็บผักเอง
ผักไร้ดิน : ตอบโจทย์การขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษา
"ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ให้โตเร็วด้วยหลอดไฟ LED
แบ่งสวนมะพร้าวทำสวนผัก จนเป็น “รายได้หลักรับ 1.5 - 2 แสนบาทต่อเดือน”
พื้นที่น้อย ใช้แรงงานน้อย สร้างรายได้เดือนละ 30,000
อดีตตากล้องหลงใหลเกษตร เนรมิตเนื้อที่ 100 ตร.ว. ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
แปรรูปผลผลิตเพิ่มมูลค่า ผักสลัดไร้ดิน ผักปลอดสารพิษ
การทำสวนแบบ Hydroponics ในอนาคต
โรงงานปลูกผัก.. อนาคตใหม่แห่งวงการเกษตร
LED Plant Factory เทรนด์ใหม่การเกษตร
ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง ขายช่วงวันหยุด สร้างรายได้งาม
ปลูกผักขาย นำรายได้เป็นทุนศึกษา 'น้องโต' เมืองคอน
เด็กๆ โรงเรียนบ้านคลองแขยง เพาะต้นอ่อนทานตะวันสร้างรายได้
เทคนิคการเพาะเมล็ดผัก | ให้งอกเร็วสุดใน1วัน สามารถใช้ได้กับเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิด!!
เกษตรกรห้ามพลาด!! เผยวิธีทำ "โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ราคาประหยัด
ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน แบบคอนโดฯไว้ข้างบ้าน
วิธีส่งผัก-ผลไม้ ไปขายในห้างสรรพสินค้า
มาตรฐานและการขอใบรับรองผักปลอดสาร
แนะนำ! 3 อาชีพเกษตร ที่เหมาะกับคนพิการ สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน
การทำรางปลูกผักไฮโดรเองที่บ้าน
เปิดเวทีถกสารตกค้างใน“ผักไฮโดรฯ” มั่นใจค่า“ไนเตรท”เทียบมาตรฐานอียู
จากคนไม่มีความรู้กลับรวย "ด้วยเกษตร"
ม.อ. จัดการปัญหา โรครากเน่า สำหรับการปลูกผัก ไฮโดรโปนิกส์ สำเร็จ
รมว.วิทย์ เยี่ยมชม "โรงงานผลิตพืช" ที่ญี่ปุ่น
วัย 25 กำเงิน 2,000 บาท ปลูกผักสลัด สร้างสรรค์เมนูเพื่อสุขภาพตื่นตาตื่นใจ บุกตลาดคนเมือง ทะยานสู่รายได้เดือนละล้าน
แชร์ประสบการณ์ขายผักตลาดสี่มุมเมือง
‘พาณิชย์’จีบเว็บไซต์ขายสินค้าระดับโลก อาลีบาบา, เจดี.คอม ดันสินค้าเกษตรไทยไปขายบนเว็บ
ดาราหนุ่มปั้นจั่น ปรมะ กับธุรกิจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
" พื้นที่ 3 งาน" ก็ปลูกไฮโดรได้
นำชุมชนปลูกผักปลอดสารไร้ดิน..ด้วยวัสดุรีไซเคิล
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 1 งาน สร้างรายได้เกือบ 2.5 หมื่น ต่อเดือน
"ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์" ผักอนคตไกล.. คนยังนิยม
พื้นที่ไม่ใช่ปัญหา 50 ตรม.ปลูกเมล่อนบดาดฟ้า
ผักไฮโดรโปนิกส์และแปลงปลอดสารฝีมือเด็กเก่งโรงเรียนบ้านวนาหลวง
ครอบครัวไทลื้อสู้ชีวิต ทิ้งงานลูกจ้างกลับบ้านเกิดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แห่งแรกของตำบล
ไม่ง้อสวนใหญ่เปลี่ยนทาวเฮาส์เป็นสวนเมล่อนไฮโดร
หลังจากไม่ประสบความสำเร็จจากการทำงานต่างประเทศ ม่ายสาวหันมาปลูกคื่นฉ่ายไฮโดรเป็นอาชีพ
ส่องความสำเร็จโรงเรียนห่างไกล ที่มีความมั่นคงทางอาหารที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
สวนผักคอนโด เกษตรกรรมของคนเมือง
พลิกวิกฤติ! เกษตรกรหันปลูกผักปลอดสารพิษ สร้างรายได้ต่อเดือนกว่าหมื่น
ฟาร์มขนาดย่อมในซูเปอร์มาร์เก็ต
เกษตรกรภาคใต้ ไอเดียเฉียบ ปลูก “ขึ้นฉ่ายไฮโดรฯ” ส่งเทสโก้ โลตัส
เคล็ดลับในการทำการเกษตรให้สำเร็จ
ปลูกผักขายดีกว่า!!ไม่สนงานออฟฟิศ ปลูกผักไฮโดรฯ เป็นนายตัวเอง รายรับ3 หมื่น/เดือน
รางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ทำเองง่ายนิดเดียว
ปลูกแตงกวาญี่ปุ่น “ไร้ดิน” ในกระสอบ รายได้งาม
พลิกชีวิต!! โชเฟอร์ขับตุ๊กตุ๊กเมืองสงขลาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จนประสบความสำเร็จ