หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี นำชุมชนปลูกผักปลอดสารไร้ดิน ด้วยวัสดุรีไซเคิล แก้แล้ง
ตามกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทางแนวทางถึงการ "เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา" ดังนั้นทหารผู้ปฏิบัติงาน นอกจากจะทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบแล้ว ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ การทำให้ประชาชนได้มีอาชีพทำกิน ให้อยู่อย่างมีความสุขและปลอดภัยแล้ว การส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ก็เป็นสิ่งสำคัญ
หน่วยงานเฉพาะกิจปัตตานี ที่ไดจัดโครงการปลุูกผักปลอดสารพิษไร้ดินขึ้น เนื่องจากรับรู้ถึงปัญหาในพื้นที่ว่า เกษตรกรประสบในการเพาะปลูกพืช ทั้งปัญหาความแห้งแล้ง โรคพืช แมลงศัตรุพืชระบาด น้ำท่วมคุณภาพผลผลิตและที่สำคัญที่สุดปัญหาการใช้สารพิษเพื่อกำจัดแมลง นอกจากนี้ยังมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภค และยังประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ลูกไว้กินในครัวเรือน ไม่ต้องหาซื้อ นอกจากนี้ผักที่ปลูกยังปลอดภัยจากสารพิษ 100%

หน่วยเฉพาะกิจปัตตานีที่ได้คิดค้นการปลูกผักไร้ดินปลอดสารพิษ (หรือผักไฮโดรโปนิกส์) โดยใช้วัสดุรีไซเคิล คือขวดน้ำพลาสติก มาใช้ประโยชน์เพือทกดแทนวัสดุอุปกรณ์สำเร็จรูป ที่วางจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดซึ่งมีราคาแพงได้อย่างดี เนื่องจากการปลูกผักไร้ดินที่มีการผลิตอย่างเต็มรูปแบบจะต้องมีการลงทุนเริ่มแรกค่อนข้างสูง ทำให้เกษตรกรไม่สามารถที่จะทำการเพาะปลูกได้ หน่วยเฉพาะกิจปัตตานีจึงทดลองดัดแปลงวัสดุที่ใช้ปลูกโดยใช้จากวัสดุเหลือใช้ หาได้ในพื้นที่ ราคาถูก เช่น ขวดพลาสติก ไม้ไผ่นำมาดัดแปลงใช้ปลุกผักไร้ดิน ซึ่งสามารถลดต้นทุนการเพาะปลูกได้มาก จะส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปดำเนินการและมีความน่าสนใจที่พาะปลูกเพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งอุปกรณ์ปลูกผักไร้ดิน ต่อ1 ชุด สามารถปลูกได้ 90-100

โดยมีอุปกรณ์และค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย ไม้ไผ่ 7 ลำ ๆละ 10 บาท ปั๊มน้ำ ราคา 450 บาท กะละมัง ขนาดใหญ่ 90 บาท ท่อพีวีซี ขนาด 1/2 นิ้วราคา 50 บาท ข้อต่อพีวีซี ขนาด 1/2 นิ้ว 1 ตัว ราคา 7 บาท ฝาปิด ท่อพีวีซี ขนาด 1/2 นิ้วราคา 7 บาท กาวประสานท่อ 1 กระป๋องราคา 40 บาท ขวดน้ำพลาสติก ใส่เท่ากับจำนวนวที่จะปลูกผักอะไร ไม่ว่าจะเป็นผักคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักชี บล๊อคโคลี่ เป็นต้น
ขั้นตอนการทำเริ่มจากนำไม่ไผ่มาผูกกันให้เป็นรูปตัวเอ หลังจากนั้นต่อท่อพีวีซีที่เจาะรูระบายน้ำเท่าจำนวนแถวที่มีขวดพลาสติกรองอยู่ เสร็จแล้วต่อท่อน้ำ เพื่อเป็นการดูธาตุอาหารให้หมุนเวียนอยู่ในระบบ เป็นอันเสร็จ ทำรอผักที่นำไปเพาะกล้าแล้วย้ายมาลงในขวดปั๊มน้ำที่วางเป็นชั้นๆ
สำหรับการปลูกผักไร้ดินด้วยวัสดุรีไซเคิล เริ่มจากการเพาะต้นกล้า ในถาดเพาะ ๆ ที่มีขนาด 320 ช่อง หยอดเมล็ด 1-2 เมล็ด นำถาดเพาะประมาณ 4 อัน ซ้อนกัน สามารถนำไปปลูกในแปลงได้ 1,200 ช่อง รดน้ำทุกวัน แล้วใช้ผ้าดำมาคลุมถาดเพาะ เพื่อให้เกิดความชื้นตลอดเวลา แล้วจากนั้นประมาณ 3-4 วัน เล็ดจะมีการงอก ให้เปิดผ้าออก นำไปลอยบนรางเพาะที่ใส่น้ำไว้ เพื่อให้รากต้นกล้ายาวขึ้นอีกประมาณ 1-2 ซม. ให้สังเกตใบเลี้ยงจะมีลักษณะที่แข็งแรงพ้นฟองน้ำประมาณ 1.0-1.5 ซม. ให้ย้ายต้นกล้าลงแผ่นปลูก
การย้ายต้นกล้า เมื่ออายุประมาณ 7-9 วัน ให้ย้านต้นกล้าปลูกในช่องของแผ่นปลูกมีทั้งหมด 50 ช่องปลูก ให้สอดปลายยอดจากต้นล่างแผ่นโฟม เพื่อให้มีการกระจายของรากได้ดี ในขณะย้ายควรที่ะให้ระดับน้ำบนรางปลูกเต็มอยู่ และควรย้ายกล้าในช่วงเย็น เพราะอากาศไม่ร้อนจะทำให้รากไม่เฉาตาย
ธาตุอาหารหรือค่า PH ที่เหมาะสมของพืชอยู่ที่ 5 - 6.0 ค่า PH ที่ไม่เหมาะสมกับพืชคือ ต่ำกว่า 4 เมื่อนำไปลอยในน้ำที่เป็นที่ร่มให้พืชออกใบประมาณ 3 ใบ จึงทำการเติมสารละลาย AB มีอัตราการเติม 1 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร การดูแลรักษา และการให้สารละลายธาตุอาหาร ถังปุ๋ยมีปริมาณ 700-800 ลิตร แต่ละพืชจะเติมปุ๋ย ดังนี้
ผักบุ้ง AB อย่างละ 2.0 ลิตร
ผักสลัด AB อย่างละ 2.5 ลิตร
ผักคะน้า AB อย่างละ 5.0 ลิตร
ผักกาดขาว กวางตุ้ง ฮ่องเต้ AB อย่างละ 4.5 ลิตร
เมื่อครบ 12 วัน เมื่อมีรากยาวปรับระดับที่ ลง-ต่ำ เพิ่มออกซิเจนและควรปรับระดับน้ำในช่วงเย็น และในวันรุ่งขึ้นให้เติมธาตุอาหารเหมือนครั้งก่อน ให้มีค่าความเป็นกรดด่าง PH ซึ่งมีค่าประมาณ 5.5 - 6.5
การปลูกผักไร้ดิน เป็นแนวความคิดที่ประหยัดและได้ผลดี จนทำให้ชาวบ้าน จ.ปัตตานี เข้าฝึกอบรม การปลูกพืชไร้ดินปลอดสารพิษ จากศูนย์เฉพาะกิจปัตตานีจำนวนมาก บ้างก็นำไปปลูกเพื่อไว้กินในครอบครัว บ้างก็นำไปปลูกแบบค้าขาย สนใจสอบถามข้อมูล และขอให้กำลังใจทหารที่ปฏิบัติภารกิจได้ที่หน่วยเฉพะกิจปัตตานี
Cr.technologychaoban