H2O Hydro Garden
ที่อยู่: เลขที่ 8 ซอย นาคนิวาส 53 ลาดพร้าว 71 แขวง ลาดพร้าว กทม. 10230
เบอร์โทร: 02 932 9200 มือถือ: 086 500 9698, 084 106 6831
.jpg)
.jpg)
.png)
"ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์" ผักอนคตไกล.. คนยังนิยม "ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์" ผักอนาคตไกล..คนยังนิยม
ในยุคปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพกันมาก "ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์" เป็นผักปลอดสารอีกแบบที่น่าสนใจ จากพนักงานบริษัทเอกชน ทำงานมากว่า 20 ปี เพื่อาความมั่นคงหลังเกษียณ หันมาปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ เป็นเกษตรกรเต็มตัว คุณอภิวุฒิ บุญวิวัฒน์ถาวร ตัวแทนจากฟาร์มมาดาสุ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า " ออกมาทำฟาร์มผักฯ เพราะต้องการจะหาความมั่นคงให้กับตนเองหลังเกษียณจากการทำงาน เมื่อมีเพื่อนชวนมาดูการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ จ.เพชรบูรณ์ เกิดความชอบ และเมื่อได้ทดลองทำดู จึงได้รู้ว้่าน่าจะไปได้ดี สุดท้ายลาออกมาทำแบบเต็มตัว"
หลังจากที่ไปเรียนรู้จากมหาลัยเกษตรศาสตร์ จริงๆ แล้วสนใจการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มาราว 4 ปีมาแล้ว แต่ยังทำไม่ได้ในทันที มาเริ่มโครงการเมื่อมาอยู่ที่ ต. หนองแม่นา อ.เขาค้อ "ปลูกมาเพียง 1 ปี แต่ 1 ปี นี้ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ทุกชนิดได้สอนและให้บทเรียนที่สำคัญมากมาย คิดว่าในปี 2560 และปีต่อๆ ไป มีความมั่นใจกว่า 90% ว่าธุรกิจนี้น่าจะไปได้ดี" ขั้นตอนการปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ เตรียมโต๊ะปลุก ,ทำระบบราง, ระบบท่อและระบบน้ำ หากใช้พื้นที่ราว 4 ไร่ ใช้งบประมาณ 1.4 ล้านบาท (ซึ่งจะได้ครบทั้งหมดพร้อมติดตั้งเรียบร้อย) จะได้โต๊ะปลูก 70 โต๊ะ โดย 1 โต๊ะ จะปลูกผักได้ 450 ต้น
การเพาะเมล็ดผัก จะใช้หยอดเมล็ดในแผ่นฟองน้ำ ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ วิธีดูแลในช่วงนี้ คือรดน้ำในช่วงเช้ารอบเดียว หลัง 2 สัปดาห์ ต้นอ่อนจะงอกขึ้นมาราว 0.125 นิ้ว จากนั้น ให้ย้ายลงแปลงอนุบาล คือโต๊ะที่มีน้ำขังสูง ประมาณ 10 ซม. ตั้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ ช่วงสัปดาห์แรกเลี้ยงด้วยน้ำสะอาดเพียงอย่างเดียว เข้าสัปดาห์ 2 เริ่มให้ปุ๋ยสำหรับปลูกผักสลัดในความเข้มข้นไม่มาก (สูตรปุ๋ยที่ใช้มีแพร่หลาย สามารถทดลองและปรับใช้ตามความเหมาะสม เพราะปุ๋ยแต่ละชนิดมีแร่ธาตุต่างกัน) สิ่งที่ต้องใส่ใจมาก คือ โรคในผัก อย่าง "หน้าร้อน" โรคที่ต้องระวัง คือโรครากดำ ทำให้ต้นไม่โต และต้องทิ้งอย่างเดียว "หน้าฝน" จะพบโรคโคนเน่า ,รากเน่า ทำให้ต้นยุบ ส่วน "หน้าหนาว" จะพบเชื้อราที่มกับหมอกทำให้ใบเสียหาย ที่สำคัญจะมีหนอนเยอะมาก
หมั่นดูแลและตรวจตราผักวันละหลายๆ รอบ โดยเฉพาะในหน้าร้อนซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงมาก การกำจัดศัตรูพืช ควรใช้ยาฆ่าแมลงที่เป็นชีวภาพ ระยะแรกอาจจะยุ่งยากสักหน่อย แต่ในระยะยาวจะคุ้มทุนและท้องตลาดมีความเชื่อมั่น ระยะเก็บเกี่ยว กรีนโอ๊ค กรีนคอส ระยะเก็บเกี่ยว 45 วัน , เรดโอ๊ค เรดปัตตตาเวีย เรดคอรัล ใช้ระยะเก็บเกี่ยว 55-60 วัน
ทั้งนี้ "ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์" เป็นผักที่มีอนาคตไกล มีคนนิยมทานมาก เพราะกรอบ อร่อย และการปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ เป็นอาชีพที่น่าสนใจ หากศึกษาและลงมือทำด้วยความตั้งใจก็เป็น "ช่องทางทำมาหากิน" ที่ดีอีกทาง
Cr. Dailynews
|