ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 1 งาน สร้างรายได้เกือบ 2.5 หมื่น ต่อเดือน

      ปัจจุบัน ผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ได้รับความนิยมอย่างมากในฐานะผักปลอดสารพิษ ผักเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีความปลอดภัยสูง เนื่องด้วยผักอุดมไปด้วยวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย ซึ่งให้ไขมันต่ำด้วย มีน้ำ มีกากใยช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ลดการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินดี รวมถึงสารประกอบที่มีประโยชน์อื่นๆ

คุณวรรณนิภา เรืองทัพ บ้านเลขที่ 70/7 หมู่ที่ 4 บ้านหนองสะเดา ตำบลบ้านนา อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร

"เจ้าของฟาร์มสุดใจ Hydroponic จ.พิจิตร"

 

        คุณวรรณนิภา เล่าย้อนไปว่า ก่อนหน้านี้เคยทำอาชีพเป็นสาวโรงงานเกือบ 15 ปี ก็คิดว่าอยากกลับมาทำอาชีพเกษตร ซึ่งในเบื้องต้นก็ได้ศึกษาข้อมูลในยูทูบและในกลุ่มผู้ที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ในเฟซบุ๊ก ซึ่งได้ความรู้และเทคนิคต่างๆ เป็นอย่างดี หรือช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี หลังจากแน่ใจก็ปรึกษาแฟน ก็ลงมือซื้ออุปกรณ์ต่างๆ สร้างสวนผักไฮโดรโปนิกส์ขึ้นมา แล้วตั้งชื่อสวนว่า "สุดใจ Hydroponics จ.พิจิตร"

การเพาะเมล็ดสลัด
 
    ใช้ฟองน้ำสำเร็จรูปที่กรีดกากบาท วางเรียงบนถาดรอง รดฟองน้ำปลูกให้ชุ่ม พร้อมกับใช้มือกดฟองน้ำให้ซับน้ำให้อิ่มตัว นำไม้ปลายแหลมหรือไม้จิ้มฟันจุ่มน้ำแล้วแต้มแตะไปที่เมล็ดพันธุ์ผักสลัด แล้วนำเมล็ดสลัดที่ติดที่ปลายไม้มาใส่ลงไปในกลางฟองน้ำที่ผ่าไว้ 1 เมล็ด ต่อฟองน้ำ 1 อัน นำแผ่นโฟมเพาะเมล็ดไปไว้ในโต๊ะอนุบาลที่ 1 ประมาณ 2 สัปดาห์ หรือกล้าผักสลัดมี 2 ใบ ช่วงนี้ต้องหมั่นฉีดน้ำด้วยฟ็อกกี้หรือกระบอกฉีดน้ำเพื่อลดความร้อนให้ต้นกล้าทุกๆ วัน วันละ 2-5 ครั้ง ตามสภาพอากาศ

 

ช่วงเพาะเมล็ด (สัปดาห์ที่ 1) ใช้เวลา 7 วัน นำเมล็ดใส่ลงไปในวัสดุยึดราก เช่น ฟองน้ำ เพอร์ไลท์ โฟม ความลึกประมาณ 5 มิลลิเมตร ใส่ไว้ในถาดเพาะที่มีน้ำอยู่ด้านล่าง พรมน้ำให้ชุ่ม เช้า-เย็น ควรเลือกพื้นที่ร่มในการวางถาดเพาะ เพื่อรักษาความชื้น ถ้าเมล็ดสมบูรณ์แข็งแรง จะงอกเป็นใบให้เห็นใน 3-4 วัน เมื่อเริ่มเห็นใบให้ย้ายไปเจอแดด (ใช้ซาแรนช่วยกรองแสงด้วย) เพราะถ้าอยู่ในที่ร่มไม่เจอแสง ผักจะยืดหาแสง ทำให้ผักโตช้า ลำต้นไม่แข็งแรง ฯลฯ (ช่วง 7 วันแรก ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยก็ได้ เพราะพืชจะใช้สารอาหารในเมล็ด)
 
 
   

   จากนั้น จึงจะย้ายอนุบาลไปยัง โต๊ะอนุบาลที่ 2 ช่วงอนุบาล (สัปดาห์ที่ 3-4) ช่วงอนุบาล เป็นช่วงที่เริ่มให้อาหาร ให้ใส่ปุ๋ย A และ B อย่างละ 5 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร ใส่ไตรโคเดอร์มาลงในถังปุ๋ย อัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 100 ลิตร เพื่อป้องกันโรครากเน่า คอยตรวจดูหนอน หนอนชอบกินต้นอ่อนมาก ผักสลัดจะกินอาหารได้เมื่อค่า EC ในน้ำอยู่ระหว่าง 1.2-1.8  ในช่วงสัปดาห์ที่ 3-4 เป็นการย้ายแยกต้นกล้าที่อยู่บนแผ่นฟองน้ำแผ่นเดียวกัน ต้องฉีกตามรอยที่มีให้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส

 

 
 
      แผ่นฟองน้ำที่มีต้นกล้าต้องทำงานด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้ต้นกล้าหักเสียหาย กล้าพักจะอยู่บนโต๊ะอนุบาลที่ 2 อีก 2 สัปดาห์ จนต้นกล้ามีใบจริงหลายใบ ต้นสูงราว 5-10 เซนติเมตร และมีรากที่แข็งแรงยาวโผล่พ้นฟองน้ำ จนสังเกตเห็นได้ชัดเจน นำต้นกล้าที่ได้ย้ายลงรางปลูกบนโต๊ะปลูก (ระยะเวลาการอนุบาลในแต่ละฤดูอาจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเป็นปัจจัย บางฤดูอาจใช้เวลาอนุบาลเพียงไม่นาน ก็สามารถย้ายลงปลูกได้เลย โดยเราจะสังเกตได้จากต้นกล้าเป็นหลัก) และเดินเครื่องปั๊มน้ำที่เป็นระบบน้ำวนตลอด 24 ชั่วโมง ดูแลต่ออีกประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงของการเติบโต (สัปดาห์ที่ 5-6) เนื่องจากผักจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะกินน้ำมากขึ้น
 
    ต้องคอยตรวจสอบปริมาณน้ำและปุ๋ย ใช้อัตราส่วนการผสมปุ๋ยเหมือนเดิม ก็เริ่มทยอยเก็บผักสลัดจำหน่ายได้ ซึ่งอายุการเก็บเกี่ยวโดยเฉลี่ยของผักสลัดจะใกล้เคียงกัน คือประมาณ 45 วัน นับหลังจากการเริ่มเพาะเมล็ด
 
 
การปฏิบัติดูแลผักประจำวัน
 
คุณวรรณนิภา เล่าว่า กิจวัตรที่ต้องทำทุกวันคือ การตรวจถังและเติมน้ำสะอาดลงในถังดำหน้าโต๊ะปลูก วันละ 2 ครั้ง คือในช่วงเวลา 11.00 น. และ 14.00 น. ในทุกๆ วัน ซึ่งพืชผักนำไปใช้ ระเหยไปกับอากาศ จะเติมปุ๋ยช่วงเย็น เนื่องจากถ้าน้ำปุ๋ยในถังร้อนจะส่งผลให้น้ำปุ๋ยซึ่งเป็นสารละลายที่เติมลงไปจะตกตะกอน  ความร้อนของน้ำที่หมุนเวียนในรางมันจะส่งผลต่อผัก ทำให้ผักไม่โต เกิดโรครากเน่า 
การควบคุม ค่า EC
 
สำหรับการปลูกผักสลัดจะคอยตรวจวัดค่า EC ให้อยู่ระหว่าง 1-1.8 mS/cm โดยเครื่อง EC meter ปรับลดโดยการเพิ่มน้ำ และปรับค่า EC เพิ่มโดยการเพิ่มปุ๋ย กรณีไม่มีเครื่องวัดสามารถประมาณการเติมสารอาหาร A และ B ควบคุมค่า pH อยู่ระหว่าง 5.2-6.8 โดยเครื่อง pH meter หรือ pH Drop test ปรับลดโดยการใช้กรดฟอสฟอริก หรือกรดไนตริก (pH down) และปรับค่า pH เพิ่มโดยการเติมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (pH up) ปริมาณ 2-3 หยด ถ้าค่า EC สูงมากเกินไป จะทำให้ผักสลัดมีรสขมได้ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จำเป็นต้องศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมให้เข้าใจ ซึ่งหาความรู้เพิ่มได้จากโลกออนไลน์
 
 
       
ากประสบการณ์ที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มา ก็พอได้คำตอบในข้อดีของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เช่นปลูกผักได้ทุกชนิด ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องดิน เนื่องจากเป็นการปลูกโดยไม่ใช้ดิน สามารถปลูกพืชได้ในพื้นที่ซึ่งดินมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว หรือดินปนเปื้อนด้วยสารพิษ เป็นต้น รวมทั้งพื้นที่ซึ่งไม่มีดิน เช่น บนอาคารสูง ดาดฟ้า บริเวณบ้านจัดสรร เป็นต้น

       พื้นที่โรงเรือนปลูก 1 งาน ตอนนี้มีโต๊ะปลูกผักทั้งหมด 16 โต๊ะปลูก โดย 1 โต๊ะปลูก จะประกอบด้วย 8 รางปลูก ซึ่งในแต่ละรางปลูกจะมีความยาว 6 เมตร โดยจะวางแผนการปลูก สัปดาห์ละ4 โต๊ะ เพื่อให้ผักมีผลผลิตออกมาจำหน่ายอย่างต่อเนื่องไม่ขาดช่วง เฉลี่ยแล้วจะได้น้ำหนักผักรวมราว 100 กิโลกรัม แต่ในช่วงหน้าหนาวที่เป็นช่วงที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของผักสลัด น้ำหนักผักจะดีมาก ซึ่งอาจจะสูงถึง 150 กิโลกรัม ต่อจำนวน 4 โต๊ะปลูก 
 
รายได้รวมต่อเดือนที่ได้จากการขายผัก เฉลี่ย 20,000-25,000 บาท ต่อเดือน หลังหักค่าใช้จ่ายต้นทุนการผลิตประมาณ 5,000 บาท ต่อเดือนแล้ว ก็ถือว่าอาชีพการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ก็สามารถอยู่ได้ ต้นทุนนั้นก็จะมี ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเมล็ดพันธุ์ผักสลัด ค่าปุ๋ย ราว 5,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งเป็นต้นทุนที่จะต้องใช้หัก
 
ราคากลางผักสลัด ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศหรือฤดูกาล

   
คุณวรรณนิภา อธิบายว่า ผักสลัดเหล่านี้ชอบอากาศเย็นหรืออุณหภูมิที่ไม่สูงมากจนเกินไป หากเป็นช่วงปลายปีจะมีผลผลิตเยอะ ผักจะเจริญเติบโตดี น้ำหนักผักดี ซึ่งน้ำหนักผักอาจจะเพิ่มขึ้นมาถึงหนึ่งเท่าตัวเลยทีเดียว ต่อ 1 โต๊ะปลูก ราคาอาจจะตกลงมานิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่มีผักออกสู่ตลาดมาก แต่หากเป็นช่วงหน้าร้อน ผักสลัดเหล่านี้จะโตช้า มีออกตลาดน้อย ราคาก็จะเพิ่มสูงขึ้น
“หน้าร้อนแพง หน้าฝนกลางๆ หน้าหนาวถูก”
 
 
การเก็บเกี่ยวผักสลัด
 
     หลังจากผักสลัดอายุได้ 45 วัน หลังจากเพาะเมล็ด ก็จะเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวขายได้ หรือเก็บออกขายทั้งหมดหรือชะลอการขายเลี้ยงต่อบนโต๊ะปลูกได้นานนับสัปดาห์ (น้ำหนักผักก็ดีตาม) การเก็บผักออกจากโต๊ะปลูกก็จะดึงขึ้นมาพร้อมราก โดยไม่ตัดรากออก แต่ตอนแพ็กใส่ถุงจะต้องม้วนรากขดเป็นวงกลมให้เรียบร้อย ต้องระมัดระวังไม่ให้ใบผักหักช้ำ
 
 
รากผักสลัดที่ม้วนขดเป็นวงกลมเรียบร้อยแล้ว จึงนำไปเรียงบรรจุลงถุง
 

จัดเรียงผักเรียบร้อย โดยถุงหนึ่งจะบรรจุผักได้ประมาณ 2-3 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักผัก

มัดปากถุงให้เรียบร้อย วางไว้ในที่ร่ม รอลูกค้ามารับ

ฝากถึงผู้ที่สนใจการปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปรนิกส์ก็สามารถหาความรู้เบื้องต้นได้จากสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่นเดียวกับตนเอง ซึ่งไม่ยากและก็ไม่ง่ายนัก ส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ตอนนี้ก็มีชุดทดลองแบบสำเร็จรูป หรือแบบที่ซื้อนำมาประกอบเอง ในราคาที่ไม่สูงนัก พร้อมทั้งปัจจุบัน ปุ๋ยสูตร A ปุ๋ยสูตร B และธาตุอาหารเสริม มีจำหน่ายแบบสำเร็จรูปเช่นกัน

 

Cr. sentangsedtee  ,  matichon

 

 

 




ข่าวสารต่างๆของคนปลูกไฮโดร

หนุ่มวัย 29 หันหลังจากงานประจำ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สร้างรายได้เดือนละ 5 หมื่น
จริงหรือไม่? กินผัก "ไฮโดรโปนิกส์" อาจเสี่ยง "มะเร็ง"?
ผักไฮโดรโปนิกส์ สกลนคร รายได้ดี
เก็บ"ผักบุ้งไฮโดรโปนิกส์" ขายวันจ่ายตรุษจีน กำไรงาม
หนุ่มพะเยาหัวใส ปลูกขึ้นฉ่ายไฮโดร รายได้งาม
นักเรียน โรงเรียนบ้านป่าไม้แดง ปลูกผักไฮโดร
ปลูกผักไฮโดร ปลูกผักทานเอง ปลูกผักไร้ดินช่วงCOVID
นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด
ไฮโดรอินทรีย์ ใครว่าทำไม่ได้
เล่าประสบการณ์มนุษย์เงินเดือน ปลูกผักข้างบ้าน มีพื้นที่จำกัด ขายดีจนปลูกไม่ทัน
ผักสลัดอันตรายจริงหรือ ปุ๋ยเอบีอันตราจริงไหม?
คำแนะนำ 10 ข้อ สำหรับคนที่คิดริเริ่มจะทำสวนครั้งแรก
ง่าย ลงทุนน้อย แปลงผักซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ลูกค้าเข้ามาเก็บผักเอง
ผักไร้ดิน : ตอบโจทย์การขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษา
"ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ให้โตเร็วด้วยหลอดไฟ LED
แบ่งสวนมะพร้าวทำสวนผัก จนเป็น “รายได้หลักรับ 1.5 - 2 แสนบาทต่อเดือน”
พื้นที่น้อย ใช้แรงงานน้อย สร้างรายได้เดือนละ 30,000
อดีตตากล้องหลงใหลเกษตร เนรมิตเนื้อที่ 100 ตร.ว. ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
แปรรูปผลผลิตเพิ่มมูลค่า ผักสลัดไร้ดิน ผักปลอดสารพิษ
การทำสวนแบบ Hydroponics ในอนาคต
โรงงานปลูกผัก.. อนาคตใหม่แห่งวงการเกษตร
LED Plant Factory เทรนด์ใหม่การเกษตร
ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง ขายช่วงวันหยุด สร้างรายได้งาม
ปลูกผักขาย นำรายได้เป็นทุนศึกษา 'น้องโต' เมืองคอน
เด็กๆ โรงเรียนบ้านคลองแขยง เพาะต้นอ่อนทานตะวันสร้างรายได้
เทคนิคการเพาะเมล็ดผัก | ให้งอกเร็วสุดใน1วัน สามารถใช้ได้กับเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิด!!
เกษตรกรห้ามพลาด!! เผยวิธีทำ "โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ราคาประหยัด
ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน แบบคอนโดฯไว้ข้างบ้าน
วิธีส่งผัก-ผลไม้ ไปขายในห้างสรรพสินค้า
มาตรฐานและการขอใบรับรองผักปลอดสาร
แนะนำ! 3 อาชีพเกษตร ที่เหมาะกับคนพิการ สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน
การทำรางปลูกผักไฮโดรเองที่บ้าน
เปิดเวทีถกสารตกค้างใน“ผักไฮโดรฯ” มั่นใจค่า“ไนเตรท”เทียบมาตรฐานอียู
จากคนไม่มีความรู้กลับรวย "ด้วยเกษตร"
ม.อ. จัดการปัญหา โรครากเน่า สำหรับการปลูกผัก ไฮโดรโปนิกส์ สำเร็จ
รมว.วิทย์ เยี่ยมชม "โรงงานผลิตพืช" ที่ญี่ปุ่น
วัย 25 กำเงิน 2,000 บาท ปลูกผักสลัด สร้างสรรค์เมนูเพื่อสุขภาพตื่นตาตื่นใจ บุกตลาดคนเมือง ทะยานสู่รายได้เดือนละล้าน
แชร์ประสบการณ์ขายผักตลาดสี่มุมเมือง
‘พาณิชย์’จีบเว็บไซต์ขายสินค้าระดับโลก อาลีบาบา, เจดี.คอม ดันสินค้าเกษตรไทยไปขายบนเว็บ
ดาราหนุ่มปั้นจั่น ปรมะ กับธุรกิจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
" พื้นที่ 3 งาน" ก็ปลูกไฮโดรได้
นำชุมชนปลูกผักปลอดสารไร้ดิน..ด้วยวัสดุรีไซเคิล
"ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์" ผักอนคตไกล.. คนยังนิยม
พื้นที่ไม่ใช่ปัญหา 50 ตรม.ปลูกเมล่อนบดาดฟ้า
ผักไฮโดรโปนิกส์และแปลงปลอดสารฝีมือเด็กเก่งโรงเรียนบ้านวนาหลวง
ครอบครัวไทลื้อสู้ชีวิต ทิ้งงานลูกจ้างกลับบ้านเกิดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แห่งแรกของตำบล
ไม่ง้อสวนใหญ่เปลี่ยนทาวเฮาส์เป็นสวนเมล่อนไฮโดร
หลังจากไม่ประสบความสำเร็จจากการทำงานต่างประเทศ ม่ายสาวหันมาปลูกคื่นฉ่ายไฮโดรเป็นอาชีพ
ส่องความสำเร็จโรงเรียนห่างไกล ที่มีความมั่นคงทางอาหารที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
สวนผักคอนโด เกษตรกรรมของคนเมือง
พลิกวิกฤติ! เกษตรกรหันปลูกผักปลอดสารพิษ สร้างรายได้ต่อเดือนกว่าหมื่น
ฟาร์มขนาดย่อมในซูเปอร์มาร์เก็ต
เกษตรกรภาคใต้ ไอเดียเฉียบ ปลูก “ขึ้นฉ่ายไฮโดรฯ” ส่งเทสโก้ โลตัส
เคล็ดลับในการทำการเกษตรให้สำเร็จ
ปลูกผักขายดีกว่า!!ไม่สนงานออฟฟิศ ปลูกผักไฮโดรฯ เป็นนายตัวเอง รายรับ3 หมื่น/เดือน
รางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ทำเองง่ายนิดเดียว
ปลูกแตงกวาญี่ปุ่น “ไร้ดิน” ในกระสอบ รายได้งาม
พลิกชีวิต!! โชเฟอร์ขับตุ๊กตุ๊กเมืองสงขลาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จนประสบความสำเร็จ