H2O Hydro Garden
ที่อยู่: เลขที่ 8 ซอย นาคนิวาส 53 ลาดพร้าว 71 แขวง ลาดพร้าว กทม. 10230
เบอร์โทร: 02 932 9200 มือถือ: 086 500 9698, 084 106 6831
.jpg)
.jpg)
.png)
ผักไร้ดิน : ตอบโจทย์การขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านบ่อหิน ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านบ่อหิน อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล 1 –ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีระยะทางห่างจากจังหวัดสตูล ประมาณ 56 กิโลเมตร โรงเรียนแห่งนี้ ได้นำการปลูกผักไร้ดิน (ไฮโดโปนิกส์) เข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 -6 ภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี/ภาคปฏิบัติอย่างครบวงจร และมีคุณธรรม เริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูก กระบวนการปลูก การเก็บเกี่ยว การนำผักชนิดต่างๆ เข้าสู่ตลาด การจัดทำบัญชีรับ-จ่าย ซึ่งส่งถึงทักษะอาชีพที่นักเรียนสามารถนำไปหาเลี้ยงครอบครัวได้ในโอกาสต่อไป
ครูรัฐกรณ์ บุญแก้วสุข ครูผู้สอนผักไร้ดิน ในสาระเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา เล่าว่า ผักไร้ดิน (ไฮโดโปนิกส์) ที่โรงเรียนบ้านบ่อหิน จะปลูก 2 แบบ ด้วยกันคือ
แบบที่ 1 ปลูกในสารละลายที่ระบบน้ำ หมุนเวียนผ่านท่อพีวีซี วิธีนี้ต้นทุนสูง เพราะต้นทุนท่อพีวีซีค่อนข้างสูง แบบที่ 2 ปลูกในสารละลายแบบน้ำนิ่ง. วิธีนี้ต้นทุนต่ำ เพราะได้ประยูกต์ใช้ลังโฟมบรรจุองุ่น และพื้นผ้าพลาสติก เป็นอุปกรณ์ในการปลูก ในช่วงเริ่มต้นการปลูกจะไม่มีการกางมุ้งให้ผัก ต่อมาจึงเริ่มกางมุ้ง เพราะต้องการให้นักเรียนเห็นความแตกต่างระหว่างผักที่ปลูกแบบกางมุ้ง กับผักที่ปลูกแบบไม่กางมุ้ง นักเรียนพบว่าแมลงและหนอนจะมาคอยกัดกินใบแปลงผักที่ไม่กางมุ้ง เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และไม่มีมุ้งคอยป้องกันนั่นเอง
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านบ่อหิน ปลูกผักไร้ดิน ทั้งหมด 7 แปลง ไว้ข้าง ๆ โรงอาหาร ผักที่ปลูกส่วนใหญ่เน้นผักที่เป็นความต้องการของตลาดในชุมชน เช่น ผักกาด ผักกวางตุ้ง ผักสลัด เป็นต้น จัดจำหน่าย กิโลกรัมละ 60 บาท ตามราคาตลาด หรือหากแบ่งบรรจุถุง จะจำหน่ายในราคาถุงละ 20 บาท
ผักที่ได้ส่วนใหญ่นำส่งเข้าโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ส่งผลให้นักเรียนรับประทานผักปลอดสารพิษ 100% ซึ่งนักเรียนชอบรับประทานมาก เพราะ มีความกรอบ และหวาน และไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ผักอีกส่วนหนึ่งนำออกจัดจำหน่ายแก่ชุมชน เพื่อเป็นรายได้แก่สถานศึกษาและแบ่งปันให้นักเรียน. ขณะนี้ผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชนบ่อหินและผู้ประกอบการอื่น ๆ ที่ร้องขอ
ครูรัฐกรณ์. เล่าต่อว่า การเรียนรู้เรื่องผักไร้ดิน จึงเป็นการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะจะมีสถานการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อฝึกนักเรียนให้รู้จักคิด รู้จักคำนวณ รู้จักสังเกต วิเคราะห์ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นทักษะที่การศึกษากำลังบ่มเพาะให้เกิดกับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในอนาคต กำลังคิดให้นักเรียนทดลองใช้น้ำหมักจากเศษผัก หรือเศษผลไม้ มาเป็นปุ๋ยให้กับผักไร้ดินในแปลงปลูกแบบน้ำนิ่ง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ใหม่ในการปลูกผักไร้ดิน ด้านนายอรรถไกร จิตหลัง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบ่อหิน กล่าวว่า การปลูกผักไร้ดิน (ไฮโดโปนิกส์) เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนใช้การบูรณาการโครงการ/นโยบาย การศึกษาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่ 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์ 1 อาชีพ รวมถึงใช้ในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สู่การสร้างทักษะอาชีพและรายได้ระหว่างเรียน และการขยายผลสู่ชุมชน จึงเป็นการตอบโจทย์นโยบายการศึกษาในการขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษาในขณะนี้
ขณะที่ เด็กหญิงณัฐณิชา ปาละสัน. บอกว่า. การปลูกผักไร้ดิน นอกจากได้เรียนรู้และสามารถปลูกได้เองแล้ว ยังทำให้มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 200 -300 บาท สามารถนำไปช่วยเหลือครอบครัวและเก็บเป็นทุนการศึกษาในอนาคตอีกด้วย
ขอบคุข้อมูล : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล www.sesao.go.th |