ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


มาตรฐานและการขอใบรับรองผักปลอดสาร

 

 

       ในปัจจุบันมีผักปลอดสารพิษออกมาจำหน่ายอย่างมากมาย โดยในท้องตลาดจะมีตราหรือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกที่มาของผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในสินค้าที่ซื้อไป และต่อไปนี้คือมาตรฐานและขั้นตอนในการขอใบรับรองซึ่งได้กำหนดไว้ดังนี้

มาตรฐานและการขอใบรับรองภายในประเทศ
1.มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Prac-tices)
        กำหนดเป็นมาตรฐานสินค้าผักและผลไม้ไทยระดับฟาร์มหรือแปลงปลูก การตรวจระบบ GAP จากกรมวิชาการเกษตรโดยมีการกำหนดหลักปฏิบัติ ดังนี้
  • แหล่งน้ำต้องมาจากแหล่งสะอาด ไม่มีสิ่งเจือปน
  • ไม่มีสารปนเปื้อนในดินที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลผลิต
  • ในวัตถุอันตรายในการผลิตตามข้อบังคับของกรมวิชาการเกษตร
  • การเก็บรักษาและขนย้ายต้องมีโรงเรือนที่ได้มาตรฐาน
  • มีการบันทึกข้อมูลการใช้วัตถุอันตรายและป้องกันศัตรูพืช
  • ปลอดศัตรูพืชหลังเก็บเกี่ยว
  • มีการคัดแยกคุณภาพของผลผลิตออกอย่างชัดเจน
  • เครื่องไม้เครื่องมือในการเก็บเกี่ยวต้องสะอาดและปลอดสารปนเปื้อน
2.มาตรฐาน Q
        มาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เห็นการให้ใช้เครื่องหมายรับรองให้เป็นแบบเดียวกัน ครอบคลุมไปที่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ สินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง โดยมีการออกเครื่องหมายรับรองสินค้าและเครื่องหมายรับรองระบบ โดยมีจุดประสงค์ดังนี้
  • เครื่องหมาย Q จะคลอบคลุมมาตฐานต่าง ๆ เช่น GAP ,GMP ,HACCP.CoC ,เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
  • เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ คุณภาพสินค้าเกษตร และอาหารคุณภาพภายใต้เครื่องหมาย Q
  • สร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิต ผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมาย Q และพัฒนาผู้ผลิตให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานของกระทรวงมากขึ้น
คุณสมบัติของผู้ที่จะขอสินค้าเกษตรภายใต้เครื่องหมาย Q

 

  • เป็นนิติบุคคลและมีความสนใจในการขอรับการตรวจรับรอง
  • ให้ความร่วมมือคณะผู้ตรวจรับรอง
  • ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของการตรวจรับรอง
  • สถานที่จำหน่ายต้องมีสินค้าภายใต้เครื่องหมาย Q ทั้งการผลิตระดับฟาร์มและแปรรูป และมีสินค้าจำหน่ายอย่างสม่ำเสมอด้วย

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอใบรับรองฟาร์ม
ตามระบบการจัดการคุณภาพ GAP พืช

คุณสมบัติของเกษตรกร

           ต้องเป็นเจ้าของหรือผู้ถือสิทธิในการดำเนินการผลิตหรือเป็นผู้ได้รับมอบหมาย จากเจ้าของหรือผู้ถือครองสิทธิในการดำเนินการผลิต ให้ดำเนินการผลิตพืชที่ระบุในแบบคำร้องขอใบรับรองฟาร์มตามระบบการจัดการ คุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช
เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฏร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจกระบวนการผลิต พืชที่ระบุในแบบคำร้องขอใบรับรองฟาร์มตามระบบการจัดการคุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช เห็นด้วยโดยไม่มี
ข้อขัดแย้งกับนโยบายคุณภาพและวัตถุประสงค์คุณภาพที่ระบุในเอกสารระบบการจัดการคุณภาพ : GAP พืชที่ขอการรับรอง ต้อง ผ่านการอบรมหลักสูตรระบบการจัดการคุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด

หน้าที่ความรับผิดชอบ

       เกษตรกรต้องปฏิบัติตามและหมั่นปรับปรุงฟาร์มและกระบวนการผลิตให้ครบถ้วนตาม ระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตร ที่ดีสำหรับพืช เกษตรกรต้องควบคุมดูแลและเอาใจใส่ตรวจสอบฟาร์มและกระบวนการผลิตของตนเองให้ อยู่ในระบบการจัดการคุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช กรณีมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในฟาร์มเช่นการเปลี่ยนผู้ปฏิบัติงานเป็นต้น เกษตรกรต้องให้ความสนใจงานในจุดนั้นเป็นกรณีพิเศษหากไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปตามระบบให้นัด หมายที่ปรึกษาหรือคณะผู้ตรวจรับรองไปให้คำปรึกษา
หรือตรวจประเมินต่อไป

สถานที่ยื่นแบบคำร้องขอรับรองฟาร์ม

เกษตรกรที่มีภูมิลำเนาหรือฟาร์มในจังหวัดชัยนาท กาญจนบุรี นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี และกรุงเทพมหานคร ขอรับและยื่น แบบคำร้องขอรับรองฟาร์ม ได้ที่

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท 17150 โทรศัพท์ 0-5641-3044, 415458 โทรสาร 0-5641-3045,416534
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 72160 โทรศัพท์ 0-3555-1542-3 โทรสาร 0-3555-1543
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี ม.13 ต.คลอง 1 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0-2529-0713 โทรสาร 0-2529-0713
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี ม.1 ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทรศัพท์ 0-3233-7407 โทรสาร 0-3233-7407
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี อ.เมือง ปท.โคกตูม จ.ลพบุรี 15210 โทรศัพท์ 0-3649-9180-1 โทรสาร 0-3649-9481
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี 3 ม.5 ต.หนองหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 71000 โทรศัพท์ 0-3451-5853 โทรสาร 0-3451-5933
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี 76120 โทรศัพท์ 0-3247-1450,0-3247-2452 โทรสาร 0-3247-2452

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140 โทรศัพท์/โทรสาร 0-3435-1487

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ 60190 โทรศัพท์/โทรสาร  0-5630-0145

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี
สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท โทรศัพท์ 0-5641-2600 โทรสาร 0-5641-3047
สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท์ 0-3451-1254 โทรสาร 0-3451-2924
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก โทรศัพท์ 0-3731-2710 โทรสาร 0-3731-1289
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 0-3425-4435,0-3425-9612 โทรสาร 0-3421-8756
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ โทรศัพท์ 0-5622-2789,0-5622-9078,0-5622-9445,0-5622-4915 โทรสาร 0-5622-7002
สำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 0-1826-2512 โทรสาร 0-2591-6928
สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี โทรศัพท์ 0-2581-7966,0-1802-2149
สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ 0-3533-6583 โทรสาร 0-3533-6559
สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี โทรศัพท์ 0-3242-5507 โทรสาร 0-3241-9400
สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี โทรศัพท์ 0-3231-5717,0-3233-7889 โทรสาร 0-3231-5059
สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี โทรศัพท์ 0-3642-1191 โทรสาร 0-3641-1296
สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ 0-2389-2344 โทรสาร 0-2395-4139
สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม โทรศัพท์ 0-3471-1711,0-3472-0766 โทรสาร 0-3471-1705
สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร โทรศัพท์ 0-1298-5719 โทรสาร 0-3442-6995
สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี โทรศัพท์ 0-3931-9025 โทรสาร 0-3621-1443
สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี โทรศัพท์ 0-3651-2396 โทรสาร 0-3651-1642
สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0-3555-5108 โทรสาร 0-3554-5451
สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง โทรศัพท์ 0-3562-0054,0-3561-1296 โทรสาร 0-3561-2011
สำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานี โทรศัพท์ 0-5651-1116 โทรสาร 0-5651-2002

 

หลักฐานในการยื่นแบบคำร้องขอรับรองฟาร์ม

หลักฐานประกอบการยื่นแบบคำร้องขอรับรองฟาร์ม ได้แก่
สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ร้องขอ หรือ ผู้แทน 1 ฉบับ
สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
เกษตรกรกรอบแบบคำร้องให้ครบถ้วน และยื่นแบบคำร้องต่อเจ้าหน้าที่พร้อมหลักฐาน เจ้าหน้าที่จะรับแบบคำร้องพร้อมหลักฐาน รวบรวม และส่งบัญชีรายชื่อเกษตรกรที่มีคุณสมบัติครบให้ 1) หน่วย ตรวจรับรอง
ระบบการจัดการคุณภาพ: การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช(CB)และ 2) คณะที่ปรึกษาและคณะผู้ตรวจรับรองในพื้นที่ ทราบเพื่อวางแผนและกำหนดนัดหมายการให้คำปรึกษาและตรวจประเมินต่อไป เกษตรกรรับทราบกำหนดการให้คำปรึกษา
(ถ้ามี)และกำหนดการตรวจรับรองและรอรับการให้คำปรึกษาและการตรวจรับรอง

คุณสมบัติของฟาร์มที่ขอการรับรอง


ฟาร์มที่จะขอการรับรองต้องมีคุณสมบัติดังนี้
ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีวัตถุอันตรายที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนใน ผลิตผลและน้ำใช้ภายในฟาร์มต้องได้จากแหล่งที่ไม่มี สภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อน เป็นสวนเดี่ยวหรือฟาร์มเดี่ยวหมายถึงสวนหรือฟาร์มที่มีการปลูกพืชชนิดเดียว หรือเป็น สวนแซมหรือฟาร์มแซมหมายถึงสวนหรือฟาร์มที่มีการปลูกพืชตั้งแต่2ชนิดขึ้นโดย มีจำนวนต้นชนิดใดชนิดหนึ่งมากกว่า ร้อยละ 50ของจำนวนต้นทั้งหมดและหากต้องการขอรับรองเกษตรกรต้องมีมาตรการหรือข้อ ปฏิบัติที่ยืนยันได้ว่าการจัดการใดๆกับพืช ชนิดใดหนึ่งในแปลงจะไม่มีผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อวิธีปฏิบัติ ตามระบบการจัดการคุณภาพ:การปฏิบัติทางการ เกษตรที่ดีสำหรับพืชชนิดที่ขอรับรอง ต้องมีพื้นที่ปลูกไม่น้อยกว่า3ไร่กรณีเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้นและไม่น้อย กว่า1ไร่กรณีเป็น พืชฤดูเดียวหรือหลายฤดู

 

มาตรฐานและการขอใบรับรองส่งออกต่างประเทศ
1.มาตรฐาน Global GAP
        เป็นมาตรฐานที่จัดขึ้นโดยเอกชนยุโรป โดยควบคุมการผลิตสินค้าอย่างครบวงจร ได้แก่ พืชผัก ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ เกษตรกรต้องเป็นผู้ติดต่อหน่วยงานที่ออกใบรับรองให้เข้าไปตรวจสอบ โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • เกษตรต้องแจ้งความจำนงขอใบรับรอง
  • เกษตรกรปรับตัวและนำแนวมาตรฐานไปปฏิบัติ (3 เดือน)
  • ทำการประเมินเพื่อนำไปปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติอีกครั้ง
  • หน่วยงานไปประเมินมาตรฐานฟาร์ม ถ้าตรงตามมาตรฐาน Global GAP เกษตรกรก็จะได้ใบรับรองดังกล่าว
  • ใบรับรองมีอายุ 1 ปี
2.มาตรฐาน EU GAP
        กำหนดเพื่อควบคุมสนค้าเกษตรและอาหารไม่ให้เกิดโทษกับชีวิต ผู้ผลิตและผู้ส่งออกนั้นต้องควบคุมคุณภาพผักผลไม้ในทุก ๆ ขั้นตอนการผลิต การส่งออกนั้นต้องผ่านมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ Q-GAP จากกรมวิชาการเกษตรเสียก่อน 
3.มาตรฐาน ASEAN GAP
        มาตรฐานการผลิตผักผลไม้สดในภูมิภาคอาเซียน พัฒนาขึ้นจากมาตรฐาน GAP ของแต่ละประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผักผลไม้ที่ผลิตในอาเซียนมีคุณภาพและปลอดภัย สุดท้ายเพื่อความสะดวกทางการค้าระหว่างภูมิภาคนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าการขอใบรับรองต่าง ๆ ค่อนข้างมีความยุ่งยาก แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลยถ้าเราให้ความสำคัญกับสุขภาพของผู้บริโภค ทั้งยังเป็นการการันตีผลผลิตของเกษตรกรด้วยว่าเป็นผลิตที่ดี มีคุณภาพเชื่อถือได้ เป็นการรองรับตลาดพืชเกษตรที่เราปลูกด้วย
..โดยมาตรฐานต่าง ๆ จะใช้เป็นเครื่องหมายประกันความมั่นใจของผู้บริโภค..
 
ที่มาและรูปภาพ : หนังสือผักปลอดสารพิษ ทำได้…รายได้งาม  ,สำนักวิจัยและพัมฯาการเกษตร .organicfarmthailand

 




ข่าวสารต่างๆของคนปลูกไฮโดร

หนุ่มวัย 29 หันหลังจากงานประจำ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สร้างรายได้เดือนละ 5 หมื่น
จริงหรือไม่? กินผัก "ไฮโดรโปนิกส์" อาจเสี่ยง "มะเร็ง"?
ผักไฮโดรโปนิกส์ สกลนคร รายได้ดี
เก็บ"ผักบุ้งไฮโดรโปนิกส์" ขายวันจ่ายตรุษจีน กำไรงาม
หนุ่มพะเยาหัวใส ปลูกขึ้นฉ่ายไฮโดร รายได้งาม
นักเรียน โรงเรียนบ้านป่าไม้แดง ปลูกผักไฮโดร
ปลูกผักไฮโดร ปลูกผักทานเอง ปลูกผักไร้ดินช่วงCOVID
นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด
ไฮโดรอินทรีย์ ใครว่าทำไม่ได้
เล่าประสบการณ์มนุษย์เงินเดือน ปลูกผักข้างบ้าน มีพื้นที่จำกัด ขายดีจนปลูกไม่ทัน
ผักสลัดอันตรายจริงหรือ ปุ๋ยเอบีอันตราจริงไหม?
คำแนะนำ 10 ข้อ สำหรับคนที่คิดริเริ่มจะทำสวนครั้งแรก
ง่าย ลงทุนน้อย แปลงผักซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ลูกค้าเข้ามาเก็บผักเอง
ผักไร้ดิน : ตอบโจทย์การขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษา
"ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ให้โตเร็วด้วยหลอดไฟ LED
แบ่งสวนมะพร้าวทำสวนผัก จนเป็น “รายได้หลักรับ 1.5 - 2 แสนบาทต่อเดือน”
พื้นที่น้อย ใช้แรงงานน้อย สร้างรายได้เดือนละ 30,000
อดีตตากล้องหลงใหลเกษตร เนรมิตเนื้อที่ 100 ตร.ว. ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
แปรรูปผลผลิตเพิ่มมูลค่า ผักสลัดไร้ดิน ผักปลอดสารพิษ
การทำสวนแบบ Hydroponics ในอนาคต
โรงงานปลูกผัก.. อนาคตใหม่แห่งวงการเกษตร
LED Plant Factory เทรนด์ใหม่การเกษตร
ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง ขายช่วงวันหยุด สร้างรายได้งาม
ปลูกผักขาย นำรายได้เป็นทุนศึกษา 'น้องโต' เมืองคอน
เด็กๆ โรงเรียนบ้านคลองแขยง เพาะต้นอ่อนทานตะวันสร้างรายได้
เทคนิคการเพาะเมล็ดผัก | ให้งอกเร็วสุดใน1วัน สามารถใช้ได้กับเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิด!!
เกษตรกรห้ามพลาด!! เผยวิธีทำ "โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ราคาประหยัด
ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน แบบคอนโดฯไว้ข้างบ้าน
วิธีส่งผัก-ผลไม้ ไปขายในห้างสรรพสินค้า
แนะนำ! 3 อาชีพเกษตร ที่เหมาะกับคนพิการ สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน
การทำรางปลูกผักไฮโดรเองที่บ้าน
เปิดเวทีถกสารตกค้างใน“ผักไฮโดรฯ” มั่นใจค่า“ไนเตรท”เทียบมาตรฐานอียู
จากคนไม่มีความรู้กลับรวย "ด้วยเกษตร"
ม.อ. จัดการปัญหา โรครากเน่า สำหรับการปลูกผัก ไฮโดรโปนิกส์ สำเร็จ
รมว.วิทย์ เยี่ยมชม "โรงงานผลิตพืช" ที่ญี่ปุ่น
วัย 25 กำเงิน 2,000 บาท ปลูกผักสลัด สร้างสรรค์เมนูเพื่อสุขภาพตื่นตาตื่นใจ บุกตลาดคนเมือง ทะยานสู่รายได้เดือนละล้าน
แชร์ประสบการณ์ขายผักตลาดสี่มุมเมือง
‘พาณิชย์’จีบเว็บไซต์ขายสินค้าระดับโลก อาลีบาบา, เจดี.คอม ดันสินค้าเกษตรไทยไปขายบนเว็บ
ดาราหนุ่มปั้นจั่น ปรมะ กับธุรกิจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
" พื้นที่ 3 งาน" ก็ปลูกไฮโดรได้
นำชุมชนปลูกผักปลอดสารไร้ดิน..ด้วยวัสดุรีไซเคิล
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 1 งาน สร้างรายได้เกือบ 2.5 หมื่น ต่อเดือน
"ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์" ผักอนคตไกล.. คนยังนิยม
พื้นที่ไม่ใช่ปัญหา 50 ตรม.ปลูกเมล่อนบดาดฟ้า
ผักไฮโดรโปนิกส์และแปลงปลอดสารฝีมือเด็กเก่งโรงเรียนบ้านวนาหลวง
ครอบครัวไทลื้อสู้ชีวิต ทิ้งงานลูกจ้างกลับบ้านเกิดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แห่งแรกของตำบล
ไม่ง้อสวนใหญ่เปลี่ยนทาวเฮาส์เป็นสวนเมล่อนไฮโดร
หลังจากไม่ประสบความสำเร็จจากการทำงานต่างประเทศ ม่ายสาวหันมาปลูกคื่นฉ่ายไฮโดรเป็นอาชีพ
ส่องความสำเร็จโรงเรียนห่างไกล ที่มีความมั่นคงทางอาหารที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
สวนผักคอนโด เกษตรกรรมของคนเมือง
พลิกวิกฤติ! เกษตรกรหันปลูกผักปลอดสารพิษ สร้างรายได้ต่อเดือนกว่าหมื่น
ฟาร์มขนาดย่อมในซูเปอร์มาร์เก็ต
เกษตรกรภาคใต้ ไอเดียเฉียบ ปลูก “ขึ้นฉ่ายไฮโดรฯ” ส่งเทสโก้ โลตัส
เคล็ดลับในการทำการเกษตรให้สำเร็จ
ปลูกผักขายดีกว่า!!ไม่สนงานออฟฟิศ ปลูกผักไฮโดรฯ เป็นนายตัวเอง รายรับ3 หมื่น/เดือน
รางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ทำเองง่ายนิดเดียว
ปลูกแตงกวาญี่ปุ่น “ไร้ดิน” ในกระสอบ รายได้งาม
พลิกชีวิต!! โชเฟอร์ขับตุ๊กตุ๊กเมืองสงขลาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จนประสบความสำเร็จ