ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


วัย 25 กำเงิน 2,000 บาท ปลูกผักสลัด สร้างสรรค์เมนูเพื่อสุขภาพตื่นตาตื่นใจ บุกตลาดคนเมือง ทะยานสู่รายได้เดือนละล้าน

 

     ปลูกผัก เป็นจุดเริ่มต้น ด้วยเงินเพียง 2,000 บาท และจนบัดนี้ คุณบุญชะนะกลายเป็นเจ้าของฟาร์มผักสลัด “The Secret Salad Farm” แห่งใหญ่ในจังหวัดภูเก็ต และตามต่อกับการเติมเต็มความฝัน สร้างร้าน  “farmfactory” ร้านสลัดที่มาพร้อมคอนเซ็ปต์ “เฮลท์ตี้ฟาสต์ฟู้ด”
 

   เริ่มจากความเจ็บป่วยของแม่ทำให้ คุณบุญชะนะ เอกวานิช ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งโปรแกรมเมอร์และนักวิเคราะห์ระบบ ทันที แต่เพียง 2 เดือนแม่ก็จากไปอย่างไม่มีวันกลับแน่นอนว่าเขาเคว้งคว้าง แต่ทว่าจะท้อแท้ไม่ได้ เพราะขณะนั้นยังรับตำแหน่งคนตกงาน   อยากทำอะไร ชอบอะไร รักงานอะไร แบบไหน และเป้าหมายในชีวิตคืออะไร  นี่คือคำถามที่ผุดขึ้นในหัวของเด็กหนุ่มวัย 25 ปี และในเวลาไม่นานนัก เขาก็ผุดความคิดกับธุรกิจอาหารสุขภาพ แต่การจะสร้างร้านขึ้นมาตามภาพฝัน ยังเป็นไปไม่ได้ ด้วยปัจจัยหลายด้านยังไม่พร้อม
 
 
 
   คุณบุญชะนะค้นหาและศึกษาวิธีปลูกผักสลัดระบบไฮโดรโปนิกส์จากอินเตอร์เน็ตไปพร้อมๆ กับลงมือทำด้วยมือของตนเอง ตั้งแต่เทพื้นปูน เดินระบบ โดยใช้เงินทุนก้อนแรกเพียง 2,000 บาท ล้มลุกคลุกคลาน ดูเหมือนจะเป็นสิ่งธรรมดากับการเริ่มต้นในสิ่งที่ไม่เคยลงมือทำมาก่อน โดยเฉพาะกับพื้นที่ปลูก  จังหวัดภูเก็ต เป็นที่ทราบดีว่าฤดูฝนยาวนานถึง 8 เดือน ต่อด้วยฤดูร้อน 4 เดือน   ในขณะผักสลัดชอบอากาศหนาว  
   คุณบุญชะนะสู้ฝ่าฟันจนได้ผักคุณภาพพร้อมขายส่งต่อให้พ่อค้าคนกลาง และแล้วปัญหาถูกกดราคา รับซื้อผักไม่ต่อเนื่องเกิดขึ้น จึงตัดสินใจนำรถกระบะบรรทุกผักไปจำหน่ายด้วยตัวเอง โดยเลือกทำเลย่านชุมชน และสวนสาธารณะ
โดยตั้งราคาขายต้นละ 20 บาท ขายดีจนมีความคิดนำผักเข้าห้าง จึงติดต่อแม็คโคร ซึ่งเขาก็ใช้เวลาตรวจสอบคุณภาพอยู่นานถึง 6 เดือน กว่าจะตกลงรับไปจำหน่าย โดยมีเป้าหมายรับซื้อ 1 ตัน จึงต้องขยายพื้นที่ปลูก จนได้กำลังผลิต 1 ตัน ต่อสัปดาห์”
 
 
 
    เมื่อฟาร์มผักสลัดแข็งแรง และมีผู้รับซื้อแน่นอน คุณบุญชะนะวางแผนเดินสู่เส้นทางฝัน สร้างร้านสลัด
ภายใต้ชื่อ  farmfactory
  จนมาถึงจุดที่สามารถขยายสาขาต่อได้ ซึ่งคราวนี้ คุณบุญชะนะมองทำเลใจกลางกรุงเทพฯ โดยวางกลุ่มเป้าหมายระดับ B  ขึ้นไป อายุตั้งแต่ 23 ปี อยู่ในวัยทำงาน
 
สีลมคอมเพล็กซ์ จึงตอบโจทย์ให้เดินเข้าไปติดต่อขอเช่าพื้นที่ และแม้ค่าเช่าจะสูงกว่าสาขาแรกถึง 3 เท่าตัว แต่ทว่าจำนวนลูกค้าหมุนเวียนสูงถึง 500 คน ต่อวัน ทำเลนี้จึงเรียกได้ว่า ดี
 
“พื้นที่ตั้งร้านติดทางเข้าออกสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง พบเห็นง่าย บวกกับย่านนี้มีฟิตเนสหลายแห่ง ไหนจะกลุ่มคนรักสุขภาพสูงตามไปด้วย ทำให้ farmfactory ได้รับโอกาส มีลูกค้าเดินเข้าออกตลอด โดยเฉพาะช่วงมื้อเที่ยง และมื้อเย็น”
 
 
 
 
 
"ความชัดเจน คือจุดยืนสำคัญ ส่งผลต่อความเป็นตัวตนของ farmfactory “เราขายอาหารเมนูเดียวคือ สลัด  เพราะอยากให้ความชัดเจนตรงนี้ไปปรากฏขึ้นในใจลูกค้า คือเมื่อนึกถึงสลัด ก็นึกถึง farmfactory”
 
อีกหนึ่งความแปลกใหม่ในสายตาผู้บริโภค
  - ส่วนใหญ่ร้านอื่นเสิร์ฟสลัดจะใช้จาน แต่ว่าเราใช้ชามโบว์ลแช่เย็น เพื่อคงความสดกรอบของผัก คลุกน้ำสลัดลงในชามให้ลูกค้าเห็น ตัดปัญหาเรื่องน้ำสลัดไม่พอทาน 
มีวัตถุดิบรองรับมากกว่า 40 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นผักสลัดนานาชนิด ผลไม้ พืชผักอื่นๆ ถั่ว หรือแม้แต่คีนัวกิโลกรัมละกว่า 1,000 บาท เราก็นำมาเป็นวัตถุดิบให้ลูกค้า ตกแต่งหน้าตาอย่างสวยงาม ให้ประโยชน์ด้านสุขภาพ”
 
  - การตั้งชื่อเมนู ต้องสะดุดหูสะดุดตาชื่อต้องขายได้ด้วย การทำวลี เนื้อหา ต้องสะดุด ซึ่งเหตุผลที่ทำให้คิดออกมาได้ สิ่งสำคัญคือ ต้องจับพฤติกรรมผู้บริโภคให้ออกว่าเป็นแบบไหน และต้องการอะไร
 อย่างเครื่องดื่ม FOREVER YOUNG, SUPER SLIM, DEEP DETOX ขายได้แน่ และเราก็บอกเลยว่าเราใส่อะไรลงไปบ้าง ลูกค้าเห็นภาพชัดเลย”
 
 
 
 
 
 
จากเงินลงทุนเพียง 2,000 บาท กับวันนี้มีรายได้รวมกว่า 10 ล้านบาท ต่อปี ความเติบโตนี้พิสูจน์ได้ด้วยการทำงานโดยใช้ “ใจ”

“ถ้ามีใครต้องการทำธุรกิจ ผมว่าต้องถามตัวเอง อยากทำเพราะอะไร ถ้าแค่หวังรวย อย่าทำเลยครับ พลังมันไม่พอ แต่ต้องชอบต้องรัก หลงใหลในสิ่งที่ทำ การเตรียมข้อมูลเป็นสิ่งที่ดี
 แต่ควรเตรียมแค่ 70 เปอร์เซ็นต์ เพราะถ้ารู้ละเอียดจะเริ่มกลัว แต่ถ้าไม่เตรียมก็ไม่ได้นะ และสำคัญคือ ต้องมีใจ ผมว่าสิ่งนี้จะทำให้เราเกิดความสุข และทำให้ต่างจากคนอื่น” คุณบุญชะนะ กล่าวทิ้งท้าย
 
 
 
 

CR. sentangsedtee , farmfactory

 



ข่าวสารต่างๆของคนปลูกไฮโดร

หนุ่มวัย 29 หันหลังจากงานประจำ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สร้างรายได้เดือนละ 5 หมื่น
จริงหรือไม่? กินผัก "ไฮโดรโปนิกส์" อาจเสี่ยง "มะเร็ง"?
ผักไฮโดรโปนิกส์ สกลนคร รายได้ดี
เก็บ"ผักบุ้งไฮโดรโปนิกส์" ขายวันจ่ายตรุษจีน กำไรงาม
หนุ่มพะเยาหัวใส ปลูกขึ้นฉ่ายไฮโดร รายได้งาม
นักเรียน โรงเรียนบ้านป่าไม้แดง ปลูกผักไฮโดร
ปลูกผักไฮโดร ปลูกผักทานเอง ปลูกผักไร้ดินช่วงCOVID
นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด
ไฮโดรอินทรีย์ ใครว่าทำไม่ได้
เล่าประสบการณ์มนุษย์เงินเดือน ปลูกผักข้างบ้าน มีพื้นที่จำกัด ขายดีจนปลูกไม่ทัน
ผักสลัดอันตรายจริงหรือ ปุ๋ยเอบีอันตราจริงไหม?
คำแนะนำ 10 ข้อ สำหรับคนที่คิดริเริ่มจะทำสวนครั้งแรก
ง่าย ลงทุนน้อย แปลงผักซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ลูกค้าเข้ามาเก็บผักเอง
ผักไร้ดิน : ตอบโจทย์การขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษา
"ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ให้โตเร็วด้วยหลอดไฟ LED
แบ่งสวนมะพร้าวทำสวนผัก จนเป็น “รายได้หลักรับ 1.5 - 2 แสนบาทต่อเดือน”
พื้นที่น้อย ใช้แรงงานน้อย สร้างรายได้เดือนละ 30,000
อดีตตากล้องหลงใหลเกษตร เนรมิตเนื้อที่ 100 ตร.ว. ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
แปรรูปผลผลิตเพิ่มมูลค่า ผักสลัดไร้ดิน ผักปลอดสารพิษ
การทำสวนแบบ Hydroponics ในอนาคต
โรงงานปลูกผัก.. อนาคตใหม่แห่งวงการเกษตร
LED Plant Factory เทรนด์ใหม่การเกษตร
ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง ขายช่วงวันหยุด สร้างรายได้งาม
ปลูกผักขาย นำรายได้เป็นทุนศึกษา 'น้องโต' เมืองคอน
เด็กๆ โรงเรียนบ้านคลองแขยง เพาะต้นอ่อนทานตะวันสร้างรายได้
เทคนิคการเพาะเมล็ดผัก | ให้งอกเร็วสุดใน1วัน สามารถใช้ได้กับเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิด!!
เกษตรกรห้ามพลาด!! เผยวิธีทำ "โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ราคาประหยัด
ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน แบบคอนโดฯไว้ข้างบ้าน
วิธีส่งผัก-ผลไม้ ไปขายในห้างสรรพสินค้า
มาตรฐานและการขอใบรับรองผักปลอดสาร
แนะนำ! 3 อาชีพเกษตร ที่เหมาะกับคนพิการ สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน
การทำรางปลูกผักไฮโดรเองที่บ้าน
เปิดเวทีถกสารตกค้างใน“ผักไฮโดรฯ” มั่นใจค่า“ไนเตรท”เทียบมาตรฐานอียู
จากคนไม่มีความรู้กลับรวย "ด้วยเกษตร"
ม.อ. จัดการปัญหา โรครากเน่า สำหรับการปลูกผัก ไฮโดรโปนิกส์ สำเร็จ
รมว.วิทย์ เยี่ยมชม "โรงงานผลิตพืช" ที่ญี่ปุ่น
แชร์ประสบการณ์ขายผักตลาดสี่มุมเมือง
‘พาณิชย์’จีบเว็บไซต์ขายสินค้าระดับโลก อาลีบาบา, เจดี.คอม ดันสินค้าเกษตรไทยไปขายบนเว็บ
ดาราหนุ่มปั้นจั่น ปรมะ กับธุรกิจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
" พื้นที่ 3 งาน" ก็ปลูกไฮโดรได้
นำชุมชนปลูกผักปลอดสารไร้ดิน..ด้วยวัสดุรีไซเคิล
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 1 งาน สร้างรายได้เกือบ 2.5 หมื่น ต่อเดือน
"ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์" ผักอนคตไกล.. คนยังนิยม
พื้นที่ไม่ใช่ปัญหา 50 ตรม.ปลูกเมล่อนบดาดฟ้า
ผักไฮโดรโปนิกส์และแปลงปลอดสารฝีมือเด็กเก่งโรงเรียนบ้านวนาหลวง
ครอบครัวไทลื้อสู้ชีวิต ทิ้งงานลูกจ้างกลับบ้านเกิดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แห่งแรกของตำบล
ไม่ง้อสวนใหญ่เปลี่ยนทาวเฮาส์เป็นสวนเมล่อนไฮโดร
หลังจากไม่ประสบความสำเร็จจากการทำงานต่างประเทศ ม่ายสาวหันมาปลูกคื่นฉ่ายไฮโดรเป็นอาชีพ
ส่องความสำเร็จโรงเรียนห่างไกล ที่มีความมั่นคงทางอาหารที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
สวนผักคอนโด เกษตรกรรมของคนเมือง
พลิกวิกฤติ! เกษตรกรหันปลูกผักปลอดสารพิษ สร้างรายได้ต่อเดือนกว่าหมื่น
ฟาร์มขนาดย่อมในซูเปอร์มาร์เก็ต
เกษตรกรภาคใต้ ไอเดียเฉียบ ปลูก “ขึ้นฉ่ายไฮโดรฯ” ส่งเทสโก้ โลตัส
เคล็ดลับในการทำการเกษตรให้สำเร็จ
ปลูกผักขายดีกว่า!!ไม่สนงานออฟฟิศ ปลูกผักไฮโดรฯ เป็นนายตัวเอง รายรับ3 หมื่น/เดือน
รางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ทำเองง่ายนิดเดียว
ปลูกแตงกวาญี่ปุ่น “ไร้ดิน” ในกระสอบ รายได้งาม
พลิกชีวิต!! โชเฟอร์ขับตุ๊กตุ๊กเมืองสงขลาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จนประสบความสำเร็จ