ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


ส่องความสำเร็จโรงเรียนห่างไกล ที่มีความมั่นคงทางอาหารที่สุดแห่งหนึ่งของไทย

 “โรงเรียนบ้านวนาหลวง” โรงเรียนแห่งความมั่นคงทางอาหาร สำเร็จได้ด้วยความร่วมมือระหว่างครู-ลูกศิษย์ที่น่ารัก

กิจวัตรประจำวันของนักเรียนประจำในพื้นที่ห่างไกลอย่าง อรพิน เลิศสินชัยสกุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวนาหลวง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เริ่มต้นตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้า หลังปฏิบัติภารกิจส่วนตัวเสร็จแล้ว

 

อรพิน จะไปยังโรงครัวของโรงเรียนเพื่อเตรียมทำอาหารเช้าสำหรับตัวเองรวมทั้งรุ่นน้องและเพื่อนๆ อีกราว 70 คนไว้รับประทาน เมนูวันนี้คือ “ผัดผักบุ้งไฟแดง” กับข้าวสวยร้อนๆ อิ่มท้องแล้วก็เตรียมพร้อมเข้าแถวเคารพธงชาติและเริ่มเรียนหนังสือได้

 

“อาหารมื้อเช้าสำคัญที่สุดค่ะ พวกหนูคงเรียนหนังสือไม่รู้เรื่องถ้าท้องยังหิว สำหรับเพื่อนที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะ อาจจะไม่คิดอะไร แต่สำหรับคนที่มีเงินไม่มาก โครงการอาหารโรงเรียนแบบนี้มีประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะพืชผักสวนครัวที่เราปลูกเอง สด สะอาดปลอดภัยแน่นอน ไม่ต้องกังวลว่าจะมียาฆ่าแมลง” ด.ญ.อรพินกล่าว
ส่วนประกอบที่เด็กๆ โรงเรียนบ้านวนาหลวงนำมาทำเป็นอาหารเช้า เป็นผลผลิตที่ได้จากโครงการสวนเกษตรอินทรีย์ สนับสนุนโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(เอฟเอโอ) พืชผักอินทรีย์ปลอดสารเหล่านี้ ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้กับอนาคตของชาติ ที่กำลังศึกษาอยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกล อย่าง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เป็นเวลากว่าสิบปีแล้วที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนิน “โครงการอาหารกลางวัน” เพื่อให้นักเรียนระดับประถมศึกษา รู้จักวิธีการผลิตอาหารและการบริโภคอาหาร อย่างถูกหลักอนามัยและถูกสุขนิสัยที่ดีผ่านการปฏิบัติจริง ทำให้ทุกคนได้กินอาหารกลางวันที่เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียน สามารถบริหารจัดอาหารกลางวันได้เองอย่างยั่งยืน
ด้วยสภาพภูมิประเทศ จ.แม่ฮ่องสอน ที่เป็นเทือกเขาสูง และการคมนาคมขนส่งที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางไปกลับ ทำให้นักเรียนจำนวนหนึ่งต้องอาศัยอยู่ที่โรงเรียนตลอดภาคการศึกษา โรงเรียนบ้านวนาหลวงแห่งนี้ก็เช่นเดียวกัน ในแต่ภาคการศึกษาจะมีนักเรียนเกือบ 1 ใน 3 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวชนเผ่าอยู่อาศัยที่โรงเรียน ซึ่งรวมถึง น้องอรพิน ด้วย
ดังนั้น หากอาศัยเพียงงบประมาณอาหารกลางวันจากภาครัฐ เฉลี่ย 20 บาทต่อคนต่อวัน จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคอาหารโดยเฉพาะกับเด็กๆ ที่อยู่ในวัยกำลังกินกำลังนอน 
กัญญา สมบูรณ์ ครูใหญ่ประจำโรงเรียนบ้านวนาหลวง พยามมองหาโอกาสเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ให้กับนักเรียนและคุณครูผู้สอนของโรงเรียน และมีแนวคิดทดลองทำโครงการสวนเกษตรสวนผสมที่โรงเรียน ซึ่งต่อมาโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากเอฟเอโอ ภายใต้นโยบายความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของเด็กและเยาวชน
“เมื่อเราได้ปลูกผักปลอดสารพิษ นั่นก็หมายความว่าเราได้สร้างโอกาส ความมั่นคงทางอาหารและความหวัง ในการเติบโตทั้งร่างกายและจิตใจที่มั่นคงให้กับเด็กๆ ด้วยเช่นกัน” ครูกัญญา กล่าว
เมื่อได้รับทุนสนับสนับโครงการในปี 2556 ครูกัญญา จึงเริ่มลงมือทำสวนผักปลอดสารพิษทันที โดยสลับหมุนเวียนปลูกผักหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักชี ต้นหอม พื้นที่ 13 ไร่ของโรงเรียนที่เคยปล่อยทิ้งร้างไว้ ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้กับนักเรียน และครูที่พักอาศัยประจำที่โรงเรียน
การปรับเปลี่ยนพื้นที่รกร้างเป็นแปลงเพาะปลูกพืชผักสวนครัว นอกจากจะทำให้เด็กๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้มีโอกาสบริโภคอาหารที่ดีและมีประโยชน์แล้ว ยังทำให้พวกเขาได้เป็นเจ้าของสวนผักเหล่านี้ร่วมกันด้วย โดยทางโรงเรียนจะมีตารางกิจกรรมหลังเวลาเรียนภาคบ่าย ให้นักเรียนเข้ามาช่วยดูแลแปลงผักซึ่งเป็นอาหารของพวกเขาด้วย

 

“งานสวนงานไร่ ใครๆ ก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องคอยรู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ตรงจุดด้วย” ครูกัญญา เล่าถึงช่วงแรกที่ทำสวนผัก สามารถปลูกได้แค่เฉพาะช่วงหน้าฝนเท่านั้น พอหน้าแล้งก็ต้องปล่อยที่ให้ว่างเปล่าประโยชน์ เพราะไม่มีน้ำใช้เพียงพอ โรงเรียนก็จำเป็นต้องจัดการงบที่มีอยู่จำกัด มาใช้เพื่อไปซื้ออาหารก่อนเพราะเป็นปัจจัยเฉพาะหน้าที่สำคัญ
จากนั้นจึงเริ่มคิดหาทางปรับปรุงระบบน้ำ ให้สามารถปลูกผักได้ตลอดปี ทำให้มีผักสดและสะอาดไว้สำหรับประกอบอาหาร ให้กับเด็กๆ ได้รับประทานทั้งสามมื้อ เมื่อปัญหาจากขาดแคลนน้ำหมดไป ทำให้ผักงอกงามดี แต่กลับเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น เนื่องจากวัวของ เพื่อนบ้านในชุมชน บุกรุกเข้ามากินผักสวนครัวที่ปลูกไว้ ไร่สวนผสมได้รับความเสียหายมาก ต้องรีบจัดการทำรั้วกันแทบไม่ทัน
จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ ครูกัญญาและครูท่านอื่นๆ มาถกประเด็นร่วมกันว่าจะทำอย่างไร ให้โรงเรียนบ้านวนาหลวงมีความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ในที่สุดได้คำตอบว่าการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แบบยกพื้นน่าจะเป็นคำตอบเรื่องความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืนและลงตัวที่สุด
หลังการประกาศใช้นโยบายให้โรงเรียนเลิกเรียนเวลาบ่ายสองโมง โรงเรียนบ้านวนาหลวงจึงมีกิจกรรมปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ นอกจากเด็กๆ จะได้เรียนรู้นอกห้องเรียนแล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสทางอาชีพ ความมั่นคงทางอาหารและรายได้ไปพร้อมๆ กัน
“นักเรียนลองหยิบต้นกล้าเหล่านี้ขึ้นมา และเช็คและสังเกตดูว่ารากซีดหรือไม่ หยิบด้วยความระมัดระวังและเบามือที่สุด สิ่งที่นักเรียนควรได้เรียนรู้คือต้นกล้าผักเราเหล่านี้ราคา 15 บาท ถ้าเราดูแลดีต้นผักเหล่านี้จะเปลี่ยนเป็นกิโลละ 150 บาทภายในเวลาไม่กี่เดือน”
ครูรัตนากร แก้วน้อย ผู้ดูแลโครงการผักไฮโดรโปนิกส์กำลังสอนวิธีการดูแล และตรวจสอบสภาพผักระหว่างชั่วโมงกิจกรรมนอกห้องเรียนภาคบ่าย เรดโอ๊ค กรีนโอ๊ค ไอซ์เบิร์ก สลัดแก้ว สีสันสดใสสวยงามเหล่านี้สามารถเพิ่มคุณค่าให้กับมื้ออาหารกลางวัน ของนักเรียนบ้านวนาหลวง
นอกจากนี้ ผลผลิตส่วนหนึ่งจะมีพ่อค้าจากตัวเมือง มารับซื้อถึงโรงเรียนในราคากิโลกรัมละ 150 บาท แต่ละครั้งจะขายได้ราว 10 กิโลกรัมทีเดียว
โรงเรียนบ้านวนาหลวงไม่ได้มีแค่สวนผักเท่านั้น พื้นที่ทุกตารางนิ้วได้รับการปรับใช้อย่างเป็นประโยชน์ เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน
ด้านหลังโรงเรียนยังมีเล้าไก่ และคอกหมู เพื่อนักเรียนจะได้มีไก่และเนื้อสัตว์ไว้บริโภคและสารอาหารครบ 5 หมู่ ทั้งสามมื้อ รายได้จากการขายผักสลัด ไข่ไก่และเนื้อสัตว์ ทางสหกรณ์โรงเรียนจะนำมาบริหารจัดการ เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับซื้อเมล็ดพันธุ์ผักไฮโดรโปนิกส์ และสำหรับทำกิจกรรมอื่นๆ ของโรงเรียนต่อไป
ปัจจุบันไร่สวนผสมที่โรงเรียนบ้านวนาหลวง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชผักไฮโดรโปนิกส์ และไก่ไข่ออร์แกนิคอุดมสมบูรณ์ ด้วยความคิดสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วม ในการทำงานของคุณครูและนักเรียนอย่างอบอุ่น ทำให้โรงเรียนมีรายได้หมุนเวียนเพียงพอต่อการดูแลทั้งด้านการเรียนและโภชนาการของเด็กนักเรียนและคุณครู รวมกว่า 300 ชีวิตอย่างยั่งยืนตลอดสามปีที่ผ่านมา
ครูกัญญา ยังได้นำเงินรางวัลที่ตนเองได้รับ จากรางวัลยอดครูผู้มีอุดมการณ์ ตามโครงการตามรอยเกียรติครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู ปี 2558 จำนวน 3 แสนบาท มาปลูกต้นกาแฟในบริเวณโรงเรียน เพื่อให้เป็นกิจกรรมเสริมฝึกฝนทักษะอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับนักเรียนต่อไป คาดว่าอีกสองปีข้างหน้าจะมีผลผลิตจากกาแฟออกจำหน่ายและใช้รับรองแขกที่มาเยี่ยมโรงเรียน
ครูกัญญา กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า ได้รับแรงบันดาลใจในการทำโครงการเกษตรสวนผสมในโรงเรียน จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“เศรษฐกิจพอเพียงเริ่มที่ตัวเราค่ะ เพียงแต่เราต้องรู้จักนำปรัชญาของพระองค์ มาประยุกต์และปฏิบัติใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ เมื่อลงมือทำและอดทนเราจะเห็นผลด้วยตัวเอง ว่าปรัชญาของพระองค์ทำได้จริง ช่วยสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับโรงเรียนและชุมชนรอบข้างอย่างยั่งยืน ตามที่พระองค์สอนพวกเราทุกคนค่ะ” ครูกัญญา กล่าวทิ้งท้าย 
 
ขอบคุณภาพและข้อมูล
pptvhd36
 



ข่าวสารต่างๆของคนปลูกไฮโดร

หนุ่มวัย 29 หันหลังจากงานประจำ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สร้างรายได้เดือนละ 5 หมื่น
จริงหรือไม่? กินผัก "ไฮโดรโปนิกส์" อาจเสี่ยง "มะเร็ง"?
ผักไฮโดรโปนิกส์ สกลนคร รายได้ดี
เก็บ"ผักบุ้งไฮโดรโปนิกส์" ขายวันจ่ายตรุษจีน กำไรงาม
หนุ่มพะเยาหัวใส ปลูกขึ้นฉ่ายไฮโดร รายได้งาม
นักเรียน โรงเรียนบ้านป่าไม้แดง ปลูกผักไฮโดร
ปลูกผักไฮโดร ปลูกผักทานเอง ปลูกผักไร้ดินช่วงCOVID
นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด
ไฮโดรอินทรีย์ ใครว่าทำไม่ได้
เล่าประสบการณ์มนุษย์เงินเดือน ปลูกผักข้างบ้าน มีพื้นที่จำกัด ขายดีจนปลูกไม่ทัน
ผักสลัดอันตรายจริงหรือ ปุ๋ยเอบีอันตราจริงไหม?
คำแนะนำ 10 ข้อ สำหรับคนที่คิดริเริ่มจะทำสวนครั้งแรก
ง่าย ลงทุนน้อย แปลงผักซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ลูกค้าเข้ามาเก็บผักเอง
ผักไร้ดิน : ตอบโจทย์การขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษา
"ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ให้โตเร็วด้วยหลอดไฟ LED
แบ่งสวนมะพร้าวทำสวนผัก จนเป็น “รายได้หลักรับ 1.5 - 2 แสนบาทต่อเดือน”
พื้นที่น้อย ใช้แรงงานน้อย สร้างรายได้เดือนละ 30,000
อดีตตากล้องหลงใหลเกษตร เนรมิตเนื้อที่ 100 ตร.ว. ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
แปรรูปผลผลิตเพิ่มมูลค่า ผักสลัดไร้ดิน ผักปลอดสารพิษ
การทำสวนแบบ Hydroponics ในอนาคต
โรงงานปลูกผัก.. อนาคตใหม่แห่งวงการเกษตร
LED Plant Factory เทรนด์ใหม่การเกษตร
ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง ขายช่วงวันหยุด สร้างรายได้งาม
ปลูกผักขาย นำรายได้เป็นทุนศึกษา 'น้องโต' เมืองคอน
เด็กๆ โรงเรียนบ้านคลองแขยง เพาะต้นอ่อนทานตะวันสร้างรายได้
เทคนิคการเพาะเมล็ดผัก | ให้งอกเร็วสุดใน1วัน สามารถใช้ได้กับเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิด!!
เกษตรกรห้ามพลาด!! เผยวิธีทำ "โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ราคาประหยัด
ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน แบบคอนโดฯไว้ข้างบ้าน
วิธีส่งผัก-ผลไม้ ไปขายในห้างสรรพสินค้า
มาตรฐานและการขอใบรับรองผักปลอดสาร
แนะนำ! 3 อาชีพเกษตร ที่เหมาะกับคนพิการ สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน
การทำรางปลูกผักไฮโดรเองที่บ้าน
เปิดเวทีถกสารตกค้างใน“ผักไฮโดรฯ” มั่นใจค่า“ไนเตรท”เทียบมาตรฐานอียู
จากคนไม่มีความรู้กลับรวย "ด้วยเกษตร"
ม.อ. จัดการปัญหา โรครากเน่า สำหรับการปลูกผัก ไฮโดรโปนิกส์ สำเร็จ
รมว.วิทย์ เยี่ยมชม "โรงงานผลิตพืช" ที่ญี่ปุ่น
วัย 25 กำเงิน 2,000 บาท ปลูกผักสลัด สร้างสรรค์เมนูเพื่อสุขภาพตื่นตาตื่นใจ บุกตลาดคนเมือง ทะยานสู่รายได้เดือนละล้าน
แชร์ประสบการณ์ขายผักตลาดสี่มุมเมือง
‘พาณิชย์’จีบเว็บไซต์ขายสินค้าระดับโลก อาลีบาบา, เจดี.คอม ดันสินค้าเกษตรไทยไปขายบนเว็บ
ดาราหนุ่มปั้นจั่น ปรมะ กับธุรกิจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
" พื้นที่ 3 งาน" ก็ปลูกไฮโดรได้
นำชุมชนปลูกผักปลอดสารไร้ดิน..ด้วยวัสดุรีไซเคิล
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 1 งาน สร้างรายได้เกือบ 2.5 หมื่น ต่อเดือน
"ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์" ผักอนคตไกล.. คนยังนิยม
พื้นที่ไม่ใช่ปัญหา 50 ตรม.ปลูกเมล่อนบดาดฟ้า
ผักไฮโดรโปนิกส์และแปลงปลอดสารฝีมือเด็กเก่งโรงเรียนบ้านวนาหลวง
ครอบครัวไทลื้อสู้ชีวิต ทิ้งงานลูกจ้างกลับบ้านเกิดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แห่งแรกของตำบล
ไม่ง้อสวนใหญ่เปลี่ยนทาวเฮาส์เป็นสวนเมล่อนไฮโดร
หลังจากไม่ประสบความสำเร็จจากการทำงานต่างประเทศ ม่ายสาวหันมาปลูกคื่นฉ่ายไฮโดรเป็นอาชีพ
สวนผักคอนโด เกษตรกรรมของคนเมือง
พลิกวิกฤติ! เกษตรกรหันปลูกผักปลอดสารพิษ สร้างรายได้ต่อเดือนกว่าหมื่น
ฟาร์มขนาดย่อมในซูเปอร์มาร์เก็ต
เกษตรกรภาคใต้ ไอเดียเฉียบ ปลูก “ขึ้นฉ่ายไฮโดรฯ” ส่งเทสโก้ โลตัส
เคล็ดลับในการทำการเกษตรให้สำเร็จ
ปลูกผักขายดีกว่า!!ไม่สนงานออฟฟิศ ปลูกผักไฮโดรฯ เป็นนายตัวเอง รายรับ3 หมื่น/เดือน
รางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ทำเองง่ายนิดเดียว
ปลูกแตงกวาญี่ปุ่น “ไร้ดิน” ในกระสอบ รายได้งาม
พลิกชีวิต!! โชเฟอร์ขับตุ๊กตุ๊กเมืองสงขลาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จนประสบความสำเร็จ