ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


เปิดเวทีถกสารตกค้างใน“ผักไฮโดรฯ” มั่นใจค่า“ไนเตรท”เทียบมาตรฐานอียู

 

เปิดเวทีถกสารตกค้างใน“ผักไฮโดรฯ”   มั่นใจค่า“ไนเตรท”เทียบมาตรฐานอียู
              หลังมีการแถลงข่าวขององค์กรเอกชนรายหนึ่งว่า “มีการตรวจพบสารเคมีตกค้างในผักไฮโดรโปนิกส์สูงเกินมาตรฐานและมากกว่าผักทั่วไป” สร้างความสับสนให้แก่ผู้บริโภค จนเกิดความกลัวในการบริโภคผักที่ปลูกโดยระบบไม่ใช้ดินหรือไฮโดรโปนิกส์อย่างกว้างขวาง กระทั่งเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ชมรมปลูกพืชไม่ใช้ดินแห่งประเทศไทย จึงได้เชิญผู้ประกอบการผักไฮโดรโปนิกส์จากแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์, เชียงใหม่, นครราชสีมา, กรุงเทพฯ, ชลบุรี จำนวนกว่า 70 รายมาร่วมประชุมหารือกัน ที่ห้องประชุม 201 ตึกวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เพื่อให้เกิดความกระจ่างต่อกรณีดังกล่าว
                 รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ อาจารย์ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประธานชมรมปลูกพืชไม่ใช้ดินแห่งประเทศไทย กล่าวถึงวัตถุประสงค์การเชิญผู้ประกอบการมาร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยย้ำว่า ชมรมทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการแก่ผู้ประกอบการปลูกพืชไม่ใช้ดินเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับธุรกิจแต่อย่างใด หลังจากที่มีข่าวเรื่องสารพิษตกค้างในผักดังกล่าว คณะกรรมการชมรมได้มีการนัดประชุมและดำเนินการไปแล้ว โดยจัดทำคลิปแถลงชี้แจงแก่สาธารณะไปแล้ว 2 ตอน ตอนที่ 1 กรณีการเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปวิเคราะห์ของผู้ออกข่าวที่น้อยเกินไปไม่ถูกต้องตามหลักสถิติ และห้องปฏิบัติการที่ใช้วิเคราะห์เพียงแห่งเดียว ซึ่งโดยหลักการต้องมีเป็นอย่างน้อย 2 แห่ง เพื่อเป็นการยืนยัน 
                    “กรณีการสุ่มเก็บตัวอย่างของผู้เผยแพร่ข่าวดังกล่าวนั้น ได้เก็บตัวอย่างผักไฮโดรโปนิกส์จำนวน 30 ตัวอย่างที่วางจำหน่ายในห้างทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 12 แห่ง พบว่า มีผักไฮโดรโปนิกส์จำนวน 19 ตัวอย่าง จากผู้ประกอบการ 17 ราย จำนวน 15 แบรนด์ ตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวน 25 ชนิดตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ข้อสังเกตคือ จำนวนผักตัวอย่างที่นำมาตรวจสอบเพียงเท่านี้ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ประกอบการในประเทศไทยที่ผลิตผักไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งมีมากกว่า 1,000 ราย ปริมาณการผลิตผักไม่น้อยกว่า 20 ตันต่อวัน ดังนั้น ตัวอย่างนี้จึงไม่สามารถเป็นตัวแทนตามหลักสถิติที่จะตัดสินว่าผักไฮโดรโปนิกส์ทั้งหมดเต็มไปด้วยสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน”
           ประธานชมรมปลูกพืชไม่ใช้ดินฯ เผยต่อว่า นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่าได้ตรวจพบสารไนเตรทตกค้างในผักสลัดเกินค่ามาตรฐานของอียู ในระดับ 199-2,500 ppm มี 1 ตัวอย่างที่เกินมาตรฐาน ส่วนผักไทยที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน ได้แก่ คะน้า ผักกาดฮ่องเต้ ผักโขมแดง และผักบุ้งจีน พบการตกค้างของไนเตรทระหว่าง 2,976-6,019 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ข้อเท็จจริงกฎระเบียบของอียูล่าสุด ปี 2011 ได้ประกาศค่ามาตรฐานไนเตรทที่ปลูกในแต่ละสภาพพื้นที่มีความแตกต่างกัน คือ การปลูกแบบกลางแจ้งระดับไนเตรท 3,000 ppm และปลูกในโรงเรือน (แสงน้อย) 4,000 ppm ซึ่งจะเห็นว่าผลวิเคราะห์ผักไฮโดรโปนิกส์ที่ระบุว่ามีไนเตรทตกค้างเกินมาตรฐานอียู จึงไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ที่มีระดับไนเตรทเกินตามที่กล่าวอ้าง รวมทั้งการใช้ค่าไนเตรทตกค้างในผักไทยเทียบเคียงกับมาตรฐานอียูก็ไม่เหมาะสม เพราะชนิดของผักแตกต่างกัน สภาพแวดล้อมการปลูกก็ต่างกัน โดยเฉพาะประเทศไทยนั้นเป็นเขตร้อนแสงแดดมาก ทำให้ไนเตรทสลายตัวได้เร็วกว่ายุโรปซึ่งเป็นเขตหนาว 
         จากบทความของ ดร.เอกสิทธิ์ วัฒนปรีชานนท์ ตีพิมพ์ในเคหการเกษตร ฉบับเดือนมกราคม 2561 ระบุว่า ในประเทศญี่ปุ่นมีการจำหน่ายผักไฮโดรโปนิกส์กันทั่วไป สาธารณรัฐประชาชนจีนที่กำลังมีสภาพเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้ามาก ประชาชนมีอำนาจซื้อสูง ก็มีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ไฮโดรโปนิกส์มากขึ้นตามรายได้ที่สูงขึ้น เรื่องปริมาณไนเตรทที่เรากลัวกันอยู่ที่การจัดการที่เหมาะสม ก็ไม่เป็นอันตรายเหมือนกับการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ความปลอดภัยจึงมาอยู่ที่ความรับผิดชอบของเกษตรกรที่ปลูกต้องเข้มงวดกับการใช้อัตราความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยให้เหมาะสมกับพืช การทิ้งช่วงให้ผักดูดน้ำที่มีสารละลายเจือจาง 2 วันก่อนเก็บเกี่ยว ก็จะลดปริมาณไนเตรทได้อย่างปลอดภัย
           รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยอมรับว่า การปลูกพืชผักไม่ว่าจะปลูกในดินหรือไม่ใช้ดิน ก็มีโอกาสพบสารไนเตรทตกค้างได้ เพราะไนเตรท (NO3-) เป็นรูปของธาตุไนโตรเจนที่รากพืชดูดไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ปริมาณการสะสมของไนเตรทขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการปลูก เช่น แสงแดด ชนิดพืช ช่วงเวลาปลูก (หน้าร้อน หน้าหนาว หน้าฝน) รวมถึงการจัดการในฟาร์ม สำหรับเทคนิคการลดไนเตรทสามารถทำได้ดังนี้ ประการแรกใช้ความเข้มข้นสารละลายธาตุอาหารที่ไม่สูงเกินไป ผักสลัด ใช้ 1.2-1.4 มิลลิซีเมนต์ต่อเซนติเมตร ผักบุ้ง และโขมจีน 1.2 ผักคะน้า และกวางตุ้ง 1.8 และควบคุมค่าให้คงที่ตลอดการปลูก ประการต่อมาถ้าทำได้ควรเปลี่ยนถ่ายสารละลายเป็นน้ำธรรมดา 2 วันก่อนเก็บเกี่ยว หรืออย่างน้อย ลดความเข้มข้นสารละลายลงครึ่งหนึ่ง และประการที่สามในระหว่างปลูก ควรจัดสภาพแวดล้อมให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก ได้แสงแดดเต็มที่ เพื่อการสังเคราะห์แสงที่ดี  
           ขณะที่ อ.วีรพล นิยมไทย กรรมการชมรม ย้ำว่า การเผยแพร่ข่าวสารโดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องก่อน นอกจากทำให้ผู้บริโภคแตกตื่นแล้วยังทำให้ผู้ประกอบการได้รับความเสียหาย บางฟาร์มไม่มีโอกาสได้ชี้แจงข้อเท็จจริง จะเห็นว่าเรื่องไนเตรทที่เกิดขึ้นในต่างประเทศอย่างสหภาพยุโรปมีการแก้กฎระเบียบค่าตกค้างสูงสุด (MRL) ของไนเตรทในสินค้าพืชผักเพื่อให้ผู้ผลิตผักสามารถปฏิบัติตามได้ เช่น การกำหนดไนเตรทตกค้างสูงสุดในผักโขมสด 3,500 ppm ผักโขมดอง แช่แข็งหรือแช่เย็น 2,000 ppm, ผักกาดหอมสด 3,000-5,000 ppm, ผักกาดแก้ว 2,000-2,500 ppm และผักร็อกเก็ต 6,000-7,000 ppm ทั้งนี้ปริมาณค่าไนเตรทขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการปลูกและฤดูกาลปลูกนั้นๆ ด้วย
              ด้าน อรสา ดิสถาพร อดีตผู้เชี่ยวชาญพืชผัก กรมส่งเสริมการเกษตรกรรมการชมรมอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า ประเด็นข่าวที่เกิดขึ้นนี้ถือเป็นสิ่งดีที่จะทำให้ผู้ประกอบการเกิดการเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัยเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ การสื่อสารควรจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เกิดผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจโดยสุจริต รวมทั้งผู้บริโภคไทยที่ควรมีการบริโภคผักปลอดภัยเพื่อสุขภาพตามมาตรฐานอนามัยโลกวันละ 400 กรัม (4 ขีด) ดังนั้นจะต้องมาวิเคราะห์ว่าปัญหาแท้จริงเกิดจากสาเหตุใด และจะแก้ปัญหาอย่างไร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย 
                 อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคม 2561 นี้ ทางชมรมปลูกพืชไม่ใช้ดินแห่งประเทศไทย จะนำสื่อมวลชนและผู้สนใจไปเยี่ยมชมฟาร์มปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขนาดใหญ่เพื่อการส่งออกในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ด้วย           
 3 แนวทางสร้างกลุ่มผู้ประกอบการผักไฮโดรฯเข้มแข็ง
               1.เนื่องจากชมรมปลูกพืชไม่ใช้ดินแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ความรู้ทางวิชาการแก่ผู้ประกอบการ จึงตกลงกันว่าจะดำเนินการจัดทำไกด์ไลน์ (Guideline) การใช้สารเคมีและชีวภัณฑ์ในการปลูกผักไม่ใช้ดินอย่างถูกต้องและปลอดภัยให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยหรือมือใหม่ได้นำไปปฏิบัติเป็นแนวทาง
            2.จะดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยในแต่ละภูมิภาคมือใหม่ๆ ได้เข้าใจและตระหนักเพื่อนำไปสู่การผลิตผักที่ปลอดภัย
             3.การประชุมผู้ประกอบการครั้งนี้ได้เน้นย้ำแนะนำให้ผู้ประกอบการช่วยกันรวมตัวเพื่อสร้างเครือข่าย(คลัสเตอร์)ในพื้นที่ของตนเองให้เข้มแข็ง เพื่อดูแลกันเอง โดยปฏิบัติตามมาตรฐาน QGAP อย่างเคร่งครัดต่อไป
             อย่างไรก็ตาม จากการประชุมคณะกรรมการชมรมปลูกผักไม่ใช้ดินฯเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มติที่ประชุมได้แบ่งงานการดำเนินการเพื่อสร้างความเข้าใจทั้งผู้ผลิตและผู้ประกอบการ ผู้ค้า เป็นลำดับต่อไป ทั้งนี้ การผลิตผักทุกชนิดในระบบไม่ใช้ดินทั้งในไทยและทั่วโลกมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นวิธีการผลิตที่ควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี สามารถใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างถูกต้องแม่นยำกว่าการปลูกบนดิน โดยเฉพาะอนาคตการพัฒนาการผลิตผัก (รวมทั้งไม้ดอกไม้ประดับ) และสมุนไพรมูลค่าสูงแบบ Plant factory โดยใช้หลอดไฟแสงเทียมจากพลังงานโซลาร์เซลล์  เป็นต้น
                                                                     .........................................................................
ที่มา : คมชัดลึก



ข่าวสารต่างๆของคนปลูกไฮโดร

หนุ่มวัย 29 หันหลังจากงานประจำ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สร้างรายได้เดือนละ 5 หมื่น
จริงหรือไม่? กินผัก "ไฮโดรโปนิกส์" อาจเสี่ยง "มะเร็ง"?
ผักไฮโดรโปนิกส์ สกลนคร รายได้ดี
เก็บ"ผักบุ้งไฮโดรโปนิกส์" ขายวันจ่ายตรุษจีน กำไรงาม
หนุ่มพะเยาหัวใส ปลูกขึ้นฉ่ายไฮโดร รายได้งาม
นักเรียน โรงเรียนบ้านป่าไม้แดง ปลูกผักไฮโดร
ปลูกผักไฮโดร ปลูกผักทานเอง ปลูกผักไร้ดินช่วงCOVID
นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด
ไฮโดรอินทรีย์ ใครว่าทำไม่ได้
เล่าประสบการณ์มนุษย์เงินเดือน ปลูกผักข้างบ้าน มีพื้นที่จำกัด ขายดีจนปลูกไม่ทัน
ผักสลัดอันตรายจริงหรือ ปุ๋ยเอบีอันตราจริงไหม?
คำแนะนำ 10 ข้อ สำหรับคนที่คิดริเริ่มจะทำสวนครั้งแรก
ง่าย ลงทุนน้อย แปลงผักซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ลูกค้าเข้ามาเก็บผักเอง
ผักไร้ดิน : ตอบโจทย์การขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษา
"ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ให้โตเร็วด้วยหลอดไฟ LED
แบ่งสวนมะพร้าวทำสวนผัก จนเป็น “รายได้หลักรับ 1.5 - 2 แสนบาทต่อเดือน”
พื้นที่น้อย ใช้แรงงานน้อย สร้างรายได้เดือนละ 30,000
อดีตตากล้องหลงใหลเกษตร เนรมิตเนื้อที่ 100 ตร.ว. ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
แปรรูปผลผลิตเพิ่มมูลค่า ผักสลัดไร้ดิน ผักปลอดสารพิษ
การทำสวนแบบ Hydroponics ในอนาคต
โรงงานปลูกผัก.. อนาคตใหม่แห่งวงการเกษตร
LED Plant Factory เทรนด์ใหม่การเกษตร
ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง ขายช่วงวันหยุด สร้างรายได้งาม
ปลูกผักขาย นำรายได้เป็นทุนศึกษา 'น้องโต' เมืองคอน
เด็กๆ โรงเรียนบ้านคลองแขยง เพาะต้นอ่อนทานตะวันสร้างรายได้
เทคนิคการเพาะเมล็ดผัก | ให้งอกเร็วสุดใน1วัน สามารถใช้ได้กับเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิด!!
เกษตรกรห้ามพลาด!! เผยวิธีทำ "โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ราคาประหยัด
ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน แบบคอนโดฯไว้ข้างบ้าน
วิธีส่งผัก-ผลไม้ ไปขายในห้างสรรพสินค้า
มาตรฐานและการขอใบรับรองผักปลอดสาร
แนะนำ! 3 อาชีพเกษตร ที่เหมาะกับคนพิการ สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน
การทำรางปลูกผักไฮโดรเองที่บ้าน
จากคนไม่มีความรู้กลับรวย "ด้วยเกษตร"
ม.อ. จัดการปัญหา โรครากเน่า สำหรับการปลูกผัก ไฮโดรโปนิกส์ สำเร็จ
รมว.วิทย์ เยี่ยมชม "โรงงานผลิตพืช" ที่ญี่ปุ่น
วัย 25 กำเงิน 2,000 บาท ปลูกผักสลัด สร้างสรรค์เมนูเพื่อสุขภาพตื่นตาตื่นใจ บุกตลาดคนเมือง ทะยานสู่รายได้เดือนละล้าน
แชร์ประสบการณ์ขายผักตลาดสี่มุมเมือง
‘พาณิชย์’จีบเว็บไซต์ขายสินค้าระดับโลก อาลีบาบา, เจดี.คอม ดันสินค้าเกษตรไทยไปขายบนเว็บ
ดาราหนุ่มปั้นจั่น ปรมะ กับธุรกิจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
" พื้นที่ 3 งาน" ก็ปลูกไฮโดรได้
นำชุมชนปลูกผักปลอดสารไร้ดิน..ด้วยวัสดุรีไซเคิล
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 1 งาน สร้างรายได้เกือบ 2.5 หมื่น ต่อเดือน
"ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์" ผักอนคตไกล.. คนยังนิยม
พื้นที่ไม่ใช่ปัญหา 50 ตรม.ปลูกเมล่อนบดาดฟ้า
ผักไฮโดรโปนิกส์และแปลงปลอดสารฝีมือเด็กเก่งโรงเรียนบ้านวนาหลวง
ครอบครัวไทลื้อสู้ชีวิต ทิ้งงานลูกจ้างกลับบ้านเกิดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แห่งแรกของตำบล
ไม่ง้อสวนใหญ่เปลี่ยนทาวเฮาส์เป็นสวนเมล่อนไฮโดร
หลังจากไม่ประสบความสำเร็จจากการทำงานต่างประเทศ ม่ายสาวหันมาปลูกคื่นฉ่ายไฮโดรเป็นอาชีพ
ส่องความสำเร็จโรงเรียนห่างไกล ที่มีความมั่นคงทางอาหารที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
สวนผักคอนโด เกษตรกรรมของคนเมือง
พลิกวิกฤติ! เกษตรกรหันปลูกผักปลอดสารพิษ สร้างรายได้ต่อเดือนกว่าหมื่น
ฟาร์มขนาดย่อมในซูเปอร์มาร์เก็ต
เกษตรกรภาคใต้ ไอเดียเฉียบ ปลูก “ขึ้นฉ่ายไฮโดรฯ” ส่งเทสโก้ โลตัส
เคล็ดลับในการทำการเกษตรให้สำเร็จ
ปลูกผักขายดีกว่า!!ไม่สนงานออฟฟิศ ปลูกผักไฮโดรฯ เป็นนายตัวเอง รายรับ3 หมื่น/เดือน
รางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ทำเองง่ายนิดเดียว
ปลูกแตงกวาญี่ปุ่น “ไร้ดิน” ในกระสอบ รายได้งาม
พลิกชีวิต!! โชเฟอร์ขับตุ๊กตุ๊กเมืองสงขลาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จนประสบความสำเร็จ