H2O Hydro Garden
ที่อยู่: เลขที่ 8 ซอย นาคนิวาส 53 ลาดพร้าว 71 แขวง ลาดพร้าว กทม. 10230
เบอร์โทร: 02 932 9200 มือถือ: 086 500 9698, 084 106 6831
.jpg)
.jpg)
.png)
แนะนำ! 3 อาชีพเกษตร ที่เหมาะกับคนพิการ สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน
เมืองไทยมีคนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน (อายุ 15-60 ปี) มากถึง 819,550 คน (เฉพาะที่ลงทะเบียน กับหน่วยงานภาครัฐ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) ในเดือนกันยายน 2560 คนพิการส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในภาคชนบท ทำอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง ส่วนคนพิการในวัยทำงานที่สามารถประกอบอาชีพได้ แต่ยังไม่ได้ประกอบอาชีพมีมากถึงร้อยละ 40.31 หรือประมาณ 330,339 คน พวกเขาเหล่านี้ ไม่ใช่ภาระสังคม แค่ช่วยเหลือให้พวกเขามีอาชีพ มีรายได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ คนพิการกลุ่มนี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมได้เช่นกัน
ปี 2560 มีคนพิการที่จดทะเบียนและสามารถทำงานได้ แต่ไม่มีงานทำ 455,990 คน เนื่องจากคนพิการส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือและสิทธิพื้นฐานตามที่รัฐจัดให้ ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ในฐานะประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ จึงเกิดแนวคิดจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน” ที่ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อดูแลคนพิการอย่างครบวงจรและยั่งยืน
ทางศูนย์ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมอาชีพเกษตรกรรมที่เหมาะสำหรับคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงเห็ด การเลี้ยงจิ้งหรีด และการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เนื่องจาก 3 อาชีพ ดังกล่าว ใช้พื้นที่น้อย ใช้น้ำน้อย ทำที่บ้านได้ คนพิการสามารถดูแลได้ง่าย มีรอบรายได้ รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ใช้เงินลงทุนต่ำ ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า ขายได้จริง เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ และมีช่องทางการจัดจำหน่ายระยะยาว
ปี 2560 ทางศูนย์ได้เปิดอบรมอาชีพเกษตรกรรมให้กับครอบครัวคนพิการไปแล้ว 2 รุ่น จำนวน 260 ครอบครัว ประกอบไปด้วยคนพิการที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากธนาคารกรุงเทพ กองทุนส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ
หลักสูตรดังกล่าวได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เพื่อให้คนพิการเกิดการเรียนรู้ทุกขั้นตอนตลอดกระบวนการผลิต ตั้งแต่เริ่มต้นปลูก การดูแลรักษา การแปรรูป การขาย การตลาด การทำบัญชีและการจัดการฟาร์ม ในแง่การตลาด สินค้าเกษตรทั้ง 3 ชนิด ครอบครัวผู้พิการสามารถนำผลผลิตของตัวเองออกขายในตลาดชุมชนท้องถิ่นทำให้เกิดรายได้ประจำแก่ครอบครัว ผู้เข้าอบรม นอกจากขายสินค้าที่ตลาดในชุมชนแล้ว ยังสามารถนำผลผลิตกลับมาส่งขายเข้ามูลนิธิสากลเพื่อคนพิการได้ โดยมูลนิธิได้ประกันราคา รับซื้อในราคาตลาด เพื่อนำผลผลิตไปแปรรูปจำหน่าย ในชื่อแบรนด์ “ยิ้มสู้” ผลิตภัณฑ์คุณภาพของคนพิการ เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าและช่วยเหลือครอบครัวคนพิการให้มีอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป ปัจจุบัน มูลนิธิได้จับมือกับเครือข่าย นำสินค้า “ยิ้มสู้” เข้าสู่ตลาด เช่น บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) นำสินค้าไปวางขายในห้างแม็คโคร ในเขตพื้นที่ภาคเหนือและวางแผนขยายไปทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย
รวมทั้งวางแผนขยายช่องทางการตลาดผ่านระบบออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้แบรนด์ “ยิ้มสู้” ผลิตภัณฑ์ของคนพิการ หากประชาชนคนไทยได้ช่วยกันสนับสนุนสินค้า “ยิ้มสู้” ก็เท่ากับได้ช่วยเหลือคนพิการนั่นเอง
ที่มา เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ .sentangsedtee
|