ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


แปรรูปผลผลิตเพิ่มมูลค่า ผักสลัดไร้ดิน ผักปลอดสารพิษ

 

 

 

 

แปรรูปผลผลิตเพิ่มมูลค่า  ผักสลัดไร้ดิน ผักปลอดสารพิษ  

 

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ จะเห็นคนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำตลาดแบบโซเชียลมีเดียควบคู่ไปกับการขาย  มีรูปแบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ทำให้หลายคนประสบความสำเร็จในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี

คุณกาญจนา ลากุล เป็นคนหนุ่มสาวอีกรายที่หันมาเอาดีในการทำเกษตรพร้อมกันนั้นยังได้รวบรวมเกษตรกรในพื้นที่ตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผักไร้ดินปลอดสารพิษ บ้านคำตานา มีสมาชิก 10 ครอบครัว โดยเธอรับหน้าที่เป็นประธานวิสาหกิจชุมชนฯปัจจุบันเป็นเจ้าของ นโม ฟาร์ม (Namo Farm) ซึ่งตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 212 หมู่ที่ 8 บ้านคำตานา ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี  โดยเริ่มทำเมื่อปี 2556  โดยใช้วิชาบริหารธุรกิจ และการตลาดที่ร่ำเรียนมาใช้ทำการตลาด 

      เล่าถึงแรงจูงใจที่หันมาทำการเกษตรว่า สมัยก่อนชอบกินข้าวนอกบ้าน เช่น เนื้อย่างเกาหลี แต่กินทีไรปากจะเป็นแผลร้อน ปวดเนื้อปวดตัว อ่อนเพลีย อีกอย่างคือ หาผักบางชนิดกินยากในบางฤดู จึงได้ทดลองปลูกเองในดินที่ไม่มีโรงเรือน รอบแรกได้กิน แต่รอบสอง-สาม แมลงเอาไปกินหมด ทำให้ตั้งคำถามว่า ผักที่กินที่ร้านอาหารเอามาจากไหน คนปลูกใช้ยาฆ่าแมลงไหม ใช้ยาฆ่าหญ้าหรือเปล่า พอลงมือปลูกพืชผักเอง ได้รู้ซึ้งถึงที่ไปที่มาของพืชผักผลไม้ ซึ่งสำคัญมาก

      และไม่กล้ากินอะไรสุ่มสี่สุ่มห้าอีกต่อไป ประกอบกับเมื่อก่อนไม่รู้สาเหตุป่วยบ่อยเพราะอะไร จนกระทั่งมาปลูกพืชผักกินเอง แล้วปรากฏว่าเลิกป่วย เกิดเป็นแรงจูงใจคือ กลัวป่วยและตายเร็ว แต่พอสนุกกับการปลูกแล้วจำนวนเยอะ ก็เริ่มนำไปทำบุญ แจกเพื่อนบ้าน และทดลองขาย

 

     แม้เนื้อที่ จะมีถึง 5 ไร่ แต่ในความเป็นจริงคุณกาญจนาบอก ปลูกพืชผักผลไม้เพียง 2 งาน เท่านั้นเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องความชอบส่วนตัว ไม่ชอบเดินไกลๆ ไม่ชอบตากแดด ไม่ชอบให้มือเท้าเปื้อนดำ แต่ชอบและอยากปลูกพืชผักผลไม้ทุกๆ วัน ดังนั้น จึงตกผลึกกับการปลูกพืชในโรงเรือนปิด และในท่อปูนโดยใช้เทคโนโลยีการให้น้ำแบบอัตโนมัติราคาถูกทำเอง

   “ด้วยความที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มาทำเกษตร ดิฉันจึงปรับให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เน้นทำน้อยๆ แต่ได้มากๆ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาจัดการทรัพยากรน้ำ ดิน และเวลาให้คุ้มค่า ใช้คนน้อยพื้นที่น้อย และใช้การจัดการที่เน้นยอดสูญเสียให้เกิดน้อยที่สุด จุดเด่นพืชผักของกลุ่มคือ อร่อย สะอาด สด ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อพืช สัตว์ และคน ใช้การจัดการแบบวิธีธรรมชาติ

 

เทคนิคปลูกผักให้อร่อย-ปลอดภัย

สำหรับพืช หลักๆ ที่เธอและทางกลุ่มปลูก เป็นพวกผักสลัดต่างประเทศ อย่าง ผักสลัดบัตเตอร์เฮด ผักสลัดเรดโอ๊ค ผักกรีนโอ๊ค จำหน่ายกิโลกรัมละ 100-110 บาท และปลูกพืชผักสวนครัวหลายชนิด ทั้งหอม ผักชี โหระพา ใบแมงลัก แตงกวา คะน้า ผักฮ่องเต้ พืชสมุนไพร ไม้ผล เช่น มัลเบอร์รี่ มะม่วง มะเดื่อฝรั่ง สตรอว์เบอร์รี่ มะนาว มะเขือเทศ และหลังบ้านปลูกยางพารา

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เธอได้รับเลือกให้เป็นต้นแบบเกษตรกรรุ่นใหม่นั้น ทางกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ แจกแจงว่า เนื่องจากเธอมีองค์ความรู้ตั้งแต่เริ่มต้นทำการเกษตร แบบใช้เทคโนโลยี และการจัดการสมัยใหม่ ปลูกพืชในโรงเรือนแบบไฮโดรโปนิกส์ ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ต้องกำจัดวัชพืช ใช้พื้นที่น้อยและใช้น้ำน้อย รวมทั้งปลูกผักต่างประเทศ เพราะมีคู่แข่งน้อย ได้ราคาดี พร้อมใส่ใจคุณภาพ สด สะอาด และปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer ประจำจังหวัดอุดรธานี

คุณกาญจนา แจกแจงถึงเทคนิคการปลูกผักสลัด ไม่มีอะไรมาก เพียงทำให้ผักอร่อย สด สะอาดปลอดภัย ควรเก็บผักที่อายุ 38-45 วัน ตัดผักช่วงไม่มีแสงแดด และอีกอย่างคือ ทำอย่างไรก็ได้ให้รากพืชเย็น ไม่ว่าจะปลูกหญ้าคลุม จะสเปรย์น้ำสร้างบรรยากาศหลอกผักว่าอากาศเย็น  พืชผัก ผลไม้ เป็นสิ่งมีชีวิต ดังนั้น เราต้องเอาใจใส่ รัก ดูแลอย่างสม่ำเสมอ ขี้เกียจยังไงก็ต้องดูแลทุกวัน

สำหรับผักที่ปลูกกับดิน ต้องเริ่มจากการเตรียมดิน โดยดินผสมปุ๋ยหมักที่หมักเองและใช้มูลไส้เดือน และน้ำมูลไส้เดือน ดินดีปุ๋ยดี หรืออาหารของพืชก็ครบถ้วน ส่วนการให้น้ำ ถ้าปลูกในดิน ให้ 3 เวลา ใช้สปริงเกลอร์

 

กรณีปลูกพืชไร้ดินระบบไฮโดรโปนิกส์นั้น คุณกาญจนาให้ข้อมูลว่า ใช้น้ำประปาผสมธาตุอาหารพืชบริสุทธิ์ละลายในน้ำหล่อเลี้ยงรากผัก ธาตุอาหารพืชที่ใช้จะมีเครื่องมือในการวัดค่าที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิด ก่อนเก็บเกี่ยวก็ใช้น้ำเปล่าเลี้ยงพืช ประมาณ 2-7 วัน (ธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง ที่พืชจำเป็นต้องใช้มีจำหน่ายในร้านที่ขายเกี่ยวกับพืชไฮโดรโปนิกส์ หรือร้านที่จำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ห้องแล็บ) โดยการใช้น้ำแต่ละรอบ ปริมาณ 500 ลิตร ต่อการปลูก 30 วัน จากนั้นระบายออกมาเพื่อกักเก็บไว้สำหรับรดมะเขือเทศต่อ

 

 

แปรรูปผลผลิตเพิ่มมูลค่า

ประธานวิสาหกิจชุมชนผักไร้ดินปลอดสารพิษฯ มองว่า การทำเกษตรปลอดสารพิษนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย เริ่มจากทำกินให้พอกิน เป้าหมายคือ จะไม่ซื้อพืชผักผลไม้กิน หรือซื้อให้น้อยที่สุดซึ่งรวมถึงการทำปุ๋ยใช้เองด้วย ใช้วิธีเลี้ยงไส้เดือน โดยไม่เลี้ยง นั่นคือ การไม่ถอนหญ้าแต่ตัดเอาเศษหญ้าเป็นอาหารให้ไส้เดือน พร้อมทำให้สวนชุ่มชื้นไม่แห้ง ไส้เดือนมีหน้าที่พรวนดินให้โดยไม่ต้องจ้าง ใส่ปุ๋ยให้โดยที่เราไม่ต้องซื้อ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง 100% ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า 100% นอกจากนี้ นำขยะอาหารจากครัวมากำจัดแบบทำเป็นปุ๋ยหมัก

ในการทำเกษตรนั้น ปีแรกใช้เงินลงทุนไปเยอะมาก แยกการลงทุนเป็นการผลิต 1 ล้านบาท และการแปรรูป 1 ล้านบาท ตอนนี้ยังเป็นหนี้อยู่ 2 ล้านบาท แต่หนี้เริ่มลดลง ขณะที่ผลผลิตในฟาร์มมากขึ้น ทำให้มีรายได้เลี้ยงตัวเองและใช้หนี้ได้ในระดับที่พอใจ

 

ผลผลิตของกลุ่มนั้น นอกจากจะขายผักสดแล้วยังนำมาแปรรูปด้วย อย่างเช่น ทำน้ำสลัดผลไม้เพื่อสุขภาพ ทำจากมะนาวที่ปลูกเอง มีน้ำสลัดพริกไทยดำ น้ำสลัดงาดำ และน้ำสลัดแอปเปิ้ลเขียว แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและลดยอดสูญเสียในฟาร์ม และมีน้ำผักผลไม้สกัดเย็น ไม่ใส่น้ำตาล ไม่ผสมน้ำ ทำสลัดมิกซ์ สลัดโรลล์ และแซนด์วิช กลุ่มจะเน้นการสร้างงานสร้างอาชีพในชุมชน

 

ช่องทางการจำหน่ายนั้น มีวางจำหน่ายที่หน้าฟาร์ม และตลาดเกษตรกรอุดรธานีทุกเช้าวันศุกร์และวันเสาร์ เดือนละ 4 ครั้ง และส่งผักสดขายที่ห้างวิลล่ามาร์เก็ต ยูดีทาวน์อุดรธานี

เธอว่า ในช่วงฤดูหนาวผักล้นตลาด ผักจะปลูกกันเยอะ ดังนั้น หน้าหนาว จะเน้นทดลองพืชตัวใหม่ และไม่ปลูกเยอะ แต่ออกทัวร์ไปฟาร์มเพื่อนๆ ในโครงการ Young Smart Farmer ทั่วไป เพื่อหาเพื่อนคอเดียวกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่าย เกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อต่อยอดไอเดีย หรือมีแนวคิดในการทำการเกษตรใหม่ๆ  เพิ่มมากขึ้น

คุณกาญจนา พูดถึงแผนธุรกิจในอนาคตว่า อยากทำเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรแบบครบวงจร ถ้าใครอยากทดลองหรือสนใจทำการเกษตร ก็สามารถเดิน (Walk in) เข้ามาทดลองก่อนจะไปลงมือจริง ตั้งแต่การผลิตพืชผักให้ได้มาตรฐาน การแปรรูปที่ได้มาตรฐาน การตลาด โดยมุ่งเน้นไปที่เยาวชน เพื่อให้มีสนามในการลงมือจริง ด้านการเกษตรสมัยใหม่ที่เข้ากับยุคสมัยของคน Gen X และ Gen Z ที่เน้นสะดวกรวดเร็ว

 

นับเป็นเกษตรกรหญิงเก่งอีกคนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และไม่หยุดนิ่งในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

 
 

 

 

ที่มา  : เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ , sentangsedtee

 




ข่าวสารต่างๆของคนปลูกไฮโดร

หนุ่มวัย 29 หันหลังจากงานประจำ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สร้างรายได้เดือนละ 5 หมื่น
จริงหรือไม่? กินผัก "ไฮโดรโปนิกส์" อาจเสี่ยง "มะเร็ง"?
ผักไฮโดรโปนิกส์ สกลนคร รายได้ดี
เก็บ"ผักบุ้งไฮโดรโปนิกส์" ขายวันจ่ายตรุษจีน กำไรงาม
หนุ่มพะเยาหัวใส ปลูกขึ้นฉ่ายไฮโดร รายได้งาม
นักเรียน โรงเรียนบ้านป่าไม้แดง ปลูกผักไฮโดร
ปลูกผักไฮโดร ปลูกผักทานเอง ปลูกผักไร้ดินช่วงCOVID
นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด
ไฮโดรอินทรีย์ ใครว่าทำไม่ได้
เล่าประสบการณ์มนุษย์เงินเดือน ปลูกผักข้างบ้าน มีพื้นที่จำกัด ขายดีจนปลูกไม่ทัน
ผักสลัดอันตรายจริงหรือ ปุ๋ยเอบีอันตราจริงไหม?
คำแนะนำ 10 ข้อ สำหรับคนที่คิดริเริ่มจะทำสวนครั้งแรก
ง่าย ลงทุนน้อย แปลงผักซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ลูกค้าเข้ามาเก็บผักเอง
ผักไร้ดิน : ตอบโจทย์การขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษา
"ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ให้โตเร็วด้วยหลอดไฟ LED
แบ่งสวนมะพร้าวทำสวนผัก จนเป็น “รายได้หลักรับ 1.5 - 2 แสนบาทต่อเดือน”
พื้นที่น้อย ใช้แรงงานน้อย สร้างรายได้เดือนละ 30,000
อดีตตากล้องหลงใหลเกษตร เนรมิตเนื้อที่ 100 ตร.ว. ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
การทำสวนแบบ Hydroponics ในอนาคต
โรงงานปลูกผัก.. อนาคตใหม่แห่งวงการเกษตร
LED Plant Factory เทรนด์ใหม่การเกษตร
ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง ขายช่วงวันหยุด สร้างรายได้งาม
ปลูกผักขาย นำรายได้เป็นทุนศึกษา 'น้องโต' เมืองคอน
เด็กๆ โรงเรียนบ้านคลองแขยง เพาะต้นอ่อนทานตะวันสร้างรายได้
เทคนิคการเพาะเมล็ดผัก | ให้งอกเร็วสุดใน1วัน สามารถใช้ได้กับเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิด!!
เกษตรกรห้ามพลาด!! เผยวิธีทำ "โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ราคาประหยัด
ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน แบบคอนโดฯไว้ข้างบ้าน
วิธีส่งผัก-ผลไม้ ไปขายในห้างสรรพสินค้า
มาตรฐานและการขอใบรับรองผักปลอดสาร
แนะนำ! 3 อาชีพเกษตร ที่เหมาะกับคนพิการ สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน
การทำรางปลูกผักไฮโดรเองที่บ้าน
เปิดเวทีถกสารตกค้างใน“ผักไฮโดรฯ” มั่นใจค่า“ไนเตรท”เทียบมาตรฐานอียู
จากคนไม่มีความรู้กลับรวย "ด้วยเกษตร"
ม.อ. จัดการปัญหา โรครากเน่า สำหรับการปลูกผัก ไฮโดรโปนิกส์ สำเร็จ
รมว.วิทย์ เยี่ยมชม "โรงงานผลิตพืช" ที่ญี่ปุ่น
วัย 25 กำเงิน 2,000 บาท ปลูกผักสลัด สร้างสรรค์เมนูเพื่อสุขภาพตื่นตาตื่นใจ บุกตลาดคนเมือง ทะยานสู่รายได้เดือนละล้าน
แชร์ประสบการณ์ขายผักตลาดสี่มุมเมือง
‘พาณิชย์’จีบเว็บไซต์ขายสินค้าระดับโลก อาลีบาบา, เจดี.คอม ดันสินค้าเกษตรไทยไปขายบนเว็บ
ดาราหนุ่มปั้นจั่น ปรมะ กับธุรกิจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
" พื้นที่ 3 งาน" ก็ปลูกไฮโดรได้
นำชุมชนปลูกผักปลอดสารไร้ดิน..ด้วยวัสดุรีไซเคิล
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 1 งาน สร้างรายได้เกือบ 2.5 หมื่น ต่อเดือน
"ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์" ผักอนคตไกล.. คนยังนิยม
พื้นที่ไม่ใช่ปัญหา 50 ตรม.ปลูกเมล่อนบดาดฟ้า
ผักไฮโดรโปนิกส์และแปลงปลอดสารฝีมือเด็กเก่งโรงเรียนบ้านวนาหลวง
ครอบครัวไทลื้อสู้ชีวิต ทิ้งงานลูกจ้างกลับบ้านเกิดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แห่งแรกของตำบล
ไม่ง้อสวนใหญ่เปลี่ยนทาวเฮาส์เป็นสวนเมล่อนไฮโดร
หลังจากไม่ประสบความสำเร็จจากการทำงานต่างประเทศ ม่ายสาวหันมาปลูกคื่นฉ่ายไฮโดรเป็นอาชีพ
ส่องความสำเร็จโรงเรียนห่างไกล ที่มีความมั่นคงทางอาหารที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
สวนผักคอนโด เกษตรกรรมของคนเมือง
พลิกวิกฤติ! เกษตรกรหันปลูกผักปลอดสารพิษ สร้างรายได้ต่อเดือนกว่าหมื่น
ฟาร์มขนาดย่อมในซูเปอร์มาร์เก็ต
เกษตรกรภาคใต้ ไอเดียเฉียบ ปลูก “ขึ้นฉ่ายไฮโดรฯ” ส่งเทสโก้ โลตัส
เคล็ดลับในการทำการเกษตรให้สำเร็จ
ปลูกผักขายดีกว่า!!ไม่สนงานออฟฟิศ ปลูกผักไฮโดรฯ เป็นนายตัวเอง รายรับ3 หมื่น/เดือน
รางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ทำเองง่ายนิดเดียว
ปลูกแตงกวาญี่ปุ่น “ไร้ดิน” ในกระสอบ รายได้งาม
พลิกชีวิต!! โชเฟอร์ขับตุ๊กตุ๊กเมืองสงขลาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จนประสบความสำเร็จ