H2O Hydro Garden
ที่อยู่: เลขที่ 8 ซอย นาคนิวาส 53 ลาดพร้าว 71 แขวง ลาดพร้าว กทม. 10230
เบอร์โทร: 02 932 9200 มือถือ: 086 500 9698, 084 106 6831
.jpg)
.jpg)
.png)
ไฮโดรอินทรีย์ ใครว่าทำไม่ได้ วันนี้มาด้วยเรื่องที่ทุกคนอยากรู้กันอย่างมากนะคะ นั่นก็คือ “ไฮโดรออแกนิกส์”นั่นเอง สำหรับใครที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับการปลูกพืชแบบไฮโดรออแกนิกส์นะคะ วันนี้ H2O Hydro Garden จะมาอธิบายให้ฟังกัน ถึงขั้นตอนการปลูกไฮโดรออแกนิกส์ของทางมหาลัยแม่โจ้ และข้อจำกัดของการปลูกพืชแบบไฮโดรออแกนิกส์กันค่ะ สำหรับการปลูกผักไฮโดรแบบออแกนิกส์นั้น คือการปลูกผักแบบไม่ใช้ดินแบบไฮโดรโปนิกส์ทั่วไป ต่างกันตรงที่สารละลายABที่ปกติใช้กันจะเปลี่ยนมาเป็นปุ๋ยแบบอินทรีย์แทนค่ะ โดยการปลูกแบบใช้ปุ๋ยออแกนิกส์แทนปุ๋ยเคมีนั้นย่อมมีความยากและความท้าทายมากกว่าการปลูกพืชแบบไฮโดรโดยปกติอยู่แล้ว นอกจากนั้นยังใช้เวลาในการปลูกผักนานกว่าอีกด้วย การปลูกแบบนี้อาจจะยังไม่คุ้มค่าเท่ากับการปลูกโดยใช้ปุ๋ยเอบีนั่นเอง แต่หากใครที่สนใจปลูกโดยไว้รับประทานเองในครัวเรือนนั้น แอ๊ดมินว่าน่าลองทำค่ะ การปลูกผักไฮโดรออแกนิกส์นั้นจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มาแทนปุ๋ยAB ทั้งหมดรวม 3 อย่าง คือ A=ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำมาจากน้ำปลานึ่ง B= ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำมาจากพืชใบเขียว C=ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำมาจากมูลไส้เดือน โดยสัดส่วนการผสมในการปลูกคือ 3:1:1 โดยมีวิธีการดูแลผักตามขั้นตอนด้านล่างนี้ค่ะ
สำหรับข้อจำกัดของการปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์แบบอินทรีย์นั้น มีหลายประเด็น หลักๆคือความยากของการดูแลสารอินทรีย์ให้มีความเหมาะสม เนื่องจากมีจุลินทรีย์ที่หลากหลาย ทำให้เกิดโรครากเน่าง่าย ส่งผลให้เป็นโรครากเน่าตามมา ดังนั้นต้นผักจึงต้องการการดูแลเป็นพิเศษช่วง 3-4 อาทิตย์แรกนั่นเอง อีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือ จุลินทรีย์แย่งอากาศในน้ำของพืช เป็นสาเหตุว่าทำไมจึงแนะนำให้ลดระดับน้ำ ช่วงอาทิตย์หลังๆ (ระบบDRFT) เพื่อช่วยให้พืชสามารถสร้างรากอากาศได้นั่นเอง ข้อจำกัดสุดท้ายที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า การปลูกด้วยระบบนี้ใช้เวลานานกว่าการปลูกไฮโดรทั่วไป โดยการปลูกโดยใช้ปุ๋ยเอบีปกติจะใช้เวลาประมาณ 49 วันในการเก็บเกี่ยว แต่สำหรับการปลูกด้วยสารอินทรีย์แล้ว จะใช้เวลาถึง 56วัน นั่นเอง ดังนั้น หากต้องการทำเป็นธุรกิจจึงอาจจะต้องคำนึงถึงจุดนี้เช่นกัน |