ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


ผักสลัดอันตรายจริงหรือ ปุ๋ยเอบีอันตราจริงไหม?

อันตราผักสลัด ผักไฮโดร สารพิษ สารตกค้างผักสลัด การปลูกไฮโดรโปนิกส์

Q1:ปุ๋ย A B คืออะไร? อันตรายไหมค่ะ?

A1: ธาตุอาหาร A B (หรือ สาร A B) คือ ปุ๋ยกลุ่มA และกลุ่มB ที่เราใช้ในการปลูกผักไฮโดรฯ ที่ต้องแบ่งเป็นกลุ่ม A และ B ก็เพื่อไม่ให้นำมาผสมกันตอนที่เข้มข้นเพราะจะตกตะกอนทำให้สิ้นเปลือง ตอนใช้ปลูกจะเติมน้ำให้เจือจาง 1ต่อ200 คือปุ๋ย A, B=อย่างละ5 cc.เติมน้ำลงไป=1,000 cc.

ปุ๋ย A และ B เป็นปุ๋ยเคมีครับ ซึ่งทำขึ้นโดยนำแร่ธาตุ/วัตถุดิบที่อยู่ในดินมา แยก, ผสม และทำปฏิกริยากันให้มีสูตรเคมืเหมือนกับปุ๋ยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น แคลเซียมไนเตรต (ที่เราเรียกว่าปุ๋ย N ซึ่งบางท่านอาจจะพอจำได้ว่าปมที่รากถั่วสามารถสร้างไนเตรตได้เหมือนกัน หรือพูดอีกแบบก็คือมนุษย์สร้างโรงงานทำปุ๋ยเรียนแบบการสร้างปุ๋ยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั่นเอง)

ปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็น"สารประกอบ"ที่มีสูตรเคมีเหมือนกัน เช่น แคลเซียมไนเตรต คือ Ca(NO3)2 เวลาที่พืชดูดปุ๋ยไปใช้จะดูดในระดับไอออน กล่าวคือเมื่อปุ๋ยละลายในน้ำ จะแตกตัวเป็นไอออน Ca++ และไอออนNO3 - - พืชก็จะดูด(โดยวิธีออสโมซีส) ตามจำนวนเท่าที่ต้องการเท่านั้น ที่เหลือก็จะทิ้งไว้ในน้ำ

ปุ๋ยเคมีจึงไม่ได้มีอันตรายใดๆ

ปุ๋ยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ดีกว่าตรงที่เกษตรกรผลิตได้เองที่ในไร่นา ไม่ต้องเสียค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า กำไร ฯลฯ ผลิตออกมายิ่งแยะยิ่งดี

ปุ๋ยจากธรรมชาติมีปริมาณไม่เพียงพอ(กับความต้องปุ๋ยทั้งโลก บางตัวมีมากไป/น้อยไป ดังนั้นถ้าไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลยจะไม่พอเลี้ยงชาวโลกครับ) การใช้ปุ๋ยอินทรีย์กำหนดสูตรปุ๋ยและปริมาณการใช้ปุ๋ยได้ไม่แม่นยำการใช้ถ้าต้องการผลผลิตสูงจึงมักจะต้องเผื่อๆไว้ทำให้สิ้นเปลือง

สะสารในโลกนี้ทั้งหมดมี 
1."ธาตุ" เช่น Oxygen-O2, ทองแดง-Cu, คลอรีน-Cl
2."กรด/ด่าง" เช่น กรดเกลือ-HCl, กรดกำมะถัน-H2SO4
3."สารประกอบ" เช่น แคลเซียมไนเตรต-Ca(NO3)2, โมโนโปรแตสเซียมฟอสเฟส-KH2PO4

สะสารแต่ละตัวมีสูตรเคมี/ส่วนประกอบแน่นอนคงที่ ดังนั้นปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์จึงเหมือนกันเป๊ะ 100% ต่างกันตรงที่มาเท่านั้น

Q2: แล้วพวกเรากลัวอะไรกันอยู่ค่ะ?

A2: สารเคมีที่น่ากลัว คือ สารเคมีที่ใช้กำจัดแมลง และ โรคพืช (สารเคมีกำจัดศัตรูพืช) ตัวนี้อันตรายเพราะสร้างมาเพื่อ"กำจัด" คนทั่วไปเข้าใจสับสน ปนเปกัน

ที่คนกลัวอีกตัวหนึ่งคือ การตกค้างของไนเตรต(ทั้งที่มาจากอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีเหมือนกัน) คือเมื่อพืชดูดไนเตรตเข้าไปแล้วยังไม่เกิดการสังเคราะห์แสง (เพื่อเปลี่ยนให้เป็นธาติอาหารที่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เช่น คาร์โบไดรต โปรตีน ฯลฯ) จะเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งสาเหตุมาจาก:
1.ไม่มีแสงในการสังเคราะห์แสง แต่จากข้อมูลการสำรวจในไทยพบน้อยและตกค้างเกินมาตรฐานความปลอดภัยมีน้อยมากเพราะบ้านเรามีแสงมาก
2.ใส่ปุ๋ยไนเตรตมากไป การใส่ปุ๋ยในผักไฮโดรฯ มีการควบคุมทั้งสูตรปุ๋ยและความเข้มข้นของปุ๋ย(ด้วยการวัดค่าและคำนวณ) และตอนที่พืชผักได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการผู้ปลูกจะงดการเติมปุ๋ยเพื่อประหยัด นอกจากนั้นผักไฮโดรฯขายทั้งรากหากผู้บริโภคไม่มั่นใจก็สามารถแช่น้ำเอาไว้ริมหน้าต่าง 1วันก่อนบริโภคได้ ก็สบายใจดีครับ

พืชผักที่ปลูกบนดิน(ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์เหมือนกัน) การใส่ปุ่ย(ไม่สามารถกำหนดสูตรปุ๋ยโดยละเอียดและไม่สามารถวัดความเข้มข้นว่าตรงตามความต้องการของพืชผักหรือไม่) ใช้วิธีหว่านซึ่งตรงกับรากฝอยบ้างไม่ตรงบ้าง ฝนตกก็ชะล้างไปตามน้ำ ทำให้สิ้นเปลือง ถ้าใช้มากเพื่อเผื่อที่ศูนย์เสียไว้ บางต้นอาจจะโดนปุ๋ยจังๆมีโอกาสตกค้างได้มากกว่า

Q3 : แล้วเราจะรอดพ้นจากสารเคมีอันตรายที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชได้อย่างไร?

A3: ดีที่สุดคือต้องปลูกผักทานเอง จึงจะได้ผล100% ครับ

วิธีที่ปลอดภัยถัดมาก็คือซื้อผักไฮโดรฯที่แหล่งที่น่าเชื่อถือมารับประทาน ทั้งนี้เพราะระบบไฮโดรฯใช้ความสะอาดในการกำจัดและการตัดตอนการสะสมของโรคและแมลงได้มากกว่าระบบปลูกอื่นๆทั้งหมด เช่น ไม่มีดินให้แมลง/หนอน/ดักแด้และโรคสะสม/ซ่อนตัว; ไม่มีสารเคมีที่ฉีดไว้ในรอบปลูกก่อนๆสะสมตกค้างในดิน

ถัดไปก็คือการซื้อผักปลอดสารจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ

การเรียนรู้วิธีล้างผักอย่างถูกต้อง และทำจริงจังก็สำคัญเพราะลดปริมาณสารเคมีอันตรายได้มาก

ผักทานสด(ที่มีประโยชน์มากกว่า) ต้องล้างและให้สนใจปลูกและแหล่งที่มามากเป็นพิเศษ เพราะไม่มีความร้อนช่วยในการกำจัดหรือลดความอันตรายของสารเคมี




ข่าวสารต่างๆของคนปลูกไฮโดร

หนุ่มวัย 29 หันหลังจากงานประจำ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สร้างรายได้เดือนละ 5 หมื่น
จริงหรือไม่? กินผัก "ไฮโดรโปนิกส์" อาจเสี่ยง "มะเร็ง"?
ผักไฮโดรโปนิกส์ สกลนคร รายได้ดี
เก็บ"ผักบุ้งไฮโดรโปนิกส์" ขายวันจ่ายตรุษจีน กำไรงาม
หนุ่มพะเยาหัวใส ปลูกขึ้นฉ่ายไฮโดร รายได้งาม
นักเรียน โรงเรียนบ้านป่าไม้แดง ปลูกผักไฮโดร
ปลูกผักไฮโดร ปลูกผักทานเอง ปลูกผักไร้ดินช่วงCOVID
นักวิจัย สกสว. พัฒนาสูตรสำเร็จจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุด
ไฮโดรอินทรีย์ ใครว่าทำไม่ได้
เล่าประสบการณ์มนุษย์เงินเดือน ปลูกผักข้างบ้าน มีพื้นที่จำกัด ขายดีจนปลูกไม่ทัน
คำแนะนำ 10 ข้อ สำหรับคนที่คิดริเริ่มจะทำสวนครั้งแรก
ง่าย ลงทุนน้อย แปลงผักซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ลูกค้าเข้ามาเก็บผักเอง
ผักไร้ดิน : ตอบโจทย์การขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพการศึกษา
"ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ให้โตเร็วด้วยหลอดไฟ LED
แบ่งสวนมะพร้าวทำสวนผัก จนเป็น “รายได้หลักรับ 1.5 - 2 แสนบาทต่อเดือน”
พื้นที่น้อย ใช้แรงงานน้อย สร้างรายได้เดือนละ 30,000
อดีตตากล้องหลงใหลเกษตร เนรมิตเนื้อที่ 100 ตร.ว. ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
แปรรูปผลผลิตเพิ่มมูลค่า ผักสลัดไร้ดิน ผักปลอดสารพิษ
การทำสวนแบบ Hydroponics ในอนาคต
โรงงานปลูกผัก.. อนาคตใหม่แห่งวงการเกษตร
LED Plant Factory เทรนด์ใหม่การเกษตร
ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง ขายช่วงวันหยุด สร้างรายได้งาม
ปลูกผักขาย นำรายได้เป็นทุนศึกษา 'น้องโต' เมืองคอน
เด็กๆ โรงเรียนบ้านคลองแขยง เพาะต้นอ่อนทานตะวันสร้างรายได้
เทคนิคการเพาะเมล็ดผัก | ให้งอกเร็วสุดใน1วัน สามารถใช้ได้กับเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิด!!
เกษตรกรห้ามพลาด!! เผยวิธีทำ "โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์" ราคาประหยัด
ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน แบบคอนโดฯไว้ข้างบ้าน
วิธีส่งผัก-ผลไม้ ไปขายในห้างสรรพสินค้า
มาตรฐานและการขอใบรับรองผักปลอดสาร
แนะนำ! 3 อาชีพเกษตร ที่เหมาะกับคนพิการ สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน
การทำรางปลูกผักไฮโดรเองที่บ้าน
เปิดเวทีถกสารตกค้างใน“ผักไฮโดรฯ” มั่นใจค่า“ไนเตรท”เทียบมาตรฐานอียู
จากคนไม่มีความรู้กลับรวย "ด้วยเกษตร"
ม.อ. จัดการปัญหา โรครากเน่า สำหรับการปลูกผัก ไฮโดรโปนิกส์ สำเร็จ
รมว.วิทย์ เยี่ยมชม "โรงงานผลิตพืช" ที่ญี่ปุ่น
วัย 25 กำเงิน 2,000 บาท ปลูกผักสลัด สร้างสรรค์เมนูเพื่อสุขภาพตื่นตาตื่นใจ บุกตลาดคนเมือง ทะยานสู่รายได้เดือนละล้าน
แชร์ประสบการณ์ขายผักตลาดสี่มุมเมือง
‘พาณิชย์’จีบเว็บไซต์ขายสินค้าระดับโลก อาลีบาบา, เจดี.คอม ดันสินค้าเกษตรไทยไปขายบนเว็บ
ดาราหนุ่มปั้นจั่น ปรมะ กับธุรกิจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
" พื้นที่ 3 งาน" ก็ปลูกไฮโดรได้
นำชุมชนปลูกผักปลอดสารไร้ดิน..ด้วยวัสดุรีไซเคิล
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 1 งาน สร้างรายได้เกือบ 2.5 หมื่น ต่อเดือน
"ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์" ผักอนคตไกล.. คนยังนิยม
พื้นที่ไม่ใช่ปัญหา 50 ตรม.ปลูกเมล่อนบดาดฟ้า
ผักไฮโดรโปนิกส์และแปลงปลอดสารฝีมือเด็กเก่งโรงเรียนบ้านวนาหลวง
ครอบครัวไทลื้อสู้ชีวิต ทิ้งงานลูกจ้างกลับบ้านเกิดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แห่งแรกของตำบล
ไม่ง้อสวนใหญ่เปลี่ยนทาวเฮาส์เป็นสวนเมล่อนไฮโดร
หลังจากไม่ประสบความสำเร็จจากการทำงานต่างประเทศ ม่ายสาวหันมาปลูกคื่นฉ่ายไฮโดรเป็นอาชีพ
ส่องความสำเร็จโรงเรียนห่างไกล ที่มีความมั่นคงทางอาหารที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
สวนผักคอนโด เกษตรกรรมของคนเมือง
พลิกวิกฤติ! เกษตรกรหันปลูกผักปลอดสารพิษ สร้างรายได้ต่อเดือนกว่าหมื่น
ฟาร์มขนาดย่อมในซูเปอร์มาร์เก็ต
เกษตรกรภาคใต้ ไอเดียเฉียบ ปลูก “ขึ้นฉ่ายไฮโดรฯ” ส่งเทสโก้ โลตัส
เคล็ดลับในการทำการเกษตรให้สำเร็จ
ปลูกผักขายดีกว่า!!ไม่สนงานออฟฟิศ ปลูกผักไฮโดรฯ เป็นนายตัวเอง รายรับ3 หมื่น/เดือน
รางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ทำเองง่ายนิดเดียว
ปลูกแตงกวาญี่ปุ่น “ไร้ดิน” ในกระสอบ รายได้งาม
พลิกชีวิต!! โชเฟอร์ขับตุ๊กตุ๊กเมืองสงขลาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จนประสบความสำเร็จ