ปัจจัยที่มีผลต่ออายุของเมล็ดพันธุ์
ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


ปัจจัยที่มีผลต่ออายุของเมล็ดพันธุ์

 ปัจจัยที่มีผลต่ออายุของเมล็ดพันธุ์

เมล็ดพันธุ์ที่เราซื้อมาจากท้องตลาด แต่ละยี่ห้อจะมีอัตราการงอก และอายุการเก็บแตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง เคยสงสัยไหมค่ะว่าเป็นเพราะอะไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และเราควรเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างไร ให้เมล็ดสามารถคงความงอกและความแข็งแรงไว้ได้นานๆค่ะ


อายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง
การจะเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ได้นานหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการด้วยกัน เช่น
1. ชนิดของพืช เมล็ดพันธุ์พืชบางชนิดเก็บได้นาน แต่บางชนิดเก็บได้ยาก หรืออายุการเก็บรักษาสั้นโดยธรรมชาติ เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าว เก็บรักษาได้ง่ายกว่าเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง เป็นต้น
2. พันธุ์ เมล็ดพันธุ์พืชบางพันธุ์ เก็บรักษาได้ยากกว่าพันธุ์อื่น แม้ว่าจะเป็นชนิดเดียวกัน เช่นเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 เก็บรักษาได้ยากกว่าพันธุ์ สจ.4 เป็นต้น
3. ระดับความเสื่อม เมล็ดพันธุ์ที่เสื่อมคุณภาพด้วยสาเหตุต่างๆ เช่นเก็บเกี่ยวล่าช้า ถูกฝน หรือได้รับความกระทบกระเทือนจากการเก็บเกี่ยว หรือนวด จะเก็บรักษาได้ยากกว่า เมล็ดพันธุ์ชนิดเดียวกันที่ยังสมบูรณ์แข็งแรง
4. ความชื้นเมล็ด เมล็ดพันธุ์ที่มีความชื้นต่ำจะเก็บรักษาได้นานกว่าเมล็ดพันธุ์ชนิดเดียวกัน และคุณภาพระดับเดียวกันที่มีความชื้นสูงกว่า
5. ความชื้นสัมพันธ์ของอากาศในโรงเก็บหรือของบรรยากาศรอบๆเมล็ด ถ้าความชื้นสัมพันธ์ต่ำ ก็สามารถเก็บรักษาเมล็พันธุ์ได้นานกว่าสภาพที่มีความชื้นสัมพันธ์สูง
6. อุณหภูมิของอากาศในโรงเก็บ หรือของบรรยากาศรอบๆเมล็ด หากอุณหภูมิต่ำ ก็จะเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ได้นาน


การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ให้คงความงอกและความแข็งแรงนานๆได้อย่างไร
Harrington (1959) กล่าวว่า การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ให้คงความงอกและความแข็งแรงให้ได้นาน อาจทำได้ดังนี้คือ
1. เก็บรักษาในเขตที่มีอากาศแห้ง หรือมีความชื้นสัมพันธ์ต่ำ
2. เก็บในโรงเก็บที่ควบคุมอุณหภูมิให้ต่ำอยู่เสมอได้
3. เก็บในโรงเก็บที่ควบคุมความชื้นสัมพันธ์ให้ต่ำได้
4. เก็บรักษาโดยการบรรจุในภาชนะที่ปิดได้สนิท และสามารถป้องกันการรั่วไหลของอากาศได้
จะเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในถุงพลาสติกหรือถุงผ้าดี
การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในถุงพลาสติก หรือภาชนะอื่นใดที่กันความชื้นได้ กับการเก็บรักษาในถุงผ้าหรือภาชนะที่เปิดหรือกันความชื้นไม่ได้ มีข้อเสียและเงื่อนไขที่ต่างกัน กล่าวคือ หากเมล็ดพันธุ์ที่จะเก็บรักษานั้นมีความชื้นต่ำมากๆ การเก็บรักษาในภาชนะปิดสนิท เช่น ขวด กระป๋อง หรือถุงพลาสติกที่ปิดสนิท จะทำให้เก็บรักษาได้นาน เพราะความชื้นของเมล็ดพันธุ์จะไม่สูงขึ้น หรือไม่เปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของอากาศ แต่จะยังคงมีความชื้นต่ำตลอดไป ซึ่งทำให้เมล็ดพันธุ์ตายช้า แต่ถ้าเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวมีความชื้นสูง สภาพที่ปิดสนิท จะไม่เปิดโอกาสให้ความชื้นระบายออกจากเมล็ดพันธุ์ ทำให้เมล็ดพันธุ์มีความชื้นสูงตลอดเวลา ซึ่งทำให้เมล็ดพันธุ์ตายภายในเวลาอันรวดเร็ว


จะเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในตู้เย็นได้หรือไม่อย่างไร
ถ้าไม่คิดถึงความคุ้มทุน การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในตู้เย็นย่อมกระทำได้ในกรณีที่ต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์จำนวนน้อยๆ หรือเมล็ดพันธุ์ที่มีมูลค่าสูง บางครั้งก็อาจจะเป็นการสมควร แต่เนื่องจากในตู้เย็นมีความชื้นสัมพัทธ์สูง เมล็ดพันธุ์ก็จะดูดความชื้น และมีความชื้นสูงตามไปด้วย เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวออกจากตู้เย็น จะเกิดการเสื่อมอย่างรวดเร็ว ( Matthes et al., 1969 ) ดังนั้น ก่อนนำเมล็ดพันธุ์เข้าเก็บในตู้เย็น ควรบรรจุในหีบห่อ หรือภาชนะที่กันความชื้นได้ เมล็ดพันธุ์จะได้ไม่มีความชื้นสูงขึ้น และเมื่อนำหีบห่อเมล็ดพันธุ์ออกจากตู้เย็น ก็ต้องทิ้งไว้ระยะหนึ่งก่อนจะเปิดฝา คือรอจนกว่าอุณหภูมิเมล็ดพันธุ์สูงขึ้นจนเท่ากับอากาศภายนอกเสียก่อน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ไอน้ำไปจับที่ผิวเมล็ดพันธุ์ อันจะทำให้เมล็ดพันธุ์เสื่อมอย่างรวดเร็ว

ที่มา : หนังสือ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์” โดย ดร.ประนอม ศรัยสวัสดิ์

 




ความรู้เบื้องต้นผักไฮโดร

ก่อนเริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องรู้จักระบบน้ำกันก่อน
ปลูกกัญชากัญชงแบบไฮโดรโปนิกส์
ปลูกผักกินเองง่ายๆแบบคนขี้เกียจ
The Kratky Method คืออะไร?
3 ระบบไฮโดรยอดนิยม
การทำลายพืชที่เป็นโรคใบจุดอย่างถูกวิธี
แหล่งน้ำที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักระบบไฮโดโปนิกส์
เครื่องมือวัดแสง Lux meter
การปลูกผักเคล ราคาดี ไม่ยากอย่างที่คิด
ค่าecและค่าpH ในการปลูกผักแต่ละชนิด
อาการพืชใบเหลือง เกิดจากอะไร แก้ยังไง
การเลือกปั๊มน้ำสำหรับรางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ให้เหมาะสม
เกร็ดความรู้... เกี่ยวกับสารละลายธาตุอาหารปุ๋ยเอบี
เคล็ดลับการปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งที่คนไม่ค่อยรู้
เคยสงสัยไหมว่าผักไฮโดรเติบโตได้อย่างไร เมื่อไม่มีดิน?
ปัญหาเรื่องระบบน้ำที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
งานวิจัยเรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
การเปรียบเทียบระหว่างการวัดค่าpH ด้วย pH meter เทียบกับ การวัดด้วย drop test
ความรู้เรื่องการปลูกผักด้วยหลอด LED
ความแตกต่างระหว่างการปลูกแบบน้ำนิ่ง กับ การปลูกแบบน้ำวน
ราชินีของผักทั้งมวลผักเคล (kale)
เคล็ดลับในการเลือกซื้อปุ๋ยเอบี!!!
จุดแข็งของการปลูกพืชด้วยระบบHydroponics
ก่อนปลูกผักสลัดขายต้องรู้อะไรบ้าง?
ปลูกขึ้นฉ่ายน้ำนิ่ง
ครบเครื่องเรื่องปุ๋ยแบบชาวบ้าน
น้ำหมักชีวภาพสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช
การปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งแบบง่ายๆเองที่บ้าน
เทคนิคการเพาะเมล็ดในเพอร์ไลท์และเวอร์มิคูไลท์
การใช้กับดักกาวเหนียวในฟาร์มผักไฮโดรของเรา
โรคที่เกิดกับต้นอ่อนหรือกล้าผัก
มาทำความรู้จักผักสลัดของเรากันดีกว่า
การทำงานของรากพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
อาการขาดธาตุอาหารและลักษณะอาการเป็นพิษ
เชื้อ Pythium…….สาเหตุสำคัญของโรคที่เกิดกับราก
ช่องทางการขายผักสลัด
วิธีการล้างและเก็บผักสลัดให้อยู่ได้นานๆ
วิธีการปลูกผักร็อกเก็ต
แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์วิธีการป้องกันและกำจัด
ขั้นตอนการกำจัดแมลงเพื่อลดปัญหาแมลงและศัตรูพืชของผักไฮโดรโปนิกส์
โปรแกรม NutriCal article
โรคใบจุดผักไฮโดร
​เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนคิดจะปลูกผักสลัดขาย
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดร
การปลูกผักกาดขาวแบบไม่ง้อปั๊มทานเองในครอบครัว
สูตรอาหารพืช ปุ๋ยA+B
การปลูกผักบุ้งระบบไฮโดรแบบน้ำนิ่ง
ระบบการปลูกผักโดยไม่ใช่ดินในแบบต่างๆ
ทำความรู้จักผักสลัดไฮโดรโปนิกส์
ประวัติความเป็นมาไฮโดรโปนิกส์
ความรู้ทั่วไปของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ article
เทศกาลกระเช้าผักเริ่มขึ้นแล้ว
กัญชงคืออะไร?
กัญชง V.S. กัญชา ต่างกันอย่างไร
9 ผักสวนครัวที่แนะนำให้ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์
สิ่งที่ต้องดูแลและควบคุมเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
ต้องดูแลควบคุมอะไรบ้างเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
เรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
ผักไฮโดรโปนิกส์ ทำให้เกิดมะเร็ง...จริงหรือ
ปัญหาที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ประโยชน์ของผักไฮโดรโปนิกส์
เปรียบเทียบการปลูกด้วยเพอร์ไลท์และฟองน้ำ
โรคพืชต่างๆในระบบไฮโดรโปนิกส์และการป้องกัน
วิธีการปลูกผัก watercress แบบง่ายๆ
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อหารายได้เสริม
การควบคุมโรคผักโดยชีววิธี-ในการปลูกผักไฮโดรฯไร้สาร