สิ่งที่ต้องดูแลและควบคุมเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


สิ่งที่ต้องดูแลและควบคุมเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ

 

สิ่งที่ต้องควบคุมระหว่างการปลูก

การจัดการธาตุอาหารพืช จะมีสิ่งที่ต้องคอยดูแลและควบคุมดังนี้

 

1. ค่า EC ของสารละลาย เป็นค่าบอกความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ในการปลูกในระบบ Hydroponics
ค่าจะอยู่ในช่วง 1 – 4 Ms/cm  ขึ้นอยู่กับ ชนิดพืช  ช่วงอายุการเจริญของพืช  สภาพภูมิอากาศ คือ อุณหภูมิ
ความเข้มแสง ฯลฯ
2. ค่า pH เป็นค่าบอกความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย  โดยทั่วไป จะควบคุมให้อยู่ในช่วง  5.5-6.5  ซึ่งจะเป็นช่วงที่ธาตุอาหารในสารละลายอยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
 
 
 
3. ปริมาณธาตุอาหารในสารละลาย  ซึ่งสารละลายธาตุอาหารพืชจะต้องมีครบทั้ง 12 ตัว คือ  N, P, K, Ca, Mg, S, Zn, Mo, B, Fe, Mn, Cu  ยกเว้น Cl ซึ่งถึงแม้จะเป็นธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช  แต่ Cl มักจะมีเจือปนอยู่ในสารละลายธาตุอาหารของพืชในปริมาณที่เพียงพออยู่แล้ว  โดยจะปนมากับน้ำ หรือปุ๋ยที่ใช้เตรียมสารละลาย  ดังนั้น ในการคำนวณเพื่อเตรียมสารละลายฯ  จะไม่มีการใส่ Cl  นอกจากในสารละลายจะต้องมีธาตุต่างๆครบ  ธาตุเหล่านี้ต้องควบคุมให้อยู่ในอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชตลอดการปลูก

4. อุณหภูมิ และปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในสารละลาย  โดยอุณหภูมิและปริมาณออกซิเจน จะมีความสัมพันธ์แบบผกผันกัน  คือ  เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ปริมาณการละลายตัวของออกซิเจนจะลดลง  ดังนั้น ในเขตร้อนแถบบ้านเรา อุณหภูมิสารละลายในระบบ NFT อาจจะสูงขึ้นถึง 35 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้การละลายตัวของออกซิเจนสูงสุดได้เพียง  6.8  mg/l  ดังนั้น ปริมาณออกซิเจนในสารละลาย เป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งในการปลูกพืชระบบ NFT ในเขตร้อน  โดยทั่วไปต้องรักษาระดับออกซิเจนในสารละลายให้สูงกว่า  6  mg/l
 

 
5. ต้องคอยป้องกันโรคพืชในสารละลายธาตุอาหาร ซึ่งเชื้อโรคที่มีปัญหามากและพบบ่อยในการปลูกพืชในระบบ NFT คือ เชื้อ  Pythium ซึ่งเป็นสาเหตุให้รากพืชเน่าเป็นสีน้ำตาล-ดำ  และเป็นโรคที่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงในระบบที่มีการนำสารละลายกลับมาใช้ใหม่  โดยทั่วไปเมื่อโรคนี้ระบาดในสารละลาย  จะเป็นการยากมากในการกำจัด หรือรักษาให้หายได้  ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ การป้องกันโดยการทำความสะอาดระบบปลูกก่อนปลูกทุกครั้ง

6. การกำจัดสารที่รากปล่อยออกสู่สารละลาย  พวกสารอินทรีย์ต่างๆ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่งโดยทั่วไป  จะเอาออกจากบริเวณรากพืชโดยการหมุนเวียนสารละลาย ผ่านรากพืชในอัตราที่เร็วพอ  เพื่อป้องกันการสะสมจนอยู่ในปริมาณที่อาจเป็นพิษต่อพืช

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Cr. kasetloongkim
ที่มา : เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินรุ่น 6  โดย รศ.ดร. อิทธิสุนทร นันทกิจ

 

 

 



ความรู้เบื้องต้นผักไฮโดร

ก่อนเริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องรู้จักระบบน้ำกันก่อน
ปลูกกัญชากัญชงแบบไฮโดรโปนิกส์
ไฮโดรโปนิกส์แบบแนวตั้ง
The Kratky Method คืออะไร?
3 ระบบไฮโดรยอดนิยม
การทำลายพืชที่เป็นโรคใบจุดอย่างถูกวิธี
แหล่งน้ำที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักระบบไฮโดโปนิกส์
เครื่องมือวัดแสง Lux meter
การปลูกผักเคล ราคาดี ไม่ยากอย่างที่คิด
ค่าecและค่าpH ในการปลูกผักแต่ละชนิด
อาการพืชใบเหลือง เกิดจากอะไร แก้ยังไง
การเลือกปั๊มน้ำสำหรับรางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ให้เหมาะสม
เกร็ดความรู้... เกี่ยวกับสารละลายธาตุอาหารปุ๋ยเอบี
เคล็ดลับการปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งที่คนไม่ค่อยรู้
เคยสงสัยไหมว่าผักไฮโดรเติบโตได้อย่างไร เมื่อไม่มีดิน?
ปัญหาเรื่องระบบน้ำที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
งานวิจัยเรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
การเปรียบเทียบระหว่างการวัดค่าpH ด้วย pH meter เทียบกับ การวัดด้วย drop test
ปลูกผักกินเองง่ายๆแบบคนขี้เกียจ
ความรู้เรื่องการปลูกผักด้วยหลอด LED
ความแตกต่างระหว่างการปลูกแบบน้ำนิ่ง กับ การปลูกแบบน้ำวน
ราชินีของผักทั้งมวลผักเคล (kale)
เคล็ดลับในการเลือกซื้อปุ๋ยเอบี!!!
จุดแข็งของการปลูกพืชด้วยระบบHydroponics
ก่อนปลูกผักสลัดขายต้องรู้อะไรบ้าง?
ปลูกขึ้นฉ่ายน้ำนิ่ง
ครบเครื่องเรื่องปุ๋ยแบบชาวบ้าน
น้ำหมักชีวภาพสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช
การปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งแบบง่ายๆเองที่บ้าน
เทคนิคการเพาะเมล็ดในเพอร์ไลท์และเวอร์มิคูไลท์
การใช้กับดักกาวเหนียวในฟาร์มผักไฮโดรของเรา
โรคที่เกิดกับต้นอ่อนหรือกล้าผัก
มาทำความรู้จักผักสลัดของเรากันดีกว่า
ปัจจัยที่มีผลต่ออายุของเมล็ดพันธุ์
การทำงานของรากพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
อาการขาดธาตุอาหารและลักษณะอาการเป็นพิษ
เชื้อ Pythium…….สาเหตุสำคัญของโรคที่เกิดกับราก
ช่องทางการขายผักสลัด
วิธีการล้างและเก็บผักสลัดให้อยู่ได้นานๆ
วิธีการปลูกผักร็อกเก็ต
แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์วิธีการป้องกันและกำจัด
ขั้นตอนการกำจัดแมลงเพื่อลดปัญหาแมลงและศัตรูพืชของผักไฮโดรโปนิกส์
โปรแกรม NutriCal article
โรคใบจุดผักไฮโดร
​เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนคิดจะปลูกผักสลัดขาย
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดร
การปลูกผักกาดขาวแบบไม่ง้อปั๊มทานเองในครอบครัว
สูตรอาหารพืช ปุ๋ยA+B
การปลูกผักบุ้งระบบไฮโดรแบบน้ำนิ่ง
ระบบการปลูกผักโดยไม่ใช่ดินในแบบต่างๆ
ทำความรู้จักผักสลัดไฮโดรโปนิกส์
ประวัติความเป็นมาไฮโดรโปนิกส์
ความรู้ทั่วไปของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ article
ไฮโดรโปนิกส์ปลูกอะไรได้บ้าง
ไฮโดรโปนิกส์น้ำนิ่งคือ?
เทศกาลกระเช้าผักเริ่มขึ้นแล้ว
กัญชงคืออะไร?
กัญชง V.S. กัญชา ต่างกันอย่างไร
9 ผักสวนครัวที่แนะนำให้ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์
ต้องดูแลควบคุมอะไรบ้างเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
เรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
ผักไฮโดรโปนิกส์ ทำให้เกิดมะเร็ง...จริงหรือ
ปัญหาที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ประโยชน์ของผักไฮโดรโปนิกส์
เปรียบเทียบการปลูกด้วยเพอร์ไลท์และฟองน้ำ
โรคพืชต่างๆในระบบไฮโดรโปนิกส์และการป้องกัน
วิธีการปลูกผัก watercress แบบง่ายๆ
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อหารายได้เสริม
การควบคุมโรคผักโดยชีววิธี-ในการปลูกผักไฮโดรฯไร้สาร