แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์วิธีการป้องกันและกำจัด
ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์วิธีการป้องกันและกำจัด

แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์

แมลงกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นสิ่งที่ต้องเจออย่างแน่นอนนะคะ ยิ่งท่านที่ทำระบบเปิด(ไม่กางมุ้ง)แล้วยิ่งต้องดูแลมากเป็นพิเศษเพราะแมลงสามารถขยายพันธุ์ได้เร็วมากถ้าไม่มีการป้องกันและจัดการอย่างถูกวิธี สามารถทำลายผักของเราให้เสียหายเป็นจำนวนมากได้อย่างแน่นอนค่ะ

1. เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฮโดร เพลี้ย ตัวเพลี้ย วิธีป้องกันเพลี้ย วิธีกำจัดเพลี้ย เพลี้ยผักไฮโดร การกำจัดเพลี้ยเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฮโดร เพลี้ย ตัวเพลี้ย วิธีป้องกันเพลี้ย วิธีกำจัดเพลี้ย เพลี้ยผักไฮโดร การกำจัดเพลี้ยเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฮโดร เพลี้ย ตัวเพลี้ย วิธีป้องกันเพลี้ย วิธีกำจัดเพลี้ย เพลี้ยผักไฮโดร การกำจัดเพลี้ย

เป็นแมลงที่มีปากดูดขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายๆไข่ ท้ายลำตัวมีท่อ2ท่อยื่นออกมา ส่วนใหญ่มีสีเขียวอ่อนเกือบขาว เพลี้ยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชตรงแถวใต้ใบหรือยอดอ่อนนะคะ และจะสร้างปีกเพื่อบินไปหาแหล่งอาหารใหม่เมื่อประชากรเพลี้ยเริ่มหนาแน่น การที่เพลี้ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช จะทำให้พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบบิดงอ และมีการขับถ่ายของเหลวเหนียวๆออกมาเปรอะเปื้อนใบผักอีกด้วย จะเห็นเป็นคราบๆสีดำๆ เพลี้ยอ่อนสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มีวงจรชีวิตค่อนข้างสั้น ประมาณ 6-13 วัน และออกลูกได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ค่ะ

การป้องกัน

ใช้สารสะเดาหรือน้ำส้มควันไม้ อัตราส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นต้นผักในแปลง สัปดาห์ละครั้ง 

การกำจัด

1. ใช้สารสะเดา อัตราส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้โดนตัว ความถี่ 2-3 วัน/ครั้ง  

2. ใช้สารที่มีแรงตึงผิวสูง เช่น น้ำยาล้างจาน  ฉีดพ่น อัตราการใช้ 2-3 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร  สามารถใช้กำจัดเพลี้ยอ่อนได้ดี เพราะจะเข้าไปอุดรูหายใจของเพลี้ยอ่อน และตายในที่สุด 

3. ใช้สารชีวภาพ ไบโอไซด์ ฉีดพ่น อัตราการใช้ 20 cc/น้ำ 20 ลิตร


2. แมลงหวี่ขาว

แมลงหวี่ขาว แมลงหวี่ขาว ตัวอ่อน วิธีป้องกัน วิธีกำจัดแมลงหวี่ขาว แมลงหวี่ขาวไฮโดรโปนิกส์ แมลงหวี่ขาวไฮโดรแมลงหวี่ขาว แมลงหวี่ขาว ตัวอ่อน วิธีป้องกัน วิธีกำจัดแมลงหวี่ขาว แมลงหวี่ขาวไฮโดรโปนิกส์ แมลงหวี่ขาวไฮโดรแมลงหวี่ขาว แมลงหวี่ขาว ตัวอ่อน วิธีป้องกัน วิธีกำจัดแมลงหวี่ขาว แมลงหวี่ขาวไฮโดรโปนิกส์ แมลงหวี่ขาวไฮโดร

แมลงหวี่ขาวเป็นแมลงที่มีปากดูดขนาดเล็ก ความยาวของตัวประมาณแค่1 มิลลิเมตรสีขาว ส่วนใหญ่ชอบรวมตัวเป็นกลุ่มอยู่ใต้ใบพืช ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ไข่แมลงหวี่ขาวจะเป็นวงรีใต้ใบ ระยะไข่ 8-9วัน และตัวอ่อน 11-18วัน สามารถวางไข่ได้ประมาณ 100 ฟองต่อครั้งระยะที่เป็นดักแด้ประมาณ 3-11 วัน วงจรชีวิตรวม 27-35วัน

การป้องกัน

1. ใช้สารสะเดาหรือน้ำส้มควันไม้ อัตาส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นต้นผักในแปลง สัปดาห์ละครั้ง  

2. ติดตั้งกับดักกาวเหนียวในแปลงปลูก (แผ่นกาวต้องเป็นสีเหลือง เพราะสีเหลืองดึงดูดแมลงได้ดีกว่าสีอื่นๆ) 

การกำจัด

1. เพิ่มกับดักกาวเหนียวในแปลงเพื่อลดปริมาณแมลงหวี่ขาว

2. ใช้สารชีวภาพ ไบโอไซด์ ฉีดพ่น อัตราการใช้ 20 cc/น้ำ 20 ลิตร

 3. ใช้สารชีวภาพ สารสะกัดใบยาสูบ โทแบคโค หรืออื่นๆ อัตราส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ  ฉีดพ่นในแปลงปลูกให้โดนตัวแมลงหวี่ขาว และให้โดนใต้ใบพืช เพราะแมลงหวี่ขาวจะหลบซ่อนตัวใต้ใบพืช ความถี่ 2-3 วัน/ครั้ง กรณีแมลงระบาดและติดตามผลหากยังพบแมลงหวี่ขาวในปริมาณมากอยู่ให้ทำตามข้อ 4

4. ใช้เชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นเชื้อราที่สามารถใช้กำจัดแมลงได้ คือ เชื้อรา เมตตาไรเซียม  ซึ่งทางการค้ามีหลายยี่ห้อ ลักษณะจะเป็นผงซึ่งเป็นสปอร์ของเชื้อราเมตตาไรเซียม  โดยใช้ผสมน้ำฉีดพ่น อัตราส่วนตามฉลาก ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชและเน้นที่ใต้ใบ เพื่อให้เชื้อโดนตัวและไข่ของแมลงหวี่ขาว การฉีดเชื้อราเมตตาไรเซียมให้ได้ผลดี  ควรฉีดตอนเย็นที่ใม่มีแสงแดดแล้ว เพราะแสงแดดจะทำให้สปอร์ของเชื้อราเมตตาไรเซียมอ่อนแอหากยังพบ แมลงหวี่ขาวในปริมาณมากอยู่ให้ทำตาม ข้อ 5


3. แมลงวันหนอนชอนใบ

แมลงวันหนอนชอนใบ หนอนชอนใบ แมลงหวี่ แมลงวันแมลงหวี่ หนอนชอนใบไฮโดร ไฮโดรโปนิกส์ แมลงผักไฮโดร

เป็นแมลงขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีปีกใส ท้องละขามีสีออกเหลือง การเข้าทำลายของแมลงวันสามารถเข้าทำลายทั้งตัวเต็มวัยและหนอน โดยตัวเต็มวัยจะทำให้เกิดหลุมบนใบผักเพื่อใช่วางไข่ และหนอนจะชอนไชอยู่ในใบพืชเห็นเป็นเส้นคดเคี้ยว ระยะไข่ประมาณ 2-4วัน และเมื่อฟัก หนอนจะเริ่มกินเนื้อเยื่อสีเขียวในใบเห็นเป็นเส้น ตัวหนอนมีสีเหลืองอ่อน หัวแหลมท้ายป้าน ขนาดโตเต็มวัยประมาณ 1-1.8 มิลลิเมตรระยะตอนเป็นหนอนใช้เวลา 7-10 วัน และเมื่อใกล้เป็นดักแด้ มันจะกัดใบออกมาแล้วดีดตัวลงไปเข้าดักแด้ภายในดิน หรือตามใบพืช ระยะดักแด้ประมาณ 5-7วัน และจะเริ่มวางไข่เมื่ออายุ 1-5 วัน วงจรชีวิตทั้งหมดรวม 14-21วันค่ะ

การป้องกัน

1. ติดตั้งกับดักกาวเหนียวในแปลงปลูก (แผ่นกาวต้องเป็นสีเหลือง เพราะสีเหลืองดึงดูดแมลงได้ดีกว่าสีอื่นๆ) 

2. ฉีดพ่นสารสะเดา และ น้ำส้มควันไม้ อัตาส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร สัปดาห์ละครั้ง 

การกำจัด

1. เก็บใบพืชที่ถูกแมลงทำลายไปเผาทิ้ง เพื่อกำจัดดักแด้ของแมลงวันหนอนชอนใบ

2. ใช้สารสะเดาฉีดพ่น อัตราส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ความถี่ 2-3 วัน/ครั้ง กรณีแมลงระบาด


4. เพลี้ยไฟ 

เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟผักไฮโดร การกำจักเพลี้ยไฟ การป้องกันเพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟผักไฮโดรโปนิกส์เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟผักไฮโดร การกำจักเพลี้ยไฟ การป้องกันเพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟผักไฮโดรโปนิกส์

ลงขนาดเล็กอีกชนิดที่ทำล้ายผักของเราค่ะ ตัวเรียวยาวประมาณ 0.5-2 มิลลิเมตร มีปีกเรียวยาวและแคบ 2 คู่ ลำตัวมีสีเหลืองอ่อน น้ำตาลเข้ม และสีดำ เพลี้ยไฟสามารถบินได้ ไว และสามารถกระโดดย้ายไปยังพืชอาหารได้ เพลี้ยไฟมีอายุค่อนข้างสั้น จึงขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในอากาศร้อน ตัวเมียจะวางไข่ขนาดเล็กรูปร่างคล้ายถั่วลงบนเนื้อเยื่อพืช ประมาณ25-75ฟอง ระยะไข่ประมาน 6 วัน จึงฟักเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะมีขนาดเล็กมากประมาณ 0.2-0.3 มิลลิเมตรวันขาวใส ยากที่จะมองเห็น จากนั้นจะลอกคราบ 2 ครั้ง มีขนาดใหญ่ขึ้น มักอยู่รวมกันดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ระยะตัวอ่อนประมาณ 10-14วัน จากนั้นจึงเข้าดักแด้ 4-5วัน บางชนิดเข้าดักแด้ตามส่วนของพืช แต่ส่วนให้จะทิ้งตัวเข้าดักแด้ในดิน เวลาวงจรชีวิตรวม 20-30 วัน

การป้องกัน

1. ใช้สารสะเดาหรือน้ำส้มควันไม้ อัตราส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นต้นผักในแปลง สัปดาห์ละครั้ง  

2. ใช้เชื้อจุลินทรีย์ ทริปโตฝาจ ฉีดพ่น สัปดาห์ละครั้ง

การกำจัด

1. ใช้สารสกัดใบยาสูบ โทแบคโค ฉีดพ่น 2-3 สัปดาห์ละครั้ง กรณีแมลงระบาก 2-3 วัน/ครั้ง

 

 




ความรู้เบื้องต้นผักไฮโดร

ก่อนเริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องรู้จักระบบน้ำกันก่อน
ปลูกกัญชากัญชงแบบไฮโดรโปนิกส์
ปลูกผักกินเองง่ายๆแบบคนขี้เกียจ
The Kratky Method คืออะไร?
3 ระบบไฮโดรยอดนิยม
การทำลายพืชที่เป็นโรคใบจุดอย่างถูกวิธี
แหล่งน้ำที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักระบบไฮโดโปนิกส์
เครื่องมือวัดแสง Lux meter
การปลูกผักเคล ราคาดี ไม่ยากอย่างที่คิด
ค่าecและค่าpH ในการปลูกผักแต่ละชนิด
อาการพืชใบเหลือง เกิดจากอะไร แก้ยังไง
การเลือกปั๊มน้ำสำหรับรางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ให้เหมาะสม
เกร็ดความรู้... เกี่ยวกับสารละลายธาตุอาหารปุ๋ยเอบี
เคล็ดลับการปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งที่คนไม่ค่อยรู้
เคยสงสัยไหมว่าผักไฮโดรเติบโตได้อย่างไร เมื่อไม่มีดิน?
ปัญหาเรื่องระบบน้ำที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
งานวิจัยเรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
การเปรียบเทียบระหว่างการวัดค่าpH ด้วย pH meter เทียบกับ การวัดด้วย drop test
ความรู้เรื่องการปลูกผักด้วยหลอด LED
ความแตกต่างระหว่างการปลูกแบบน้ำนิ่ง กับ การปลูกแบบน้ำวน
ราชินีของผักทั้งมวลผักเคล (kale)
เคล็ดลับในการเลือกซื้อปุ๋ยเอบี!!!
จุดแข็งของการปลูกพืชด้วยระบบHydroponics
ก่อนปลูกผักสลัดขายต้องรู้อะไรบ้าง?
ปลูกขึ้นฉ่ายน้ำนิ่ง
ครบเครื่องเรื่องปุ๋ยแบบชาวบ้าน
น้ำหมักชีวภาพสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช
การปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งแบบง่ายๆเองที่บ้าน
เทคนิคการเพาะเมล็ดในเพอร์ไลท์และเวอร์มิคูไลท์
การใช้กับดักกาวเหนียวในฟาร์มผักไฮโดรของเรา
โรคที่เกิดกับต้นอ่อนหรือกล้าผัก
มาทำความรู้จักผักสลัดของเรากันดีกว่า
ปัจจัยที่มีผลต่ออายุของเมล็ดพันธุ์
การทำงานของรากพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
อาการขาดธาตุอาหารและลักษณะอาการเป็นพิษ
เชื้อ Pythium…….สาเหตุสำคัญของโรคที่เกิดกับราก
ช่องทางการขายผักสลัด
วิธีการล้างและเก็บผักสลัดให้อยู่ได้นานๆ
วิธีการปลูกผักร็อกเก็ต
ขั้นตอนการกำจัดแมลงเพื่อลดปัญหาแมลงและศัตรูพืชของผักไฮโดรโปนิกส์
โปรแกรม NutriCal article
โรคใบจุดผักไฮโดร
​เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนคิดจะปลูกผักสลัดขาย
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดร
การปลูกผักกาดขาวแบบไม่ง้อปั๊มทานเองในครอบครัว
สูตรอาหารพืช ปุ๋ยA+B
การปลูกผักบุ้งระบบไฮโดรแบบน้ำนิ่ง
ระบบการปลูกผักโดยไม่ใช่ดินในแบบต่างๆ
ทำความรู้จักผักสลัดไฮโดรโปนิกส์
ประวัติความเป็นมาไฮโดรโปนิกส์
ความรู้ทั่วไปของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ article
เทศกาลกระเช้าผักเริ่มขึ้นแล้ว
กัญชงคืออะไร?
กัญชง V.S. กัญชา ต่างกันอย่างไร
9 ผักสวนครัวที่แนะนำให้ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์
สิ่งที่ต้องดูแลและควบคุมเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
ต้องดูแลควบคุมอะไรบ้างเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
เรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
ผักไฮโดรโปนิกส์ ทำให้เกิดมะเร็ง...จริงหรือ
ปัญหาที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ประโยชน์ของผักไฮโดรโปนิกส์
เปรียบเทียบการปลูกด้วยเพอร์ไลท์และฟองน้ำ
โรคพืชต่างๆในระบบไฮโดรโปนิกส์และการป้องกัน
วิธีการปลูกผัก watercress แบบง่ายๆ
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อหารายได้เสริม
การควบคุมโรคผักโดยชีววิธี-ในการปลูกผักไฮโดรฯไร้สาร