เคล็ดลับการเพาะเชื้อราไตรโคเดอร์มา
ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


เคล็ดลับการเพาะเชื้อราไตรโคเดอร์มา

 การเพาะเชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อใช้ในแปลงผักอย่างง่ายๆ

 
 
ประโยชน์ของเจ้าเชื้อราตัวนี้มากมายสารพัดประโยชน์จนได้ชื่อว่าเป็นราพระเอกเลยทีเดียว วันนี้ H2O Hydrogarden จะมาแบ่งปันความรู้เรื่องการเพาะเชื้อราเพื่อใช้ในแปลงผักไฮโดรของเรา เพื่อให้ผักของเรารอดพ้นจากเชื้อราพิเธียมและราอื่นๆ ที่จะทำให้ผักของเราเป็นโรคใบจุด โคนเน่า รากเน่า จนสุดท้ายเราอาจจะต้อง อดกิน ผักสวยๆ ที่เราอุตส่าห์เลี้ยงต้อยมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย
 
ขอเสนอขั้นตอน การเพาะราแบบง่ายๆ ไม่ (ค่อย) วิชาการ สามารถลองทำได้เองที่บ้าน
 
เคล็ดลับแรกที่ขอบอกคือต้องทำในห้องที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก สปอร์เชื้อราที่อยู่ในอากาศจะได้ไม่ปนเปื้อนลงไปในข้าวที่เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นของเราอาจจะทำในห้องครัว ปิดหน้าต่างให้เรียบร้อยก็ได้
 
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1. ปลายข้าวหักหรือข้าวที่หุงแล้วไม่แฉะ แนะนำให้ซื้อข้าวที่แข็งๆหน่อย ห้ามใช้ข้าวหอมมะลิหรือข้าวที่หุงแล้วนิ่มๆ กินอร่อยนะคะเพราะหุงมาแล้วจะหิว ไม่ใช่ละ! จะเละเกินไป เชื้อราไม่ชอบค่ะ
2. เชื้อไตรโคเดอร์มา ขวดละประมาณ 250 บาท
3. ถุงร้อนขนาดเท่าใดก็ได้ และหนังยางหรือเชือก
4. ทัพพีตักข้าวและส้อม
    
มาเริ่มกันเลย !
1.เมื่อหาอุปกรณ์ได้ครบแล้ว ต้องเช็ดโต๊ะ เช็ดอุปกรณ์ให้สะอาด แล้วมาหุงข้าวกันก่อนเลย อัตตราส่วนคือ ข้าว 3 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน เราก็จะได้ข้าวแข็งๆ เป็นเม็ดแบบนี้
2. ถอดสร้อย แหวน นาฬิกา และล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดจนถึงข้อศอก
3. ในขณะที่ข้าวร้อนๆอยู่ ตักข้าวใส่ถุงให้พอเหมาะ รีดอากาศออกให้หมดแล้วค่อยๆ เปิดถุงด้านข้างสาเหตุที่ต้องเปิดถุงด้านข้างก็เพราะ สปอร์ราในอากาศจะตกลงมาในแนวดิ่งค่ะ ถ้าเราเปิดถุงอ้าซ่า แบคทีเรียและรามาเต็มแน่นอน นี่ก็เป็นเคล็ดลับน๊ะจะบอกให้
4. นําเชื้อไตรโคเดอร์ม่าที่เป็นผงดําๆ เหยาะใส่บนข้าว2 - 3 จุดแล้วรีดอากาศออกอีกรอบมัดปากถุงทันที
5. ขยําถุงให้เชื้อในข้าวกระจายให้ทั่ววางในแนวนอนเจาะรูข้างปากถุงที่อยู่ด้านล่าง2 - 3 รูให้อากาศเข้านิดหน่อย 
   
6.นำ ไปวางไว้ในที่มีแสงแดดส่องถึงบ้าง(ไม่ใช่แดดจัด) และมดแมลงเข้าไปรบกวนไม่ได้      
7.จากนั้น2-3 วันให้ขยําถุงอีกรอบให้เชื้อกระจายดีอีก2 วันเชื้อราจะขยายจนเต็มถุง เป็นอันเสร็จพิธี เราก็จะได้ ราพระเอก เขียวปี๋ มีกลิ่นหอม ถ้ามีราสีอื่นปนลงไปแสดงว่ามีเชื้ออื่นๆ ปนเปื้อนตอนทำนะคะ
8.ถ้ายังไม่ใช้ทันทีให้แช่เย็นไว้ทั้งถุง เขียนวันเดือนปีกันลืม ถ้าจะใช้เลยให้นำไปล้างและกรอง(5 ถุงกรองได้3 ลิตร) เอาแต่น้ำ เวลากรองอย่าขยำมาก(เพราะจะได้น้ำข้าวแทน เมื่อเอาใส่ในถังน้ำ น้ำจะเสียไวค่ะ)
 เชื้อราสามารถอยู่ได้ไม่เกิน1 เดือนยิ่งใช้เร็วยิ่งได้ผลดีและเชื้อรามีชิวิตอยู่ที่อุณหภูมิปกติได้แค่3 ชั่วโมงเท่านั้นต้องแช่ตู้เย็นตลอด
การเติมเชื้อรา
1.การเติมเชื้อราให้เติมในถังอนุบาลและถังปลูก30 cc ต่อระบบโดยเติมทุกอาทิตย์เพื่อป้องกันโรครากเน่าที่มักรบกวนผักสลัดไฮโดรโปนิกส์
2.ในกรณีที่เกิดโรครากเน่าระบาดเล็กน้อยให้เพิ่มเป็น90 cc ระบบจนกระทั่งโรคหายและถ้ามีการระบาดมากต้องใช้เชื้อรา     ไตรโดรเดอร์ม่า30 cc ผสมน้ำ3 ลิตรฉีดแปลงที่ระบาดเสริมด้วยอาทิตย์ละครั้งเช่นกัน
**ควรเติมเชื้อราในช่วงเย็น เพราะราพระเอกของเราไม่ชอบแดดร้อนๆค่ะ
 
จบแล้วค่ะ การเพาะเชื้อราไตรโคเดอร์มา อย่างง่ายๆ ลองทำกันดูนะคะจะได้ไม่ต้องไปซื้อหาให้เสียตังค์ ถ้าเรามีราพระเอกคอยปกป้องต้นผักอยู่ ผักเราก็จะแข็งแรง และโตเต็มที่ พร้อมให้เรารับประทานอยู่เสมอค่ะ
ขอให้ทุกท่านสนุกกับการปลูกผักนะคะ ใครอยากรู้หรือสอบถามอะไรเพิ่มเติ่มถามได้ที่ Facebook: www.facebook.com/h2ohydrogarden ค่ะ

 




สาระน่ารู้เกี่ยวกับผักไฮโดร

สาเหตุและแนวทางแก้ไขรสขมในผักสลัด
ข้อแตกต่างระหว่างเมล็ดผักแบบเคลือบและแบบไม่เคลือบ
ประโยชน์ของไตรโคเดอม่า
ปลูกผักแล้วขายที่ไหนดี?
ประโยชน์ของผักไฮโดร
แดดน้อยปลูกอะไรดี
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในหน้าร้อน
มาปลูกมะเขือเทศกันดีกว่า
โรคใบจุด...จุด...จุด
ปลูกผักสวนครัวประหยัดได้มากจริงหรือ
มารู่จักปุ๋ย A+B กัน