H2O Hydro Garden
ที่อยู่: เลขที่ 8 ซอย นาคนิวาส 53 ลาดพร้าว 71 แขวง ลาดพร้าว กทม. 10230
เบอร์โทร: 02 932 9200 มือถือ: 086 500 9698, 084 106 6831
.jpg)
.jpg)
.png)
การทำงานของรากพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ การทำงานของรากพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ หลายคนที่ไม่เคยปลูกผักไฮโดรคงสงสัยกันนะคะว่าการปลูกพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์ ที่รากของพืชจุ่มแช่ในสารละลายอยู่ตลอดเวลานั้น ทำไมรากพืชจึงไม่เน่าตาย แต่ยังสามารถเจริญเติบโตได้ดีด้วย วันนี้เรามีคำตอบให้เข้าใจกันง่ายๆค่ะ ปกติถ้าเรานำต้นพืชที่ขึ้นอยู่บนดิน เอามาวางแช่น้ำหรือสารละลายธาตุอาหารไว้ ในระยะแรกต้นพืชจะยังสามารถเจริญงอกงามต่อไปได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งกลับพบว่า ต้นพืชที่เจริญต่อไปนั้นกลับแสดงอาการเหี่ยวเฉาและเน่าตายในที่สุด ทั้งนี้เนื่องมาจากการขาดออกซิเจนของรากพืชที่แช่น้ำอยู่นั่นเอง ส่งผลทำให้พืชเฉาตายในที่สุด การปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารหรือแบบไฮโดรนั้น จำเป็นต้องมีหลักการและเทคนิคที่แตกต่างจากวิธีอื่น เพื่อไม่ให้รากของพืชขาดออกซิเจน นั่นคือ เราจะต้องพัฒนารากพืชในต้นเดียวกันนั้นให้สามารถทำงานได้ 2 หน้าที่พร้อมๆ กัน คือ 1. เป็นรากอากาศเพื่อใช้ดูดออกซิเจน (oxygen roots) และ 2.เป็นรากอาหาร เพื่อใช้ ดูดน้ำและธาตุอาหาร (water nutrient roots) การจะทำให้รากพืชทำงานสามารถทำได้ทั้ง 2 หน้าที่นั้น คือต้องพยายามให้ส่วนหนึ่งของรากพืชบริเวณโคนต้นสัมผัสกับอากาศได้โดยตรง โดยเว้นให้มีช่องว่างของอากาศไว้สำหรับให้รากหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป เพื่อเปลี่ยนรากพืชบริเวณนี้ให้เป็นรากอากาศ ส่วนตรงปลายรากจะยังคงจุ่มแช่อยู่ในสารละลาย รากตรงส่วนนี้เรียกว่ารากอาหาร ไว้เพื่อดูดน้ำและอาหาร ทั้งนี้ รากส่วนที่มีหน้าที่ดูดน้ำและอาหารจะสามารถพัฒนาเป็นรากดูดอากาศได้ แต่ทว่ารากที่กลายเป็นรากอากาศนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนกลับเป็นรากอาหารได้อีก ดังนั้น จึงไม่ควรเติมสารละลายให้ท่วมรากส่วนที่ทำหน้าที่ดูดอากาศ เพราะพืชจะไม่สามารถดูดออกซิเจนและตายได้ในที่สุด ด้วยหลักการดังกล่าวต้นพืชจึงสามารถจุ่มแช่อยู่ในสารละลายได้โดยไม่เน่าตาย และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการเติมอากาศกับพืชบางชนิด ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงระดับของสารละลาย ให้มีความเหมาะสมกับความยาวของรากพืชในแต่ละช่วงอายุของพืชด้วย หรืออาจใช้เครื่องปั๊มอากาศช่วยเติมออกซิเจนให้แก่รากพืชได้อีกทางหนึ่งค่ะ เหมือนการให้ออกซิเจนในตู้ปลานั่นเอง ที่มา : รศ.ดร.อิทธิสุนทร นันทกิจ creditรูปจาก: http://www.tankonyvtar.hu/en/tartalom/tamop425/0010_1A_Book_angol_01_novenyelettan/ch02s02.html |