ครบเครื่องเรื่องปุ๋ยแบบชาวบ้าน
ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


ครบเครื่องเรื่องปุ๋ยแบบชาวบ้าน

 สูตรปุ๋ย ฮอร์โมนเร่งดอก ผล กำจัดไล่แมลง !!!

 

สูตรปุ๋ยฮอร์โมน สารไล่แมลง ..

การขยายจุลินทรีย์

1. จุลินทรีย์ EM 2 ช้อนโต๊ะ

2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ

3. น้ำสะอาด 1ลิตร

วิธีทำ

ผสมจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาลและน้ำเข้าด้วยกัน ใส่ขวดพลาสติกชนิดฝาเกลียวปิดฝาให้แน่น เก็บไว้ 3-5 วัน จะเป็นหัวเชื้อขยาย

เป็นการนำจุลินทรีย์มาขยายให้ได้จำนวนมาก ลดต้นทุนนำไปใช้หรือขยายต่อได้อีก (เก็บไว้ได้นาน 3เดือน)

วิธีใช้   ใช้ทำปุ๋ยน้ำ ฮอรโมน สารไล่แมลง และปุ๋ยแห้ง ฯลฯ

หมายเหตุ 1 แก้ว ประมาณ 250 ซีซี ,  1 ช้อนโต๊ะ ประมาณ 10 ซีซี

 

การทำฮอร์โมนผลไม้

1. มะละกอสุก 2 กก/ สับปะรดสุก

2. ฟักทองแก่จัด 2 กก.

3. กล้วยน้ำว้าสุก 2 กก.

4. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว

5. กากน้ำตาล 1 แก้ว

6. น้ำสะอาด 1 ถัง หรือ 10 ลิตร

วิธีทำ

สับมะละกอ ฟักทอง กล้วยทั้งเปลือกและเมล็ดให้เข้ากันผสม EM และกากน้ำตาล อย่างละ 1 แก้ว ใส่น้ำ

10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากันปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 7 – 8 วัน เปิดก๊อกแล้วกรองใส่ขวดเก็บได้นาน 3 เดือน

วิธีใช้

4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตรหรือถัง 1 ถัง ฉีด พ่น ราด จะทำให้ดอกติด ผลดก ขนาดโต น้ำหนักดี

รสชาติอร่อย
การทำฮอร์โมนยอดพืช

1. ยอด/ใบยูคาลิปตัส 1 กก./ ใบกระเพรา / ยอดใบโหระพา

2. ยอดสะเดา 1 กก. (ยอดและเมล็ด)

3. น้ำสะอาด 1 ถัง / 10 ลิตร

4. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว

5. กากน้ำตาล 1 แก้ว

วิธีทำ

นำใบยูคาลิปตัส ยอดสะเดา และน้ำ 10 ลิตร ต้มรวมกันประมาณ 15 นาที  ทิ้งให้เย็น ผสมจุลินทรีย์ EM

1 แก้ว กากน้ำตาล 1 แก้ว ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 7 – 10 วัน ใช้ได้

วิธีใช้

4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตรหรือถัง 1 ถัง ฉีด พ่น ราด รด จะทำให้ดอกติด ผลดก ขนาดโต น้ำหนักดี

 

ขั้วเหนียว รสชาติอร่อย.!!

 

การทำปุ๋ยน้ำ (ใช้ทันที)

 

1. จุลินทรีย์ EM 2 ช้อนโต๊ะ

2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ

3. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง

วิธีทำ

นำจุลินทรีย์ EM และกาน้ำตาลผสมในน้ำให้เข้ากัน

 

วิธีใช้

พืช ผัก ใช้ ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน ไม้ดอกไม้ผล พืชสวน ฉีด พ่น ทุก 7 วัน เดือนละ 1 – 2 ครั้ง

ใช้ให้หมดภายใน 1 วัน หากไม่หมดให้นำไปราดห้องน้ำ ล้างพื้นซีเมนต์หรือเทลงท่อระบายน้ำกำจัดกลิ่นเหม็น

 
สูตรไล่หนอน,กำจัดแมลง ทุกชนิด ได้ผลชงัดนักแล.!!

1. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว

2. กากน้ำตาล 1 แก้ว

3. น้ำสมสายชู 5% 1 แก้ว

4. เหล้าขาว 28 – 40 ดีกรี 2 แก้ว

5. น้ำสะอาด 10 ลิตร

วิธีทำ

นำส่วนผสมมาผสมให้เข้ากัน ใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 7 – 10 วัน เขย่าถังเบาๆ ทุกวันและเปิดฝานิดๆ

ให้ก๊าซระบายออก ครบกำหนดเก็บใส่ขวดพลาสติกเก็บไว้ใช้ได้นาน 3 เดือน /หลัง3 เดืือนจะเป็นยาฆ่าหญ้า

วิธีใช้

4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืชผัก ไม้ใบ ไม้ดอก พืชสวน ทุกสัปดาห์

 

สูตรไล่หอย , เพลี้ยไฟ

1. ยอดยูคาลิปตัส 2 กก.

2. ยอดสะเดา 20 ยอด หรือ 2 กก.

3. ข่าแก่ 2 กก.

4. บอระเพ็ด 2 กก.

5. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว

6. กากน้ำตาล 1 แก้ว

 

วิธีทำ

นำยอดยูคาลิปตัส ยอดสะเดา ข่าแก่ และบอระเพ็ด แต่ละอย่างแยกกันใส่ปิ๊บ ใส่น้ำให้เต็ม ต้มให้เหลือน้ำ

อย่างละครึ่งปิ๊บ ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทรวมกันในถังใหญ่หรือโอ่ง ใส่จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว

วิธีใช้

ใช้แก้วผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ในแปลง ผัก พืช ในนาข้าว ป้องกันใบข้าวไหม้ด้วย

 

การทำปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ)

1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน (กระสอบ)

2. แกลบดิบ 1 ส่วน (กระสอบ)

3. รำละเอียด 1 ส่วน (กระสอบ)

4. จุลินทรีย์ EM 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)

5. กากน้ำตาล 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)

6. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง

 

วิธีทำ

ขั้นที่ 1 เตรียมจุลินทรีย์ EM , กากน้ำตาล , น้ำสะอาด , ผสมไว้ในถังน้ำ

ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์ + รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ขั้นที่ 3 นำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM ในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกแล้วบีบพอหมาดๆ

นำมาคลุกกับส่วนผสม ขั้นที่ 2 ให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40 – 50 %(กำแล้วไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ)

การหมัก เอาส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน , ถุงปุ๋ย ที่อากาศถ่ายเทได้ โดยบรรจุลงไป ? ของกระสอบไม่ต้องกดให้แน่น นำไปวางลงในที่มีฟางรอง เพื่อการระบายอากาศในส่วนส่วนล่างพลิกกลับกระสอบ ในวันที่ 2,3,4 ทุกๆ วัน ในวันที่ 2 – 3 อุณหภูมิ จะสูงถึง 50 0c – 60 0c วันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิเย็นลงจนปกติตรวจดูไม่ให้อุณหภูมิเกิน 36 0c ปุ๋ยแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ได้

 
การเก็บรักษา

เก็บรักษาเมื่อโบกาฉิแห้งสนิทควรเก็บรักษาในที่ร่ม ไม่โดนฝนและไม่โดนแดด สามารถเก็บรักษา

ได้นานประมาณ 1 ปี

วิธีใช้

1. ใช้ปุ๋ยแห้งในแปลงปลูกต้นไม้ทุกชนิดในอัตราส่วนปุ๋ยแห้ง 1 กำมือ/พื้นที่ 1 ตรม. แล้วทำการเพาะปลูกได้

2. พืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น ฟักทอง , แตงกวา , ถั่วฝักยาว , กระหล่ำปลี ใช้ปุ๋ยแห้งรองก้นหลุมก่อนปลูกใช้ประมาณ 1 กำมือ

3. ไม้ยืนต้น , ไม้ผล ควรรองก้นหลุ่มด้วย เศษหญ้า – ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยแห้งประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋ ส่วนไม้ยืนต้น , ไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยแห้ง ให้รอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง, ฟางแห้ง

4. ไม้ดอก , ไม้ประดับ , ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยแห้งสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ รอบๆ โคนต้น

ข้อควรจำ

เมื่อใช้ปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) ต้องใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นด้วยเสมอ เพื่อให้จุลินทรีย์ ที่พักตัวทำงานได้ดี

 

สูตรน้ำซาวข้าว

1. น้ำซาวข้าว (ประมาณ) 2 ลิตร

2. จุลินทรีย์ EM 1  ช้อนโต๊ะ

3. กากน้ำตาล 1 ช้อนชา

4. น้ำสะอาด ? แก้ว

วิธีทำ

1. น้ำซาวข้าว (น้ำเพื่อล้างฝุ่นข้าวและส่งสกปรกออกก่อนนำไปหุง) ประมาณ 2 ลิตร หากไม่ถึงให้เติมน้ำสะอาดลงไปกรองด้วยผ้าขาวบางให้ใส

2. ผสมกากน้ำตาลที่ละลายน้ำเจือจางแล้ว 3 ช้อนโต๊ะ ลงในน้ำซาวข้าวใส่จุลินทรีย์ EM 1 ? ช้อนโต๊ะ แล้วบรรจุ ในขวดพลาสติกชนิดฝาเกลียวปิดฝาให้สนิท

3. เก็บไว้ประมาณ 3 – 5 วัน น้ำที่ได้มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมจึงนำไปใช้

วิธีใช้

1. ใช้แทนผงซักฟอก โดยใช้สูตรน้ำซาวข้าว ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 20 แช่ผ้าทิ้งไว้ 1 คืน กรณีใช้เครื่องซักผ้าประมาณ 500 ซีซี วันรุ่งขึ้นซักน้ำสะอาด และน้ำผ้าตากให้แห้ง ผ้าจะสะอาดไม่มีกลิ่น ไม่กระด้าง รีดง่าย

2. ใช้เป็นสเปรย์ดับกลิ่น โดยนำสูตรน้ำซาวข้าว ใส่ขวดที่มีหัวฉีดเป็นละออง ดับกลิ่นเหม็นติดเสื้อผ้า กลิ่นอับในรถยนต์

3. ใช้ผสมน้ำถูพื้นบ้าน พื้นครัว (อัตราส่วนตามความสกปรก)

4. กรณีมีตะกอนที่ก้นขวด ให้ใช้เฉพาะน้ำใสเท่านั้น

5. ใช้ให้หมดภายในเวลาประมาณ 3 – 5 วัน

หมายเหตุ หากดมดูมีกลิ่นเหม็น ใส่กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกันนำไปราดท่อระบายน้ำ หรือเทลงในส้วม

 

สูตรสารไล่แมลง

1. ลูกยอสุก 1 กก.

2. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว

3. กากน้ำตาล 1 แก้ว

วิธีทำ

นำลูกยอสุกมาสับให้ละเอียด ใส่น้ำพอท่วมผสมจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล คนให้เข้ากัน หมักไว้ 10 วัน พอได้ที่คั้นเอาแต่น้ำมาใช้

วิธีใช้

สารไล่แมลง 1 แก้ว ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด

วัตถุที่ใช้แทนกากน้ำตาล

- น้ำผึ้ง , น้ำตาลทรายแดง , นมสด

- น้ำผลไม้สดทุกชนิด เช่น น้ำมะพร้าว น้ำส้ม น้ำสับปะรด น้ำอ้อน ฯลฯ

- น้ำซาวข้าว

- น้ำปัสสาวะ

- ฯลฯ

 

วิธีทำปุ๋ยยูเรียน้ำ สูตรหนึ่ง

 
1ใช้ถั่วเหลือง 1kg
2กากน้ำตาล 1kg
3น้ำมะพร้าว 10ลิตร

ใช้ถ่วเหลืองดิบๆไม่ต้องต้มหมักรวมกับกากน้ำตาลและน้ำมะพร้าว หมักทิ้งไว้ 14 วัน

กรองเอาแต่น้ำ จะได้น้ำปุ๋ยหมักยูเรีย ที่เทียบเท่า

ปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 หนึ่งกระสอบ

แต่เราสามารถทำได้ในราคาไม่เกินร้อย

วิธีใช้สองช้อนแกงต่อน้ำเปล่ายี่สิบลิตร หรือ1/1000

จะฉีดทางใบหรือจะลดโคนต้นก็ได้ทุกๆเจ็ดวันถึงสิบวัน

จะได้เท่ากับปุ๋ยสูตร 57-0-0 เลยทีเดียว

 

การผลิตปุ๋ยยูเรียอินทรีย์ สูตรสอง

ส่วนผสม

          ๑. ถั่วเหลืองเมล็ดแห้ง (บด) ๑ กิโลกรัม

          ๒. สับปะรด ๒ กิโลกรัม

          ๓. กากน้ำตาล ๓ กิโลกรัม

          ๔. น้ำชาวข้าว หรือน้ำมะพร้าว ๑๐ ลิตร

          ๕. จุลินทรีย์หน่อกล้วย ๑ กิโลกรัม

 

วิธีทำ / วิธีใช็    

           ๑. ผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน หมัก ๑๕ วัน (คนทุกวัน)

           ๒. ใช้ทางดิน ปุ๋ย ๑ ลิตร ต่อน้ำ ๕๐๐ ลิตร

                             ปุ๋ย ๔ ช้อน ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

           ๓. ใช้ทางใบ ปุ๋ย ๑ ลิตร ต่อน้ำ ๑,๐๐๐ ลิตร

                         ปุ๋ย ๒ ช้อน ต่อน้ำ  ๒๐ลิตร                                                                                                                          

          ๔. ปุ๋ยยูเรียน้ำ ๕ ลิตร เท่ากับปุ๋ยสูตร 46-0-0

 

แหล่งที่มา  :  นายอธีศพัฒน์ วรรณสุทธิ์   นักปราชญ์ชาวบ้าน  จากมูลนิธิชัยพัฒนา

 

ขอบคุณ http://bangsai.ayutthaya.doae.go.th/pamphlet/pamphlet_08.htm

 

 




ความรู้เบื้องต้นผักไฮโดร

ก่อนเริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องรู้จักระบบน้ำกันก่อน
ปลูกกัญชากัญชงแบบไฮโดรโปนิกส์
ไฮโดรโปนิกส์แบบแนวตั้ง
The Kratky Method คืออะไร?
3 ระบบไฮโดรยอดนิยม
การทำลายพืชที่เป็นโรคใบจุดอย่างถูกวิธี
แหล่งน้ำที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักระบบไฮโดโปนิกส์
เครื่องมือวัดแสง Lux meter
การปลูกผักเคล ราคาดี ไม่ยากอย่างที่คิด
ค่าecและค่าpH ในการปลูกผักแต่ละชนิด
อาการพืชใบเหลือง เกิดจากอะไร แก้ยังไง
การเลือกปั๊มน้ำสำหรับรางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ให้เหมาะสม
เกร็ดความรู้... เกี่ยวกับสารละลายธาตุอาหารปุ๋ยเอบี
เคล็ดลับการปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งที่คนไม่ค่อยรู้
เคยสงสัยไหมว่าผักไฮโดรเติบโตได้อย่างไร เมื่อไม่มีดิน?
ปัญหาเรื่องระบบน้ำที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
งานวิจัยเรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
การเปรียบเทียบระหว่างการวัดค่าpH ด้วย pH meter เทียบกับ การวัดด้วย drop test
ปลูกผักกินเองง่ายๆแบบคนขี้เกียจ
ความรู้เรื่องการปลูกผักด้วยหลอด LED
ความแตกต่างระหว่างการปลูกแบบน้ำนิ่ง กับ การปลูกแบบน้ำวน
ราชินีของผักทั้งมวลผักเคล (kale)
เคล็ดลับในการเลือกซื้อปุ๋ยเอบี!!!
จุดแข็งของการปลูกพืชด้วยระบบHydroponics
ก่อนปลูกผักสลัดขายต้องรู้อะไรบ้าง?
ปลูกขึ้นฉ่ายน้ำนิ่ง
น้ำหมักชีวภาพสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช
การปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งแบบง่ายๆเองที่บ้าน
เทคนิคการเพาะเมล็ดในเพอร์ไลท์และเวอร์มิคูไลท์
การใช้กับดักกาวเหนียวในฟาร์มผักไฮโดรของเรา
โรคที่เกิดกับต้นอ่อนหรือกล้าผัก
มาทำความรู้จักผักสลัดของเรากันดีกว่า
ปัจจัยที่มีผลต่ออายุของเมล็ดพันธุ์
การทำงานของรากพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
อาการขาดธาตุอาหารและลักษณะอาการเป็นพิษ
เชื้อ Pythium…….สาเหตุสำคัญของโรคที่เกิดกับราก
ช่องทางการขายผักสลัด
วิธีการล้างและเก็บผักสลัดให้อยู่ได้นานๆ
วิธีการปลูกผักร็อกเก็ต
แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์วิธีการป้องกันและกำจัด
ขั้นตอนการกำจัดแมลงเพื่อลดปัญหาแมลงและศัตรูพืชของผักไฮโดรโปนิกส์
โปรแกรม NutriCal article
โรคใบจุดผักไฮโดร
​เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนคิดจะปลูกผักสลัดขาย
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดร
การปลูกผักกาดขาวแบบไม่ง้อปั๊มทานเองในครอบครัว
สูตรอาหารพืช ปุ๋ยA+B
การปลูกผักบุ้งระบบไฮโดรแบบน้ำนิ่ง
ระบบการปลูกผักโดยไม่ใช่ดินในแบบต่างๆ
ทำความรู้จักผักสลัดไฮโดรโปนิกส์
ประวัติความเป็นมาไฮโดรโปนิกส์
ความรู้ทั่วไปของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ article
ไฮโดรโปนิกส์ปลูกอะไรได้บ้าง
ไฮโดรโปนิกส์น้ำนิ่งคือ?
เทศกาลกระเช้าผักเริ่มขึ้นแล้ว
กัญชงคืออะไร?
กัญชง V.S. กัญชา ต่างกันอย่างไร
9 ผักสวนครัวที่แนะนำให้ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์
สิ่งที่ต้องดูแลและควบคุมเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
ต้องดูแลควบคุมอะไรบ้างเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
เรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
ผักไฮโดรโปนิกส์ ทำให้เกิดมะเร็ง...จริงหรือ
ปัญหาที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ประโยชน์ของผักไฮโดรโปนิกส์
เปรียบเทียบการปลูกด้วยเพอร์ไลท์และฟองน้ำ
โรคพืชต่างๆในระบบไฮโดรโปนิกส์และการป้องกัน
วิธีการปลูกผัก watercress แบบง่ายๆ
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อหารายได้เสริม
การควบคุมโรคผักโดยชีววิธี-ในการปลูกผักไฮโดรฯไร้สาร