ปลูกขึ้นฉ่ายน้ำนิ่ง
ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


ปลูกขึ้นฉ่ายน้ำนิ่ง

 การปลูกขึ้นฉ่ายน้ำนิ่ง  

ทำได้ง่ายๆนะคะ ตามขั้นตอนดังนี้เลยจ้า ผักสวนครัวต้นน้อยๆ ปลูกเองทานเอง ใครอยากลองก็ทำตามกันเลยนะค

อันนี้ต้นตอนครบอายุ แบบยืดหน่อยๆเพราะแดดที่ระเบียงไม่พอบวกกับฝนตกเกือบทุกวันช่วงนี้เลยออกมาเป็นสภาพอย่างที่เห็น ต้นเล็กและยืดหน่อยๆ แต่ความอร่อยยังเท่าเดิมค่ะ

ขั้นตอนแรกเริ่มจากการเพาะเมล็ดค่ะ ที่เห็นในรูปคือเมล็ดขึ้นฉ่ายที่จะปลูกวันนี้ หาซื้อได้ตามทั่วนะคะ

ดูกันชัดๆ เมล็ดเล็กมาก



เนื่องจากเมล็ดเล็กมากเราจึงต้องมีตัวช่วยนะคะ ไม้จิ้มฟันนั้นเอง นำปลายไม้จิ้มฟันแตะน้ำนิดหน่อยและแตะเมล็ด เมล็ดก็จะติดขึ้นมาอย่างที่เห็นนะคะ
 

 
ส่วนอุปกรณ์ชิ้นที่สองที่ต้องมีคือฟองน้ำหรือวัสดุปลูกอะไรก็ได้นะคะ เอาที่ถนัดเลยจ้า
 
 
ก่อนนำเมล็ดใส่ฟองน้ำ เราต้องทำให้ฟองน้ำเราชุ่มชื้นซะก่อนโดยการกดฟองน้ำ ให้ฟองน้ำดูน้ำตามรูปเลยค่ะ
 
 
จากนั้นก็ใส่เมล็ดเลย โดยส่วนใหญ่ในการปลูกผักไทยเราจะใส่ประมาณ 3 เมล็ดต่อฟองน้ำหนึ่งชิ้น เพราะเปอร์เซ็นการงอกจะต่ำกว่าเมล็ดเคลือบนะคะ
 
 
เสร็จแล้วได้ประมาณนี้ค่ะ แล้วเราก็ปล่อยแช่ในน้ำทิ้งไว้3-5วัน คอยเช็คด้วยนะคะว่าน้ำที่หล่อไว้แห้งหรือป่าว เพื่อให้แน่ใจว่าต้นกล้าขึ้นแน่ๆควรรักษาความชื้นของฟองน้ำดีๆนะคะในช่วงแรก
 
 
หลังจาก5วันค่ะ ขึ้นมาประมาณนี้
 

จากนั้นเราก็จะนำมาใส่ถ้วยปลูกที่เตรียมไว้นะคะ อันนี้เป็นแบบถ้วยสีฟ้า ไม่ใช้ซ้ำ จะนิ่มๆเหมือนถ้วยปีโป้

เอาต้นกล้าที่เพาะไว้ฉีกเป็นแต่ละชิ้นแล้วใส่ลงในถ้วยได้เลยค่ะ ระวังรากต้นพืชด้วยนะคะ


 
กดให้ฟองน้ำชิดกับก้นถ้วยมากที่สุดนะคะ แบบในรูปเลย เพื่อให้ฟองน้ำโดนน้ำ
 
 
หลังจากนั้นเราก็เอาน้ำใส่ภาชนะที่เราจะปลูกค่ะ เติมน้ำจนได้ระดับที่เลยถ้วยปลูกขึ้นมาประมาณ 1-2ซม.
 
 
วันนี้ปลูกถ้วยสองแบบ อันนี้เป็นถ้วยแบบใช้ซ้ำ
 
 
เติมน้ำเหมือนกันค่ะ ระดับท่วมก้นถ้วยปลูกขึ้นมาเท่าเดิม
 
 
ตามรูปเลยค่ะ
 
 

จากนั้นเราก็มาใส่ปุ๋ยลงในน้ำค่ะ โดยสัดส่วนปุ๋ยของ h2o คือ 5ccต่อน้ำ1ลิตร ในการปลุกผักไทยนั่นเอง จะได้ความเข้มข้นของปุ๋ยที่ประมาณ EC 2.2-2.4

ใช้ปริมาณเดียวกันกับปุ๋ยเอค่ะ

จับใส่ครบทุกรูจากนั้นก็รอค่ะ

2  อาทิตย์ผ่านไป มาเปลี่ยนน้ำ1  รอบ ยังไม่ค่อยโตเท่าไหร่

3-4  อาทิตย์ผ่านไป โตช้ามากๆช่วงแรก ทำใจหน่อย
 
 
อายุครบ  6  อาทิตย์ ตายไป  1  ชุดเนื่องจากปล่อยทิ้งไว้ตอนพายุเข้า เหลือแค่ชุดเดียวเท่าที่เห็
 
 

ต้นขึ้นฉ่ายจะค่อนข้างยืดเนื่องจากระเบียงที่ปลูกโดนแดดวันนะ 4 ชั่วโมงต่อวัน บวกกับฝนที่ตกลงมาเกือบทุกวัน ต้นเลยเลื้อยอย่างที่เห็น


 

อันนี้ต้นใหญ่สุดในชุดนี้


 

แกะออกมาดูรากและฟองน้ำ


 
เปิดที่ปลูกโชว์รากขาวๆ
 

จบแล้วนะคะ กับการปลูกผักขึ้นฉ่ายน้ำนิ่ง ผักสวนครัวปลูกทานเองง่ายๆนะคะ ใครสงสัยตรงไหนสอบถามเพิ่มเติ่มเข้ามาได้ใน  https://www.facebook.com/h2ohydrogarden  จ้า จะพยายามตอบทุกคำถาม^^
  สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกผัก

เพิ่มเพื่อน





ความรู้เบื้องต้นผักไฮโดร

ก่อนเริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องรู้จักระบบน้ำกันก่อน
ปลูกกัญชากัญชงแบบไฮโดรโปนิกส์
ไฮโดรโปนิกส์แบบแนวตั้ง
The Kratky Method คืออะไร?
3 ระบบไฮโดรยอดนิยม
การทำลายพืชที่เป็นโรคใบจุดอย่างถูกวิธี
แหล่งน้ำที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักระบบไฮโดโปนิกส์
เครื่องมือวัดแสง Lux meter
การปลูกผักเคล ราคาดี ไม่ยากอย่างที่คิด
ค่าecและค่าpH ในการปลูกผักแต่ละชนิด
อาการพืชใบเหลือง เกิดจากอะไร แก้ยังไง
การเลือกปั๊มน้ำสำหรับรางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ให้เหมาะสม
เกร็ดความรู้... เกี่ยวกับสารละลายธาตุอาหารปุ๋ยเอบี
เคล็ดลับการปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งที่คนไม่ค่อยรู้
เคยสงสัยไหมว่าผักไฮโดรเติบโตได้อย่างไร เมื่อไม่มีดิน?
ปัญหาเรื่องระบบน้ำที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
งานวิจัยเรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
การเปรียบเทียบระหว่างการวัดค่าpH ด้วย pH meter เทียบกับ การวัดด้วย drop test
ปลูกผักกินเองง่ายๆแบบคนขี้เกียจ
ความรู้เรื่องการปลูกผักด้วยหลอด LED
ความแตกต่างระหว่างการปลูกแบบน้ำนิ่ง กับ การปลูกแบบน้ำวน
ราชินีของผักทั้งมวลผักเคล (kale)
เคล็ดลับในการเลือกซื้อปุ๋ยเอบี!!!
จุดแข็งของการปลูกพืชด้วยระบบHydroponics
ก่อนปลูกผักสลัดขายต้องรู้อะไรบ้าง?
ครบเครื่องเรื่องปุ๋ยแบบชาวบ้าน
น้ำหมักชีวภาพสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช
การปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งแบบง่ายๆเองที่บ้าน
เทคนิคการเพาะเมล็ดในเพอร์ไลท์และเวอร์มิคูไลท์
การใช้กับดักกาวเหนียวในฟาร์มผักไฮโดรของเรา
โรคที่เกิดกับต้นอ่อนหรือกล้าผัก
มาทำความรู้จักผักสลัดของเรากันดีกว่า
ปัจจัยที่มีผลต่ออายุของเมล็ดพันธุ์
การทำงานของรากพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
อาการขาดธาตุอาหารและลักษณะอาการเป็นพิษ
เชื้อ Pythium…….สาเหตุสำคัญของโรคที่เกิดกับราก
ช่องทางการขายผักสลัด
วิธีการล้างและเก็บผักสลัดให้อยู่ได้นานๆ
วิธีการปลูกผักร็อกเก็ต
แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์วิธีการป้องกันและกำจัด
ขั้นตอนการกำจัดแมลงเพื่อลดปัญหาแมลงและศัตรูพืชของผักไฮโดรโปนิกส์
โปรแกรม NutriCal article
โรคใบจุดผักไฮโดร
​เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนคิดจะปลูกผักสลัดขาย
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดร
การปลูกผักกาดขาวแบบไม่ง้อปั๊มทานเองในครอบครัว
สูตรอาหารพืช ปุ๋ยA+B
การปลูกผักบุ้งระบบไฮโดรแบบน้ำนิ่ง
ระบบการปลูกผักโดยไม่ใช่ดินในแบบต่างๆ
ทำความรู้จักผักสลัดไฮโดรโปนิกส์
ประวัติความเป็นมาไฮโดรโปนิกส์
ความรู้ทั่วไปของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ article
ไฮโดรโปนิกส์ปลูกอะไรได้บ้าง
ไฮโดรโปนิกส์น้ำนิ่งคือ?
เทศกาลกระเช้าผักเริ่มขึ้นแล้ว
กัญชงคืออะไร?
กัญชง V.S. กัญชา ต่างกันอย่างไร
9 ผักสวนครัวที่แนะนำให้ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์
สิ่งที่ต้องดูแลและควบคุมเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
ต้องดูแลควบคุมอะไรบ้างเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
เรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
ผักไฮโดรโปนิกส์ ทำให้เกิดมะเร็ง...จริงหรือ
ปัญหาที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ประโยชน์ของผักไฮโดรโปนิกส์
เปรียบเทียบการปลูกด้วยเพอร์ไลท์และฟองน้ำ
โรคพืชต่างๆในระบบไฮโดรโปนิกส์และการป้องกัน
วิธีการปลูกผัก watercress แบบง่ายๆ
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อหารายได้เสริม
การควบคุมโรคผักโดยชีววิธี-ในการปลูกผักไฮโดรฯไร้สาร