H2O Hydro Garden
ที่อยู่: เลขที่ 8 ซอย นาคนิวาส 53 ลาดพร้าว 71 แขวง ลาดพร้าว กทม. 10230
เบอร์โทร: 02 932 9200 มือถือ: 086 500 9698, 084 106 6831
.jpg)
.jpg)
.png)
ปัญหาที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ปัญหาที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ สำหรับปัญหาในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นอาจมีไม่มากเท่าการปลูกบนดิน เพราะการปลูกแบบไร้ดินช่วยตัดปัญหาเรื่องโรคและแมลงที่สะสมในดินไปค่อนข้างเยอะ แต่อย่างไรก็ตามการปลูกผักในไฮโดรโปนิกส์ก็ยังมีปัญหาที่เจ้าของฟาร์มต้องพบเจอและแก้ไข ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมออยู่ดี มาลองดูกันนะคะว่ามีอะไรกันบ้าง เรื่องโรคที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์ โรคที่พบบ่อยในระบบไฮโดรโปนิกส์ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นช่วงหน้าฝนและหน้าร้อน โรคที่เกิดนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผักสลัดต่างๆที่นิยมปลูกด้วยระบบไฮโดร และเนื่องจากผักพวกนี้มีถิ่นกำเนิดในเมืองหนาว จึงทำให้ไม่ชอบอากาศในบ้านเราเท่าไหร่ ฉะนั้นเวลาอากาศร้อนผักจะอ่อนแอ ควบคู่ไปกับเชื้อราพิเทียที่เป็นเชื้อราที่เข้าไปทำลายระบบรากและโคนของต้นไม้เติบโตอย่างรวดเร็วในสภาพอากาศร้อน โรครากเน่าจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงหน้าร้อนนั่นเอง ลักษณะของโรคจะสังเกตได้ง่ายๆจากใบพืชที่เริ่มเหี่ยว รากดำและขาด เมื่อมีการระบาดของโรคนี้ควรเก็บต้นที่เป็นโรคออกจากระบบให้เร็วที่สุดในกรณีที่ปลูกไม่เยอะ เปลี่ยนน้ำสารละลาย พร้อมใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาลงในสารละลายเพื่อสู้กับเชื้อพิเทียม สังเกตอาการพืชอย่างใกล้ชิดว่ามีรากใหม่งอกขึ้นหลังจากเปลี่ยนน้ำและใส่เชื้อราไตรโคเดอร์หรือไม่ หากเชื้อแพร่กระจายไปมากแล้ว อาจต้องล้างระบบใหม่ทั้งหมดโดยอาจมีความจำเป็นต้องเก็บผักก่อนเวลาเก็บ เพื่อไม่ให้เสียหายน้อยที่สุด โรคที่พบบ่อยอีกโรคคือโรคใบจุด ส่วนใหญ่พบบ่อยในช่วงหน้าฝน ในฟาร์มเปิด เนื่องจากมีความชื้นในอากาศสูง อีกสาเหตุนึงที่อาจจะก่อให้เกิดโรคใบจุดได้คือการพ่นน้ำมากเกินไป หรืออากาศถ่ายเทไม่ดีในแปลง สามารถกำจัดโรคนี้ได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี ด้วยการเด็ดใบที่เป็นโรคออก และฉีดพ่นด้วยน้ำที่ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา และพยายามลดความชื้นในแปลงลงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ จะช่วยให้โรคใบจุดหยุดการแพร่กระจายได้เร็วขึ้น แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์ เพลี้ยชนิดต่างๆ สามารถพบเจอได้บ่อยครั้งในผักไฮโดร เช่นเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ซึ่งมักพบเจอในระบบไฮโดรโปนิกส์แบบโรงเรือนเปิด หรือหากการมุ้ง แมลงบางตัวก็ยังสามารถเข้าผ่านไปได้ ข้อแนะนำสำหรับเจ้าของฟาร์มคือการดูแลความสะอาดบริเวณโรงเรือนและบริเวณใกล้เคียงเป็นประจำ หมั่นสังเกตแมลงที่อยู่ฟาร์มว่ามีชนิดใดบ้าง ชนิดไหนเป็นอันตรายต่อผักหรือไม่อย่างไร ศึกษาวงจนชีวิตแมลงนั้นๆ เพื่อทำให้เราเข้าใจ และสามารถใช้สารชีวภาพกำจัดได้อย่างถูกต้อง ข้อแนะนำสำหรับข้อแนะนำในการฉีกพ่นสารชีวภาพต่างๆนั้น เราควรฉีดเฉพาะสารชีวภาพที่ใช้กำจัดแมลงที่เกิดขึ้นในแปลงขณะนั้น ไม่ควรฉีดพร่ำเพรื่อและสับเปลี่ยนกันบ้าง เนื่องจากแมลงจะดื้อยาได้ง่าย การล้างรางปลูกและการดูแลความสะอาดรางปลูก สำหรับการปลูกผักด้วยระบบไฮโดรนั้น เรื่องความสะอาดของรางปลูกและระบบถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากระบบปลูกผักสกปรก จะส่งผลถึงผลผลิตที่ได้รับได้ เพราะเชื้อโรคที่สะสมในรางปลูกสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งฟาร์มที่ใช้บ่อขนาดใหญ่ในการปลูกจำเป็นต้องระวังเรื่องความสะอาดเป็นอย่างมาก ฉะนั้นจึงจำเป็นที่ต้องหมั่นทำความสะอาดแปลงปลูก อุปกรณ์ และ บริเวณโดยรอบให้สะอาด การล้างแปลงปลูกสามารถทำได้หลายวิธี เช่นการใช่คลอรีน การใช้ผงซักฟอก หรือการใช้กรดไนตริก ฟาร์ม H2O Hydro Garden แนะนำให้ใช้กรดไนตริกในการล้างแปลง เนื่องจากพืชสามารถดูดใช้กรดไนตริกได้ ไม่เหมือนการใช้ผงซักฟอง หรือ คลอรีน ซึ่งหากตกค้างในระบบ อาจเป็นอันตรายต่อพืชได้เป็นเป็นสารเคมีที่พืชกินไม่ได้นั่นเอง สีของผักไม่สด ไม่แดง ซีด เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น สารละลายที่ให้ไม่ครบถ้วน ส่วนใหญ่เกิดจากการที่พืชขาดธาตุเหล็กนั่นเอง อีกหนึ่งปัจจัยคือแสงแดดไม่เพียงพอในการสังเคราะห์แสง อาจเป็นช่วงหน้าฝนที่ไม่ค่อยมีแดด หรือสถานที่ตั้งรางปลูกอยู่ใต้ร่มเงาหรือมีหลังคาโรงเรือน สแลนที่มากเกินไป การดูแลสภาพแปลงปลูก การดูแลสภาพแปลงปลูกนั้นเป็นอีกหนึ่งอย่างที่เจ้าของฟาร์มผักไฮโดรต้องคอยระวัง หากระบบที่ใช้ปลูกเกิดการรั่วของน้ำ และน้ำลดหรือขาดไปช่วงหนึ่ง สามารถส่งผลให้ผักที่เราปลูกตายได้ หรือหากปั๊มเสียไฟดับ ระบบเช่นระบบNFT และ DFT จะแห้ง และพืชก็จะตายในเวลาไม่ถึงชั่วโมงหากดับในช่วงกลางวัน
สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกผัก
|