เกร็ดความรู้... เกี่ยวกับสารละลายธาตุอาหารปุ๋ยเอบี
ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


เกร็ดความรู้... เกี่ยวกับสารละลายธาตุอาหารปุ๋ยเอบี

 เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับสารละลายธาตุอาหารปุ๋ยเอบี

อย่างแรกที่เราควรทราบเกี่ยวกับการเลือกซื้อสารละลายเอบีนะคะ คือเรื่องของความเข้มข้น โดยส่วนใหญ่แล้วฟาร์มแต่ละฟาร์มจะมีสูตรปุ๋ยเป็นของตัวเอง โดยมีความเข้มข้นหลักๆค่ะ 1:100 และ 1:200 นั่นเอง ฉะนั้นเวลาเราเปรียบเทียบราคาปุ๋ยให้ดูความเข้มข้นด้วยเพราะราคาอาจต่างกันหลายเท่าตัวเพราะความเข้มข้นต่างกันนั่นเอง


อย่างที่สองที่ควรดูคือเรื่องของอายุสารละลาย ซึ่งผู้ปลูกจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะซื้อสารละลายปุ๋ยเอบีที่ผสมแล้ว ซึ่งมาในรูปแบบปุ๋ยน้ำ ข้อควรระวังสำหรับปุ๋ยน้ำคืออายุของปุ๋ย เพราะส่วนใหญ่ปุ๋ยที่ผสมแล้ว จะเก็บได้ไม่เกิน 4 เดือน ปุ๋ยจะเริ่มตกตะกอน ซึ่งพอปุ๋ยตกตะกอนแล้วพืชจะไม่สามารถนำเอาธาตุอาหารไปใช้ได้นั่นเอง ส่วนการเก็บรักษาปุ๋ยที่ดีนั้นคือการเก็บปุ๋ยให้พ้นจากแสงแดด เพราะแสงแดดส่วนใหญ่จะส่งผลทำให้ธาตุอาหารบางตัวหายไปได้ค่ะ  แต่หากผู้ปลูกซื้อปุ๋ยแบบเกร็ดหรือแบบแห้งมา ส่วนใหญ่จะมีอายุที่นานกว่า เก็บได้เป็นปีหากยังไม่ผสม ควรเก็บในที่แห้งและแดดส่งไม่ถึงค่ะ 


อย่างที่สามที่ความสังเกตคือสีของธาตุอาหาร ซึ่งบางครั้งอาจดูยากหน่อย แต่สามารถบอกได้บากตัวเช่น หากสีของธาตุอาหารบีมีสีเขียวขุ่น ไม่ออกเป็นสีเขียวใสเหมือนปกติ แสดงว่าปุ๋ยบีนั้นอาจเกิดการบนเปื้อนกับปุ๋ยเอ หรือการดูสีของปุ๋ยเอนั้น ก็สามารถบอกได้ว่าปุ๋ยที่เราซื้อนั้นใส่ธาตุเหล็กม่วงด้วยไหม ซึ่งหากสีปุ๋ยเอออกมาทางเหลืองหรือน้ำตาล ส่วนใหญ่จะใส่แค่เหล็กเหลือหรือแดงเท่านั้น เหล็กม่วงจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง ฉะนั้นผู้ผลิตส่วนใหญ่จะไม่ใส่เหล็กตัวนี้เพื่อลดต้นทุนนั่นเอง


อย่างที่สี่คือการเลือกซื้อปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืชที่เราจะปลูก เช่นพืชทานใบ เช่นผักสลัด ผักคะน้า ผักชี  หรือพืชให้ผล เช่น เมล่อน สตรอว์เบอร์รี่ ก็ควรใช้ปุ๋ยให้เหมาะสม เพราะหากใช้ผิดใช้ถูก เอาปุ๋ยเอบีสำหรับพืชทานใบมาปลูกเมล่อน ผลเมล่อนที่ออกมาจะไม่หวานได้ค่ะ


อย่างสุดท้ายเกี่ยวกับปุ๋ยเอบี คือเรื่องที่ว่าทำไมเราห้ามนำปุ๋ยสองตัวนี้มาใส่พร้อมกัน ว่าทำไมปุ๋ยไฮโดรฯ จึงต้องแยกเป็น ปุ๋ย A กับ ปุ๋ย B นั่นก็เพราะเนื่องจาก ธาตุ แคลเซียม และ ฟอสเฟต ซึ่งต่างก็เป็นแร่ธาตุสำคัญ ที่พืชต้องการนั้น หากอยู่ร่วมกัน ในถังสารละลายที่เข้มข้น จะทำปฏิกิริยาทำให้ตกตะกอน พอตกตะกอนแล้ว พืชจะไม่สามารถนำมาใช้ได้ค่ะ ดังนั้น หากผู้ปลูกเกิดทำปุ๋ยตัวนี้ผสมกันโดยบังเอิญหรือผสมผิด ปุ๋ยนั่นจะเสียทันที แนะนำให้ซื้อใหม่และผสมใหม่จะดีกว่าค่ะ

 

ส่วนใครยังมีข้อสงสัยอื่นๆเกี่ยวกับปุ๋ยนะคะ สามารถสอบถามเข้ามาได้ที่ Line: @h2ohydrogarden ค่ะ

 

สอบถามเรื่องการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพิ่มเติมทักมาได้เลยค่ะ

 

 เพิ่มเพื่อน

 



ความรู้เบื้องต้นผักไฮโดร

ก่อนเริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องรู้จักระบบน้ำกันก่อน
ปลูกกัญชากัญชงแบบไฮโดรโปนิกส์
ไฮโดรโปนิกส์แบบแนวตั้ง
The Kratky Method คืออะไร?
3 ระบบไฮโดรยอดนิยม
การทำลายพืชที่เป็นโรคใบจุดอย่างถูกวิธี
แหล่งน้ำที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักระบบไฮโดโปนิกส์
เครื่องมือวัดแสง Lux meter
การปลูกผักเคล ราคาดี ไม่ยากอย่างที่คิด
ค่าecและค่าpH ในการปลูกผักแต่ละชนิด
อาการพืชใบเหลือง เกิดจากอะไร แก้ยังไง
การเลือกปั๊มน้ำสำหรับรางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ให้เหมาะสม
เคล็ดลับการปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งที่คนไม่ค่อยรู้
เคยสงสัยไหมว่าผักไฮโดรเติบโตได้อย่างไร เมื่อไม่มีดิน?
ปัญหาเรื่องระบบน้ำที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
งานวิจัยเรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
การเปรียบเทียบระหว่างการวัดค่าpH ด้วย pH meter เทียบกับ การวัดด้วย drop test
ปลูกผักกินเองง่ายๆแบบคนขี้เกียจ
ความรู้เรื่องการปลูกผักด้วยหลอด LED
ความแตกต่างระหว่างการปลูกแบบน้ำนิ่ง กับ การปลูกแบบน้ำวน
ราชินีของผักทั้งมวลผักเคล (kale)
เคล็ดลับในการเลือกซื้อปุ๋ยเอบี!!!
จุดแข็งของการปลูกพืชด้วยระบบHydroponics
ก่อนปลูกผักสลัดขายต้องรู้อะไรบ้าง?
ปลูกขึ้นฉ่ายน้ำนิ่ง
ครบเครื่องเรื่องปุ๋ยแบบชาวบ้าน
น้ำหมักชีวภาพสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช
การปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งแบบง่ายๆเองที่บ้าน
เทคนิคการเพาะเมล็ดในเพอร์ไลท์และเวอร์มิคูไลท์
การใช้กับดักกาวเหนียวในฟาร์มผักไฮโดรของเรา
โรคที่เกิดกับต้นอ่อนหรือกล้าผัก
มาทำความรู้จักผักสลัดของเรากันดีกว่า
ปัจจัยที่มีผลต่ออายุของเมล็ดพันธุ์
การทำงานของรากพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
อาการขาดธาตุอาหารและลักษณะอาการเป็นพิษ
เชื้อ Pythium…….สาเหตุสำคัญของโรคที่เกิดกับราก
ช่องทางการขายผักสลัด
วิธีการล้างและเก็บผักสลัดให้อยู่ได้นานๆ
วิธีการปลูกผักร็อกเก็ต
แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์วิธีการป้องกันและกำจัด
ขั้นตอนการกำจัดแมลงเพื่อลดปัญหาแมลงและศัตรูพืชของผักไฮโดรโปนิกส์
โปรแกรม NutriCal article
โรคใบจุดผักไฮโดร
​เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนคิดจะปลูกผักสลัดขาย
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดร
การปลูกผักกาดขาวแบบไม่ง้อปั๊มทานเองในครอบครัว
สูตรอาหารพืช ปุ๋ยA+B
การปลูกผักบุ้งระบบไฮโดรแบบน้ำนิ่ง
ระบบการปลูกผักโดยไม่ใช่ดินในแบบต่างๆ
ทำความรู้จักผักสลัดไฮโดรโปนิกส์
ประวัติความเป็นมาไฮโดรโปนิกส์
ความรู้ทั่วไปของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ article
ไฮโดรโปนิกส์ปลูกอะไรได้บ้าง
ไฮโดรโปนิกส์น้ำนิ่งคือ?
เทศกาลกระเช้าผักเริ่มขึ้นแล้ว
กัญชงคืออะไร?
กัญชง V.S. กัญชา ต่างกันอย่างไร
9 ผักสวนครัวที่แนะนำให้ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์
สิ่งที่ต้องดูแลและควบคุมเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
ต้องดูแลควบคุมอะไรบ้างเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
เรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
ผักไฮโดรโปนิกส์ ทำให้เกิดมะเร็ง...จริงหรือ
ปัญหาที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ประโยชน์ของผักไฮโดรโปนิกส์
เปรียบเทียบการปลูกด้วยเพอร์ไลท์และฟองน้ำ
โรคพืชต่างๆในระบบไฮโดรโปนิกส์และการป้องกัน
วิธีการปลูกผัก watercress แบบง่ายๆ
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อหารายได้เสริม
การควบคุมโรคผักโดยชีววิธี-ในการปลูกผักไฮโดรฯไร้สาร