H2O Hydro Garden
ที่อยู่: เลขที่ 8 ซอย นาคนิวาส 53 ลาดพร้าว 71 แขวง ลาดพร้าว กทม. 10230
เบอร์โทร: 02 932 9200 มือถือ: 086 500 9698, 084 106 6831
.jpg)
.jpg)
.png)
สร้างแปลงปลูกขนาดเล็กเอง We intended to use the materials available in the market in our design as much as posible. Therefore it will be easily to buy from shops near your house. Tool needed will be limited to household tool that you are familiar with. เราตั้งใจออกแบบแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์โดยใช้วัสดุที่มีขายอยู่ในท้องตลาดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้สามารถหาซื้อจากร้านใกล้บ้านท่านได้ และที่สำคัญมีราคาถูก เครื่องมือที่ใช้ก็พยายามให้จำกัดเฉพาะเครื่องมือที่มีอยู่ในบ้านของท่านแล้ว หรือจัดหาได้โดยง่ายไม่แพงนัก
รูปข้างบนเรากำลังทดสอบปลูกผักบนแปลงปลูกต้นแบบอยู่ หลังจากปรับปรุงอีกเล็กน้อยก็จะสามารถเปิดตัวต่อสาธารณะชนได้ วันที่ 30 พฤษภาคม 2011: เราเก็บผักไฮโดรโปนิกส์จากแปลงนี้ได้ 2.5 กิโลกรัม ได้แก่กรีนโอ๊คและเรดโอ๊ค จากนั้นเราล้างแปลงด้วยน้ำประปา แล้วปลูกผักกาดขาวไดโตเกียว 15 ต้น เร็ดโอ๊ค 5 ต้น เพิ่มเข้าไป สารละลายมีความเข็มข้น EC =1.7 , PH = 6 วันที่ 3 มิถุนายน 2011: เราเพาะกรีนโอ๊คเพิ่มอีก 5 ต้น ผักทุกต้นดูดี วันที่ 11 มิถุนายน 2011: เก็บเรดโอ๊ค บัตเตอร์เฮด 0.6 กิโลกรัม แล้วปลูกเรดโอ๊คและกรีนโอ๊คเพิ่มอย่างละ 3 ต้น วัดค่า EC ได้ 0.6 ซึ่งต่ำมาก ปรับเป็น 1.7 แล้วเตือนผู้ดูแลให้เอาใจใส่แปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขนาดเล็กนี้มากขึ้น วันที่ 13 มิถุนายน 2011: เก็บผักบัดเตอร์เฮด 1 กิโลกรัม ต้นยังเล็กอยู่แต่ต้องเก็บเพราะต้องย้ายผักกาดขาวไดโตเกียวจากรางล่างขึ้นรางบน เลยได้รับประทานผักไร้ดินเบบี้ตามสมัยนิยม ปลูกกรีนโอ๊คและเรดโอ๊คอย่างละ 6 ต้นเพิ่ม วันที่ 21 มิถุนายน 2011: เก็บผักคอส 2 ต้น และปลูกเรดโอ๊คเข้าไปแทนที่ วัด EC ได้ 0.6 -วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฏาคม 2011 - วันนี้วันดีเป็นศรีวัน เพราะเป็นวันเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนไปเลือกตั้งวันนี้ต้องทำสิ่งดีๆ ก่อนนั่นก็คือ เก็บผักโฮโดรโปนิกส์แปลงทดลองทั้งหมด ล้างราง และเปลี่ยนน้ำสารละลาย จึงขอเชิญท่านสมาชิกเครือข่ายสุขภาพ H2O hydrogarden ของเราติดตามไปดูกรรมวิธีกันครับ - 8:00 น. หลังจากรับประทานอาหารเช้าซึ่งได้แก่หมูสะเต๊ะ และขนมปังปิ้ง อาจาดแบบชนิดผักมากๆ เพื่อให้ได้สัดส่วน 1:1:2 (เนื้อสัตว์:แป้ง:ผัก) ตามด้วยน้ำผลไม้และกาแฟ 1 ถ้วยเพื่อให้ตาสว่าง แล้วจึงขึ้นไปที่สวนผักไฮโดรโปนิกส์ ไร้สารฯบนดาดฟ้าบ้านพักนานาชาติบ้านสบาย
เก็บผักออกจากรางเอามากองไว้แล้วมาวิเคราะห์ผลงานความขยันและขี้เกียจของเรา
ผักประมาณ 70% เติบโตดีพอสมควรแม้เราจะดูแลการเติมสารละลายแค่อาทิตย์ละ 1-2 ครั้งเท่านั้น โดยเฉพาะในส่วนต้นริมๆ แปลงจะโตดี เนื่องจากโดนแดดพอเหมาะ ที่ว่าพอเหมาะเพราะเราเอาแสลนมาบังแสงไว้ทั้งด้านบนและด้านข้างสองด้าน แต่ช่วงนี้ฝนตกบ่อยดังนั้นจำนวนแดดโดยรวมจึงน้อยกว่าเกณฑ์ ดังนั้นบริเวณริมๆ แปลงจึงมีแสงพอดี ส่วนผักกลางๆ แปลงและทางทิศเหนือซึ่งมี แสลนบังทั้งแถบจะเกิดอาการโตช้าและยืด โดยเฉพาะผักที่อยู่ด้านล่างที่เป็นพวกผักที่ชอบแดด เช่นกรีนโอ๊คยืดจนเสียรูปทรงไปเลย อันนี้เป็นผลจากความขี้เกียจของเราด้วย เพราะขึ้นมาดูแลประมาณอาทิตย์ละ 1-2 ครั้งเท่านั้น และพบว่าต้นที่เริ่มยืดก็ไม่ได้แก้ไขปรับแสลนหรือย้ายผักให้เหมาะสมกับขนาดและชนิดนั่นเอง ผักในส่วน 30% นี้ถ้าย้ายไปในตำแหน่งที่ถูกต้องประมาณว่าจะฟื้นกลับมาได้สักครึ่งหนึ่งส่วนอีกครึ่งหนึ่งถ้าไม่ตายก็เลี้ยงไม่โตครับ น่าสงสารน้องผักไฮโดร จัง
- ผักกาดขาวไดโตเกียวปลูกหลังใครๆ โตเร็วมาก ซึ่งในภาพที่เห็น เราขโมยเก็บต้นโตๆ โดยไม่ได้ลงบันทึกไป 3-4 ต้นแล้วนะครับ (เอาไปทำแกงจืดและผักน้ำมันหอยอร่อยดี)
- ผักต้นโตๆ ที่เก็บในวันนี้หลังจากออกไปเลือกตั้งแล้วจะเลยไปบ้านพี่สาวผู้มีพระคุณ จะเอาไปฝากท่านครับแม้ว่าท่านจะเชียร์คนละพรรคก็ตาม
- สำรวจรางที่เก็บผักและถอดท่อน้ำเข้าออกด้วย เพื่อทำความสะอาดเพราะตรงจุดนี้มีการสะสมของวัสดุปลูก (เพอร์ไลท์และเวอร์มิคูไลท์) ทำให้สายยางไมโคร (สายยางน้ำเข้าหัวแปลง) ตันบ่อยๆ แล้วใส่แคบ(cab)ตรงปลายไว้แบบหลวมๆ จะได้ทำความสะอาดระหว่างปลูกได้สะดวก
- จะเห็นว่าบนแปลงมีใบผักที่เหี่ยวเน่าติดตามรางพอสมควร เอาน้ำฉีดจนสะอาดทั้งข้างนอกและข้างในแปลง เราไม่ได้ใช้ฟองน้ำหรือสก๊อตไบร์ทขัดให้ขาวหมดจดเพราะต้องการทำแบบง่ายๆ แต่สะอาดคือฉีดให้คาบส่วนใหญ่ออก จะเหลือคาบติดบ้างเล็กน้อยก็ไม่เป็นอะไรครับ
- ถอดท่อ บางช่วงออกเพื่อให้สามารถฉีดทำความสะอาดได้ทั่วทุกจุด ซึ่งระบบที่ H2O hydrogarden ออกแบบมานั้นถอดแค่เพียง 1-2 จุดก็สามารถฉีดล้างได้ทั่วอยู่แล้ว และการถอดก็ใช้วิธีดึงออกจากกันได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใดๆ
- ที่สำคัญคือเมื่อฉีดล้างจนสะอาดแล้วก็ยกหัวรางให้น้ำไหลออกแล้วตากแดดให้แห้งสนิทเท่านี้เชื้อโรคต่างๆ ก็ตายเรียบแล้วครับ
- น้ำที่อยู่ในถังเราใช้ปั๊มดูดน้ำออกจนเหลือน้ำน้อยแล้วจึงดึงถังออกมาล้างทำความสะอาดตะไคร่และเศษรากออก จากนั้นก็คว่ำถังให้แห้ง
- ทำเสร็จเวลาประมาณ 9:30 น. ใช้เวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง ที่ช้าเพราะต้องหยุดถ่ายรูปเป็นช่วงๆ
- ทิ้งระบบตากแดดไว้จนถึงตอนเย็นๆ จึงค่อยเอาผักไฮโดรฯ ต้นเล็กที่เก็บไว้ในกะละมังใส่น้ำแช่รากไว้ นำกลับใส่รางปลูกพร้อมกับเพิ่มกล้าผักที่เพาะเพิ่มเตรียมไว้ครับ
ตอนนี้ต้องขอตัวไปอาบน้ำแต่งตัวเพื่อไปเลือกตั้งก่อน แต่เลือกพรรคอะไรไม่บอก เพราะข่าย
สุขภาพ H2O hydrogardenไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองครับ
ทุกครั้งที่ผู้เข้าอบรมมาชมแปลงปลูกผักโดรโปนิกส์ขนาดเล็กของเราต่างก็พอใจ มีอยู่หลายท่านมาศึกษาโดยละเอียด วัดขนาดและกลับไปทำขึ้นมาใช้เอง กลุ่มนี้เป็นพวกมีฝีมือด้านช่างและชอบทำอะไรเองอยู่แล้ว จึงเป็นเรื่องหมูๆ สำหรับเขา บางท่านใจกว้างทำแล้วโชว์รูปและวิธีทำใน Facebook ของ H2O hydrogarden เพื่อแนะนำคนอื่นอย่างสนุกสนาน
อีกกลุ่มไม่ค่อยมั่นใจว่าจะทำได้เอง ขอให้เปิดอบรมวิธีการทำภาคปฏิบัติ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งบอกว่าไม่มีเวลาทำเอง บางคนบอกว่าทำไม่เป็นหรอกช่วยทำให้ได้ไหม
อย่างที่บอกแต่ต้นว่าเราตั้งใจให้ทุกคนทำแปลงปลูกเอง เพราะเป็นการพิสูจน์ว่าคุณชอบการปลูกผักจริงๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นที่สำคัญเพราะเรารู้จักหลายๆ คนที่ซื้อแปลงปลูกมาแล้วปลูก 1-2 รอบแล้วทิ้งร้างไว้ เสียดายของ
เราขายแปลงปลูกที่ทำขึ้นมาไว้สาธิตไป 2 ชุดแล้ว และกะว่าจะเปิดอบรมวิธีทำแปลงปลูกผักไฮโดรฯ ด้วยตนเองเร็วๆ นี้ กำลังตระเตรียมวิธีการอบรมและหาเครื่องมืออยู่ ส่วนเรื่องการรับทำให้เราก็ตั้งราคาขายแล้ว ใครสนใจสั่งได้เลย เปรียบเทียบกับที่มีขายในตลาดราคาของเราถูกที่สุดอยู่แล้ว ทนทานที่สุด ประหยัดพื้นที่ที่สุด ขนาดนั้นเลยทีเดียว
ข้อเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ดังนี้
แปลงปลูกขนาดเล็กในท้องตลาด แปลงปลูกของ H2O ไฮโดรการ์เด้น
- รางทำจาก PVC ผสม UV โครงสร้าง - รางทำด้วยท่อ PVC ผสม UV
เป็นเหล็ก ใช้ไปนานๆ เกิดสนิมผุกร่อนได้ โครงสร้างเป็น PVC ผสม UV จึงทนทานมาก
- มีหลุมปลูก 20-25 หลุม สำหรับผักสลัด - มีหลุมปลูก 23 หลุมและหลุมปลูกอนุบาล
ไม่มีแปลงอนุบาล ทำให้ 1 รอบ ได้ต้นผัก 36-38 หลุม ปลูกได้มากกว่า 3 เท่าและ
เพียง 20-25 ต้น ประหยัดพื้นที่ด้วย
- ถ้าปลูกแล้วอยากจะขยายแปลงปลูก ต้องซื้อ - อุปกรณ์ทุกชิ้นซื้อได้จากร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป
รางที่ทำเฉพาะ ทำให้มีราคาแพงเช่นเดิม จึงขยายแปลงได้เอง ต้นทุนถูกลงไปอีกมาก
ไม่สามารถทำเองในต้นทุนที่ถูกได้
- โครงสร้างต่อกันด้วยการเชื่อม ต้องใช้ช่าง - โครงสร้างทุกชิ้นใช้ระบบ knock down
ที่มีความชำนาญในการทำๆ ให้ สามารถต่อและถอด ได้ด้วยตนเอง
สะดวกแก่การเคลื่อนย้าย
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |