H2O Hydro Garden
ที่อยู่: เลขที่ 8 ซอย นาคนิวาส 53 ลาดพร้าว 71 แขวง ลาดพร้าว กทม. 10230
เบอร์โทร: 02 932 9200 มือถือ: 086 500 9698, 084 106 6831
ก่อนเริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องรู้จักระบบน้ำกันก่อน ก่อนเริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ มารู้จักระบบน้ำกันก่อน มีมือใหม่หลายคนที่อยากจะปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในช่วงโควิดแบบนี้ ทั้งอยากปลูกทานเองและปลูกเพื่อหารายได้เสริมในช่วงที่หลายคนอยู่บ้านมากขึ้นWFHกันมากขึ้น เลยอยากหากิจกรรมแก้เหงาหรือหารายได้เสริม การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นทำได้หลายวิธี แต่วันนี้เราจะมาแนะนำระบบปลูกที่แนะนำสำหรับมือใหม่ที่อยากลองปลูกผีกทานเองและระบบที่นิยมใช้กันในประเทศไทย หาซื้อหรือทำเองมาให้เลือกกันนะคะ ไฮโดรโปนิกส์คือ? ไฮโดรโปนิกส์คือการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในการปลูก โดยจะใช้วัสดุปลูกอย่างอื่นมาทดแทนดินเพื่อให้รากพืชยึดเกาะได้ ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นฟองน้ำ เพอร์ไลท์เวอมิคูไลท์ ทราย หรือ เมล็ดดินเผา โดยเลือกตามความเหมาะสมของพืชที่จะปลูก ส่วนสารอาหารที่พืชเคยได้รับจากดินนั้นจะถูกทดแทนด้วยน้ำที่ผสมสารละลายปุ๋ยเอบี ปุ๋ยเอบีที่ใช้ในการปลูกจะใส่ตามความต้องการของพืชแต่ละชนิด เช่นปุ๋ยสำหรับผักทานใบ ปุ๋ยสำหรับไม้ผล หรือปุ๋ยสำหรับไม้ดอก คล้ายกับปุ๋ยสูตรต่างๆที่ปกติเราได้ยินกัน เช่น ปุ๋ย 16-16-16 แต่ความแตกต่างสำหรับปุ๋ยแบบเอบีกับปุ๋ยธรรมดาคือปุ๋ยเอบีเป็นปุ๋ยเฉพาะที่ทำมาเพื่อละลายในน้ำ ให้พืชดูดกินได้ง่ายกว่าปุ๋ยธรรมดา จึงไม่แนะนำให้เอาปุ๋ยธรรมดามาใช้กับผักไฮโดรนะคะ ระบบน้ำนิ่งน้ำวน? หลายคนสงสัยเกี่ยวกับระบบน้ำนิ่งน้ำวน ว่าต่างกันยังไงอันไหนดีกว่า? ระบบน้ำนิ่งน้ำวนต่างกันที่ออกซิเจนในน้ำ ระบบน้ำนิ่งคือการปลูกผักในกล่องโฟมหรือภาชนะอย่างอื่น เช่นกะละมัง ขวดน้ำ โดยการปลูกนั้นจะไม่มีการใช้ปั๊มน้ำเพื่อเติมอากาศเข้าไปในน้ำที่ใช้ปลูก ออกซิเจนในน้ำจะน้อยกว่าระบบน้ำวน ข้อดีของการปลูกด้วยน้ำนิ่งคือราคาถูก ประหยัดไฟ ไม่ต้องใช้ปั๊ม แต่การปลูกแบบน้ำนิ่งจะเหมาะกับการปลูกเล่นทานเองมากกว่า เนื่องจากออกซิเจนในน้ำมีน้อย ทำให้เกิดโรคได้ง่ายกว่า ผักโตช้ากว่า ดังนั้นถ้าต้องการทดลองปลูกผักไร้ดินทานเล่นที่บ้าน ระบบน้ำนิ่งอาจตอบโจทย์ก็ได้ค่ะ แต่สำหรับใครที่อยากลองปลูกเป็นธุรกิจ 100ต้นขึ้นไป แนะนำเป็นระบบน้ำวนที่ปลูกง่ายกว่า แต่การลงทุนก็จะสูงขึ้นมาตามขนาด ระบบน้ำวนที่นิยมปลูกกันในประเทศไทย 1. DRFT (Dynamic Root Floating Technique ) ระบบปลูกผักไฮโดรแบบน้ำลึก เห็นกันเยอะมากสำหรับระบบน้ำ หน้าตาแปลงปลูกจะเป็นถาดพลาสติกมีลอน ปูด้วยพลาดติกดำ ลอยด้วยแผ่นโฟม มีสะดืออ่างให้น้ำลง ส่วนใหญ่รางรพบบนี้จะไม่เอียง ข้อดีของระบบปลูกนี้คือน้ำเยอะ ทำให้น้ำเย็น รากพืชที่ปลูกจะสวย แต่ข้อเสียจะเป็นเรื่องของราและตะไคร่น้ำที่ชอบขึ้นที่แผ่นโฟม ต้องเปลี่ยนแผ่นโฟมบ่อย พืชที่แนะนำปลูกด้วยระบบนี้จะเป็นพืชทรงสูง เนื่องจากเชื้อราที่ขึ้นบนแผ่นโฟมจะทำให้ใบพืชเป็นโรคใบจุดได้ พื้ที่แนะนำเช่น คอส ขึ้นฉ่าย ผักบุ้ง กวางตุ้ง เป็นต้น 2. NFT (Nutrient Film Technique) ระบบNFTนั้นคือระบบที่เราเห็นกันบ่อยที่สุดในการปลูกผักไฮโดร ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ระบบนี้หน้าตาเป็นรางแบนๆ โดยที่ธาตุอาหารนั้นจะไหลผ่านท่อเป็น แผ่นฟิล์มบางๆ (หนาประมาณ 2-3 มิลิเมตร) ผ่านรากของต้นพืชในรางปลูก พืชในระบบนั้นจะได้ธาตุอาหารจากน้ำที่ไหลผ่าน อีกทั้งมีช่องว่างในรางปลูกให้รากอากาศสามารถเติบโตได้อีกด้วย ในระบบNFTนั้นมีทั้งแบบรางปิดและแบบฝาเปิด H2O แนะนำให้ซื้อรางแบบเปิดเนื่องจากการทำความสะอาดนั้นทำได้ง่ายและสะดวกกว่าเยอะ เวลาเลือกซื้อรางNFT ควรดูหลายอย่างประกอบกัน เช่นราคา ความหนาของพลาสติกที่ใช้ การออกแบบรูปทรงของรางว่าทำความสะอาดง่ายไหม โรงงานที่ผลิต ถ้าจะให้ดี ก่อนตัดสินใจซื้อรางปลูกกับเจ้าไหน เราควรขอไปดูฟาร์มที่ใช้งานจริงเสียก่อน เพื่อความมั่นใจว่าการลงทุนของเรานั้นคุ้มค่า สำหรับรางNFTนั้นมีข้อเสียอยู่สองเรื่องคือ ราคาค่อนข้างสูงถ้าเทียบกับระบบอื่น และข้อเสียอีกอย่างคือหากไฟฟ้าดับติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ต้นไม้ตายเนื่องจากรางจะแห้งเร็วมากหากปั๊มน้ำหยุดทำงาน 3 ระบบ DFT (Deep Flow Technique) เป็นระบบที่ใช้ท่อ PVC มาปลูกผัก ซึ่งโดยรวมแล้วจะคล้ายๆกับการปลูกแบบNFT แต่รางDFTนั้นปริมาณน้ำในท่อจะเยอะกว่า แบบNFT ต้นทุนก็ถูกกว่าระบบNFTค่อนข้างมาก น้ำในระบบที่มากกว่ายังช่วยเรื่องความร้อนของน้ำในรางปลูก เพราะน้ำในรางมีเยอะกว่าอุณหภูมิน้ำจะเย็นกว่าระบบNFTในหน้าร้อน ทำให้เป็นโรครากเน่าช้ากว่า แต่ระบบนี้ก็มีข้อเสียเรื่องความสะอาดเนื่องจากเป็นท่อPVC จึงทำให้ล้างทำความสะอาดค่อนข้างยาก ไม่สามารถเปิดท่อมาขัดทำความสะอาดได้ จึงทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคต่างๆ ส่งผลกับการเกิดโรคระบาดในแปลงสะสมวนเวียนได้ง่ายขึ้น
|