การใช้กับดักกาวเหนียวในฟาร์มผักไฮโดรของเรา
ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


การใช้กับดักกาวเหนียวในฟาร์มผักไฮโดรของเรา

กาวดักแมลง กาวเหนียวดักแมลง กาวดักแมลงผักไฮโดร กาวเหนียว กาวเหนียวสีเหลือง กาวเหนียว ผักไฮโดร

การใช้กับดักกาวเหนียว

แมลงศัตรูพืชเป็นสิ่งที่เจ้าของฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ทุกท่านน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะพืชและแมลงนั้นเป็นของคู่กัน และถึงแม้ว่าการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จะมีสัดส่วนแมลงที่พบในแปลงน้อยกว่ากว่าปลูกผักทั่วไป เพราะมีการกางมุ้งซึ่งช่วยลดจำนวนแมลง และการปลูกผักบนรางปลูกที่ทำให้การจัดการและป้องกันแมลงนั้นง่ายกว่าการปลูกในดิน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีแมลงมาทำร้ายผักของเรานะคะ ยิ่งสำหรับมือใหม่หัดปลูกแล้วยิ่งต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแมลงชนิดต่างๆไว้ล่วงหน้าเลยค่ะ เพราะเวลาเราพบเจอแมลงในฟาร์มผักของเราแล้ว ต้องรีบกำจัดให้หมดไปเพราะแมลงส่วนใหญ่สามารถแพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ถ้าเราไม่เตรียมตัวและคอยเฝ้าระวังผักน้อยของเราไว้ให้ดี มารู้ตัวอีกทีก็อาจโดนแมลงแย่งทานไปหมดแล้วก็เป็นไปได้ค่ะ 

การใช้กับดัดกาวเหนียว เป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยลดจำนวนประชากรแมลงในฟาร์มผักของเราได้ แถมยังใช้ง่ายและปลอดภัยต่อผู้บริโภค  นอกจากนี้การใช้กับดัดกาวเหนียวยังช่วยทำหน้าที่เป็น indicator เฝ้าระวังว่ามีการระบาดของแมลงชนิดใดในแปลงปลูกของเราบ้าง ช่วยบอกความรุนแรงของการระบาดว่าหนักขนาดไหน เพื่อที่ช่วยให้เราต่อสู้กับแมลงได้ทันและถูกวิธี การใช้กับดัดการเหนียวจะช่วยดักจับแมลงที่โตเต็มวัย โดยเฉพาะตัวที่มีปีก เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัด แมลงหวี่ขาว และผีเสื้อบางชนิด สำหรับสีที่แมลงชอบนั้นจะมีอยู่ 2 สี ได้แก่สีฟ้าและสีเหลือง ดังนั้น วัสดุที่ควรเอามาทากาวดักแมลงจึงแนะนำให้ใช้เป็น2สีนี้ค่ะ แบบในรูปข้างล่างคือของที่ฟาร์ม H2O Hydro Garden นะคะ เราใช้สีเหลืองอย่างที่เห็น^^

 

กาวดักแมลง กาวเหนียวดักแมลง กาวดักแมลงผักไฮโดร กาวเหนียว กาวเหนียวสีเหลือง กาวเหนียว ผักไฮโดร

วิธีการทำกับดัดกาวเหนียว

นำวัสดุชนิดใดก็ได้ที่มีสีเหลือง เช่น ขวดน้ำ กระป๋อง แกลลอนน้ำที่ไม่ใช่แล้วมาทากาวเหนียวและมาแขวนไว้ที่แปลงเพื่อเป็นการประหยัด หรือถ้าต้องการใช้ซ้ำให้ใช้เป็นแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดสีเหลือง ตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการและสวมทับด้วยถุงพลาสติกใส และทากาวเหนียวบนถุงให้ทั่ว ก่อนนำไปไว้ที่แปลงผัก เราจะทำการเปลี่ยนถุงพลาสติกโดยการสังเกตว่ากาวที่ทาลงไปนั้นเริ่มหายเหนียวและเสื่อมคุณภาพเนื่องจากในแปลงปลูกผักไฮโดรส่วนใหญ่มีการพ่นน้ำตลอดทั้งวันเพื่อควบคุมความเย็นจึงทำให้กาวเสื่อมคุณภาพค่อนข้างเร็ว การแขวนกับดัดกาวเหนียวที่แปลง ส่วนใหญ่จะใช้ประมาณ 80 อันต่อ1ไร่ค่ะ ระยะห่างประมาณ 3 เมตร เวลาแขวนพยายามให้วัสดุที่ทากาวใกล้ผักเรามากที่สุด แต่ก็ต้องระวังกาวเหนียวโดนผักหรือหยดลงบนผักด้วยนะคะ 

เมื่อติดกับดักกาวเหนียวแล้ว เราก็จะสามารถนำแผ่นกาวเหนียวที่จับแมลงมาวิเคราะห์ได้ว่ามีแมลงอะไรบ้างในแปลงของเรา แนะนำให้มีกล้องส่องพระไว้ซักอันนะคะ เพราะแมลงบางชนิดตัวค่อนข้างเล็ก แยกแยะออกค่อนข้างยากเลยทีเดียว ใช้กล้องส่องพระตรวจวิเคราะห์ดูว่าเป็นแมลงชนิดใด จึงค่อยหาวิธีกำจัดค่ะ สำหรับวิธีป้องกันและกำจัดแมลงแต่ละชนิดอย่างไรบ้าง อ่านได้ตามนี้เลยนะคะ http://bit.ly/1V5Tq8T ส่วนถ้าใครมีคำถามเพิ่มเติม Inbox facebook ถามมาได้เลยนะคะ หรือLineมาได้ค่ะ

 

  สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกผัก

 

เพิ่มเพื่อน

 



ความรู้เบื้องต้นผักไฮโดร

ก่อนเริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องรู้จักระบบน้ำกันก่อน
ปลูกกัญชากัญชงแบบไฮโดรโปนิกส์
ไฮโดรโปนิกส์แบบแนวตั้ง
The Kratky Method คืออะไร?
3 ระบบไฮโดรยอดนิยม
การทำลายพืชที่เป็นโรคใบจุดอย่างถูกวิธี
แหล่งน้ำที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักระบบไฮโดโปนิกส์
เครื่องมือวัดแสง Lux meter
การปลูกผักเคล ราคาดี ไม่ยากอย่างที่คิด
ค่าecและค่าpH ในการปลูกผักแต่ละชนิด
อาการพืชใบเหลือง เกิดจากอะไร แก้ยังไง
การเลือกปั๊มน้ำสำหรับรางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ให้เหมาะสม
เกร็ดความรู้... เกี่ยวกับสารละลายธาตุอาหารปุ๋ยเอบี
เคล็ดลับการปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งที่คนไม่ค่อยรู้
เคยสงสัยไหมว่าผักไฮโดรเติบโตได้อย่างไร เมื่อไม่มีดิน?
ปัญหาเรื่องระบบน้ำที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
งานวิจัยเรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
การเปรียบเทียบระหว่างการวัดค่าpH ด้วย pH meter เทียบกับ การวัดด้วย drop test
ปลูกผักกินเองง่ายๆแบบคนขี้เกียจ
ความรู้เรื่องการปลูกผักด้วยหลอด LED
ความแตกต่างระหว่างการปลูกแบบน้ำนิ่ง กับ การปลูกแบบน้ำวน
ราชินีของผักทั้งมวลผักเคล (kale)
เคล็ดลับในการเลือกซื้อปุ๋ยเอบี!!!
จุดแข็งของการปลูกพืชด้วยระบบHydroponics
ก่อนปลูกผักสลัดขายต้องรู้อะไรบ้าง?
ปลูกขึ้นฉ่ายน้ำนิ่ง
ครบเครื่องเรื่องปุ๋ยแบบชาวบ้าน
น้ำหมักชีวภาพสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช
การปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งแบบง่ายๆเองที่บ้าน
เทคนิคการเพาะเมล็ดในเพอร์ไลท์และเวอร์มิคูไลท์
โรคที่เกิดกับต้นอ่อนหรือกล้าผัก
มาทำความรู้จักผักสลัดของเรากันดีกว่า
ปัจจัยที่มีผลต่ออายุของเมล็ดพันธุ์
การทำงานของรากพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
อาการขาดธาตุอาหารและลักษณะอาการเป็นพิษ
เชื้อ Pythium…….สาเหตุสำคัญของโรคที่เกิดกับราก
ช่องทางการขายผักสลัด
วิธีการล้างและเก็บผักสลัดให้อยู่ได้นานๆ
วิธีการปลูกผักร็อกเก็ต
แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์วิธีการป้องกันและกำจัด
ขั้นตอนการกำจัดแมลงเพื่อลดปัญหาแมลงและศัตรูพืชของผักไฮโดรโปนิกส์
โปรแกรม NutriCal article
โรคใบจุดผักไฮโดร
​เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนคิดจะปลูกผักสลัดขาย
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดร
การปลูกผักกาดขาวแบบไม่ง้อปั๊มทานเองในครอบครัว
สูตรอาหารพืช ปุ๋ยA+B
การปลูกผักบุ้งระบบไฮโดรแบบน้ำนิ่ง
ระบบการปลูกผักโดยไม่ใช่ดินในแบบต่างๆ
ทำความรู้จักผักสลัดไฮโดรโปนิกส์
ประวัติความเป็นมาไฮโดรโปนิกส์
ความรู้ทั่วไปของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ article
ไฮโดรโปนิกส์ปลูกอะไรได้บ้าง
ไฮโดรโปนิกส์น้ำนิ่งคือ?
เทศกาลกระเช้าผักเริ่มขึ้นแล้ว
กัญชงคืออะไร?
กัญชง V.S. กัญชา ต่างกันอย่างไร
9 ผักสวนครัวที่แนะนำให้ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์
สิ่งที่ต้องดูแลและควบคุมเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
ต้องดูแลควบคุมอะไรบ้างเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
เรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
ผักไฮโดรโปนิกส์ ทำให้เกิดมะเร็ง...จริงหรือ
ปัญหาที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ประโยชน์ของผักไฮโดรโปนิกส์
เปรียบเทียบการปลูกด้วยเพอร์ไลท์และฟองน้ำ
โรคพืชต่างๆในระบบไฮโดรโปนิกส์และการป้องกัน
วิธีการปลูกผัก watercress แบบง่ายๆ
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อหารายได้เสริม
การควบคุมโรคผักโดยชีววิธี-ในการปลูกผักไฮโดรฯไร้สาร