H2O Hydro Garden
ที่อยู่: เลขที่ 8 ซอย นาคนิวาส 53 ลาดพร้าว 71 แขวง ลาดพร้าว กทม. 10230
เบอร์โทร: 02 932 9200 มือถือ: 086 500 9698, 084 106 6831
.jpg)
.jpg)
.png)
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนคิดจะปลูกผักสลัดขาย เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนคิดจะปลูกผักสลัดขาย จากกระแสรักสุขภาพที่มาแรง เริ่มเห็นผู้คนหันมาดูแลใส่ใจกับตัวเองอย่างจริงจังมากขึ้น ทำให้ยอดขายสินค้าสุขภาพเลยพุ่งตามไปติดๆ ผักสด ผลไม้ปลอดสารพิษดูเหมือนจะได้รับความนิยมมากขึ้นด้วย จนกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจในฝันของใครหลายคนที่คิดเอาไว้ว่า วันหนึ่งอยากจะทำฟาร์มผักเล็กๆ ของตัวเอง โดยเฉพาะผักสลัดที่กำลังเป็นที่นิยมกันในขณะนี้ เพราะสามารถนำไปดัดแปลงเป็นเมนูได้หลากหลาย ที่สำคัญยังขายได้ราคาดีด้วย แต่ก็ใช่ว่าทำแล้วจะประสบความสำเร็จกันทุกคน เพราะนอกจากต้องปลูกผักให้ดีแล้ว ยังต้องขายให้เป็นด้วย มิเช่นนั้น ธุรกิจผักเขียวๆ ในฝัน อาจจะเหี่ยวเฉาลงแบบไม่ทันตั้งตัวก็ได้ ก่อนปลูกผักสลัดขายต้องรู้อะไรบ้าง ผักสลัดเขียวๆ มาจากไหน? ผักสลัดที่นิยมปลูกและรับประทานกันมากในปัจจุบันมีอยู่ 6 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค คอส ฟิลเลย์ บัตเตอร์เฮด ปัตตาเวีย วิธีการที่นิยมใช้กัน คือ การปลูกแบบไฮโดรโปรนิกส์ ถ้าจะให้พูดเข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ การปลูกพืชไร้ดิน โดยใช้น้ำที่ผสมสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืชหล่อเลี้ยงพืชให้เจริญเติบโต ซึ่งข้อดีของการปลูกพืชแบบไฮโดรโปรนิกส์ คือ ใช้เวลาในการเตรียมพื้นที่ปลูกน้อย หากเป็นดินต้องมีการเตรียมดินและกำจัดวัชพืช นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมการให้สารอาหารได้ดีและทั่วถึงกว่า ทำให้สามารถกำหนดขนาดของพืชให้เติบโตใกล้เคียงกันได้ นอกจากการปลูกแบบไฮโดรโปรนิกส์แล้ว ผักสลัดยังสามารถปลูกลงดินได้เช่นเดียวกับผักอื่นๆ หากมีพื้นที่เหมาะสม ทั้งดินและอากาศที่เอื้ออำนวย เย็นตลอดทั้งปี ก็สามารถเพาะปลูกได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือน ซึ่งมักเรียกสั้นๆ ว่า “ผักดิน”
อยากปลูกต้องลงทุนอะไรบ้าง? ในการลงทุนปลูกผักสลัดไฮโดรโปรนิกส์ สิ่งที่ต้องลงทุนหลักๆ ได้แก่ ที่ดิน โรงเรือน แปลงปลูก อุปกรณ์การปลูกและเมล็ดพันธุ์ต่างๆ เริ่มต้นต้องมาสำรวจก่อนว่า เรามีต้นทุนอะไรอยู่บ้าง เช่น พื้นที่ปลูกเป็นอย่างไร เหมาะสมต่อการปลูกลักษณะใด ก่อนลงมือทำต้องมีการคำนวณคิดต้นทุนดีๆ ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และจะขายในลักษณะใด ผลผลิตที่คาดว่าจะทำได้ สามารถตอบโจทย์หรือครอบคลุมต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือเปล่า มีกำไรเพียงพอให้สามารถทำธุรกิจได้หรือเปล่า
ต้องมาสำรวจก่อนว่าเรามีพื้นที่ปลูกอย่างไร เป็นที่ดินของตัวเองหรือพื้นที่เช่า หรือพื้นว่างของอาคาร เช่น บนดาดฟ้าตึก มีทำเลที่ตั้งอยู่ที่ใด ใกล้กับเมืองหรือต่างจังหวัด ซึ่งพื้นที่ปลูกจะเป็นหนึ่งในปัจจัยกำหนดวิธีการปลูกที่เหมาะสม รวมถึงลักษณะการทำธุรกิจ เช่น หากมีพื้นที่เล็กๆ อยู่ในเมือง กลุ่มลูกค้าอาจเป็นลูกค้าปลีก หรือส่งร้านอาหาร พ่อค้าแม่ค้ารายเล็กๆ เป็นในลักษณะปลูกเองขายเองในละแวกใกล้เคียง หรือดัดแปลงเป็นสลัดส่งขาย หรือเปิดร้านอาหารเล็กๆ ก็ได้ จะทำให้ได้ราคาดีกว่าขายส่ง แต่หากมีพื้นที่กว้างอยู่ต่างจังหวัดหรือนอกเมืองไปไกลๆ อาจปลูกเพื่อขายในลักษณะขายส่งให้กับเจ้าประจำรายใหญ่ ซึ่งต้องการปริมาณผักที่มากและสม่ำเสมอ โรงเรือนและแปลงปลูก ควรเลือกในแบบที่สนใจ แต่ทั้งนี้ต้องดูเรื่องของสภาพพื้นที่ ขนาดที่ต้องการลงทุน และเงินทุนที่มีด้วย อุปกรณ์การปลูกและเมล็ดพันธุ์ 1.อุปกรณ์ที่ใช้เพาะกล้า สามารถเลือกเป็นฟองน้ำ แกลบ หรือจะใช้เป็นเพอร์ไลท์ + เวอร์มิคูไลท์อย่างที่นิยมใช้ปลูกผักแบบไฮโดรโปรนิกส์ก็ได้ โดยเพอร์ไลท์จะเป็นก้อนเล็กๆ สีขาวไว้ช่วยยึดเกาะรากพืช ส่วนเวอร์มิคูไลท์จะเป็นก้อนแบนๆ มีสีน้ำตาลจะช่วยในเรื่องการอุ้มน้ำได้ดี 2.เมล็ดพันธุ์ มีให้เลือก 2 ชนิด คือ แบบเคลือบดินและไม่เคลือบ เมล็ดเคลือบราคาแพงกว่าหลายเท่าตัว เนื่องจากเชื่อว่ามีเปอร์เซ็นต์การงอกที่ดีกว่า 3.ปุ๋ยหรือแร่ธาตุสำคัญ ที่ใช้สำหรับปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์จะเรียกว่า ปุ๋ย A B แร่ธาตุในปุ๋ย A ประกอบด้วย แคลเซียมไนเตรท, เหล็ก ดีพี, เหล็ก โล ปุ๋ย B ประกอบด้วย โปแตสเซียมไนเตรท, แมกนีเซียมซัลเฟต, โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟส ซึ่งแต่ละตัวจะมีฤทธิ์ความเป็นกรดด่างต่างกัน เวลาใช้จึงต้องแยกผสมน้ำทีละตัว โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างกันเล็กน้อย ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดตะกอน พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ ปลูกแล้วขายที่ไหนดี? -ตลาดขายส่ง เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีพื้นที่เพาะปลูกเยอะ ผลิตผักได้คราวละจำนวนมากๆ ราคาที่ได้อาจจะต่ำกว่าตลาดอื่นๆ แต่อาศัยขายเร็ว ขายหมดไว -ร้านอาหาร ส่วนใหญ่จะสั่งในปริมาณไม่มาก แต่สั่งบ่อย เพราะต้องการความสดใหม่ของสินค้า รวมถึงมีข้อจำกัดในพื้นที่จัดเก็บสินค้า จุดเด่นของตลาดประเภทนี้ คือ การจัดส่งที่ดี ตรงเวลา สร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้า -โมเดิร์นเทรด เป็นตลาดที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า แบรนด์ดิ้ง และแพ็กเกจจิ้ง สินค้าต้องได้มาตรฐาน อาจขายได้ราคาดี แต่ค่าใช้จ่ายก็ค่อนข้างสูงตามไปด้วย เช่น ค่า GP ที่คิดจากยอดขายกว่า 20 -30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว -โรงงานแปรรูป ที่ส่งให้กับร้านอาหารเชนต่างๆ เป็นช่องทางที่เหมาะสำหรับฟาร์มขนาดใหญ่ และมีระบบการปลูกที่เป็นระบบ ผักทุกต้นจะมีสเปคกำหนดว่าต้องปลูกได้ขนาดเท่าไหร่ เป็นตลาดที่น่าสนใจ ราคาปานกลาง แต่มีความต้องการใช้ที่แน่นอน ผู้ที่จะเข้าตลาดนี้ได้ต้องมีมาตรฐานในการผลิต เช่น GAP GMP ขายปลีกหน้าฟาร์ม หรือตลาดสีเขียว เป็นการขายตรงถึงมือผู้บริโภค ได้ราคาดีกว่า เหมาะสำหรับฟาร์มขนาดเล็ก มีปริมาณการผลิตไม่มาก โดยสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผักได้ เช่น การทำเป็นผักปลอดสารพิษ ไม่ใช่ยาฆ่าแมลง ผู้สนใจในช่องทางนี้ต้องเน้นการสร้างแบรนด์และทำการตลาดควบคู่กันไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.smethailandclub.com ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี |